ซีพี จับมือภาครัฐส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทดแทนปลูกข้าวนาปรัง โดย MGR Online 21 ตุลาคม 2559 18:58 น. (แก้ไขล่าสุด 22 ตุลาคม 2559 11:16 น.) บริษัทกรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกในการจัดหาวัตถุดิบของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกความร่วมมือประสานพลังประชารัฐในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง และสร้างความเชื่อมั่นในการปลูกให้แก่เกษตรกรในอนาคต พร้อมรับซื้อไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท วันนี้ (21 ต.ค.) เป็นการลงนามในบันทึกความร่วมมือสานพลังประชารัฐ 3 ฝ่าย เพื่อการดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทดแทนการปลูกข้าวรอบ 2 ปีการผลิต 2559/2560 ระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร กับเอกชนผู้รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2 ราย สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 20 ล้านไร่ ใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ นายไพศาล เครือวงศ์วานิช รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส กล่าวว่า โครงการความร่วมมือดังกล่าวมีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นแกนนำ โดยภาคเอกชนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการ และเทคโนโลยีการเพาะปลูกเพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควบคู่ไปกับการรับซื้อผลผลิตเพื่อเป็นหลักประกันการตลาดให้แก่เกษตรกร ขณะที่ ธ.ก.ส.เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อ http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9590000105836
ขณะนี้ไม่ทราบว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว **************************************************** แฉแก้กฎหมาย'คุ้มครองพันธุ์พืช' เอื้อทุนผูกขาด-เปิดช่อง'จีเอ็มโอ' ชำแหละร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ลดตัวแทนเกษตรกร อิงระบบเมืองนอกเปิดช่องรายใหญ่จดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ได้ง่าย-ผูกขาดเมล็ดพันธุ์ เผยคุ้มครองเจ้าของสิทธิกว้าง ตั้งแต่ส่วนขยายพันธุ์ถึงผลิตภัณฑ์ หวั่นกระทบการเข้าถึงยา ซ้ำเปิดช่องปลูกจีเอ็มโอ-บริษัทไม่ต้องแบ่งปันผลประโยชน์เข้ารัฐ เอ็นจีโอแฉแก้กฎหมายตามแรงกดดันอียู สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีแนวคิดที่จะพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์ของเอเชีย โดยมีการจัดทำยุทธศาสตร์เมล็ดพันธุ์ เพื่อหวังเพิ่มมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์เป็น 5,000 ล้านบาท ในปี 2559 นับเป็นแนวทางการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่ยากปฏิเสธ ในสภาวะการณ์ที่โลกสุ่มเสี่ยงต่อการขาดแคลนอาหารในอนาคตอันเป็นผลจากปัญหาสิ่งแวดล้อม เมล็ดพันธุ์คือหลักประกันความมั่นคงทางอาหารที่ไม่มีประเทศใดปฏิเสธได้ มันจึงเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่ต้องเร่งยกระดับ แต่ดังที่รับรู้ เมล็ดพันธุ์ไม่ใช่แค่แหล่งรายได้ หากยังผูกพ่วงกับความมั่นคงทางอาหาร และแนวโน้มที่ปรากฏชัดขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือ เมล็ดพันธุ์พื้นเมืองที่เคยแพร่หลายในหมู่เกษตรกรรายย่อยค่อย ๆ ลดความหลากหลายลงเรื่อย ๆ ขณะที่เมล็ดพันธุ์ที่บริษัทการเกษตรขนาดใหญ่เป็นผู้ผลิตกลับครองตลาดอยู่ไม่กี่ราย หากความหลากหลายคือหลักประกันของความมั่นคง ประเด็นนี้ก็นับเป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจ อย่างไรก็ตาม ความพยายามของหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในการแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 อาจกำลังเปิดประตูให้เกิดการแปลงทรัพย์สินสาธารณะหรือเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองไปเป็นของบรรษัทขนาดใหญ่และสร้างการผูกขาดด้วยระบบการคุ้มครองที่อิงจากอนุสัญญายูปอฟ 1991 กฎหมายเดิมไม่มีปัญหา กฤษฎีกาไม่เห็นควรต้องแก้ รศ.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเคยเป็นกรรมการยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 กล่าวว่า ความพยายามแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542เพื่อให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญายูปอฟ 1991 มีการดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ร่างดังกล่าวได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อย แต่เมื่อไปถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 แห่ง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร และกรมทรัพย์สินทางปัญญา เข้าให้ข้อมูล แต่ปรากฏว่า ทั้ง 3 หน่วยงานไม่สามารถให้ข้อเท็จจริงที่ชี้ได้ว่า การใช้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช 2542 มีปัญหา ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงเห็นว่าไม่ควรแก้ อย่างไรก็ตาม ความพยายามแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชให้สอดคล้องกับอนุสัญญายูปอฟยังคงอยู่ ถึงกระนั้นปัจจุบันก็ยังคงมีความพยายามเช่นเดิมและมีการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.... ฉบับใหม่ขึ้น ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการ รศ.สุรวิช กล่าวว่า หากกฎหมายฉบับนี้ถูกบังคับใช้จะเกิดปัญหาตามมามากมายในอนาคต เปิดช่องบริษัทใหญ่ครองเมล็ดพันธุ์เรียกเก็บผลประโยชน์ไม่รู้จบ จุดที่ต้องจับตาที่สุดจุดหนึ่งที่ร่างกฎหมายฉบับใหม่อิงกับอนุสัญญายูปอฟ 1991 นำมาใช้คือแนวคิดที่เรียกว่า ‘พันธุ์ที่ได้รับพันธุกรรมสำคัญจากพันธุ์อื่น’ หรืออีดีวี (Essentially Derived Variety: EDV) ซึ่งเป็นแนวคิดพยายามผลักให้การคุ้มครองพันธุ์พืช เข้าใกล้ระบบสิทธิบัตรที่ปรากฎอยู่ในอนุสัญญายูปอฟ แนวคิดอีดีวีคือ ถ้านักปรับปรุงพันธุ์นำพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป มาปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธุ์ใหม่ และนำไปจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ โดยอ้างลักษณะสำคัญบางประการ หากพันธุ์ดังกล่าวมีการเผยแพร่ต่อไป มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์จากนักปรับปรุงพันธุ์คนอื่นอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าลักษณะสำคัญที่ว่า ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย นักปรับปรุงพันธุ์คนแรกก็ยังคงสามารถอ้างสิทธิของตน เพื่อขอส่วนแบ่งรายได้ได้เสมอ หรือในกรณีที่นักปรับปรุงพันธุ์อีกคนหนึ่ง นำพันธุ์พืชพื้นเมืองตัวเดียวกันมาปรับปรุงจนได้พันธุ์ใหม่ แต่พันธุ์ใหม่ข้างต้นกลับปรากฎลักษณะสำคัญ ของนักปรับปรุงพันธุ์รายแรกที่จดไปแล้ว นักปรับปรุงพันธุ์รายแรกก็มีสิทธิฟ้องและพิสูจน์ เพื่อเรียกผลตอบแทนได้เช่นเดียวกัน ตราบใดที่ยังไม่หมดอายุการคุ้มครอง http://www.thaihof.org/main/article/detail/2512
เรื่องเกิดอาการ"หลอน" ผมก็เป็นครับ ไม่ว่าจะได้ยินข่าวอะไรที่เกี่ยวกับเจ้สัวมหาภัยเจ้าของ"ทิกซาลี ส็องสุง" อาการนี้ต้องกลับมาทุกครั้ง ดูว่าจะถาวรและเรื้อรังด้วย เพราะไปไหนก็หนีไม่พ้น 7-11
ทุกเช้า ก่อนแยกย้ายกันไปทำงาน ผมออกไปหาซื้อของมาทานกับภรรเมีย(ผมไม่มีลูก) ส่วนมากก็หนีไม่พ้น ไปซื้อจาก 7-11 นั่นแหละ เพราะ ***ตะแกเก่งจริง มีของกินให้เลือกซื้อเยอะ ***ราคา เมื่อเทียบกับร้านข้างนอก แทบจะถูกกว่า ***ไปกี่โมงก็เปิดขายแล้ว กลายเป็นว่าเหมือนผลักให้เรา อุดหนุนทุนใหญ่โดยปริยาย........เฮ้อ
ลองไปถามชาวไร่ข้าวโพดสิตอนนี้ตันละเท่าไหร่พูดไปก็หยิกเล็บเจ็บเนื้อ ส่วนตัวผมไม่เชลียใครและก็ไม่อวยใครแบบหน้ามืดตามัวดีก็ว่าดี ไม่ดีก็สุดแล้วแต่เวรแต่กรรมใครทำใครได้ ถามตอนนี้กระทรวงพานิชย์กับกระทรวงเกษตรทำอะไรอยู่ ทั้ง2กระทรวงจริงแล้วมีหน้าที่อะไร ?
ถ้าสองหน่วยงานนี้ ทำงานจริงจัง (อิ....อิ.....จะว่าไปก็เกือบทุกหน่วยงานนั่นแหละ) ป่านนี้เกษตรกรไทย เป็นชนชั้นกลางขึ้นไปแล้วละครับ ไม่ใช่จนซ้ำซากอยู่แบบนี้
ไม่แปลกใจเลย เพราะพวกนี้เข้ากันได้กับทุกรัฐบาลครับ ต่อสายสัมพันธ์กับทั้งนักการเมืองและข้าราชการ ใครขึ้นใครลง เขารับได้หมด......อิ.....อิ......กับแม้วกับมาร์ค ก็พวกๆกัน
Aom First Aom Firstถึงรวมพลคนเกษตรพอเพียง 23 ชม. · ตัดมาให้ครับ ถกกันเรื่องปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ พาณิชญ์พูดไม่ออกเลย ท่านที่ถามนี่เป็นผู้ประกอบการนะครับ ไม่ใช่เกษตรกร **********************************************************************************************