12 มี.ค. 58 เมื่อเวลา 16.30 น. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ว่า ผลการประชุมคณะอนุกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ได้มีมติเอกฉันท์ไล่ออก 3 ข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีผลในทันที ตามการชี้มูลของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เนื่องจากที่ประชุมมีมติตรงกันว่าได้ร่วมกันกระทำความผิด ช่วยเหลือบริษัทจีน 2 บริษัท ให้เข้ามาทำสัญญาซื้อขายข้าวรัฐในแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ซึ่งบริษัท 2 แห่ง ที่ว่านี้ไม่ได้รับมอบหมายมาจากรัฐบาลจีน ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อกรมการค้าต่างประเทศ และประเทศชาติอย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัครพงศ์ ทีปวัชระ อดีตผู้อำนายการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ภายหลังมติของ อ.ก.พ. ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในระยะเวลา 30 วัน นับจากวันที่รับทราบคำสั่ง โดยให้ยื่นต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (กพค.) ส่วนนายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แม้ทาง อ.ก.พ. จะมีมติให้ไล่ออกเช่นกัน แต่เนื่องจากปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปนานแล้ว มติดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆ โดยหลังจากนี้ ทั้ง 3 คนจะเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งแพ่ง และอาญาต่อไป ซึ่งหากศาลมีคำสั่งตัดสินว่ามีความผิดจริง สำหรับอดีตข้าราชการก็จะสามารถระงับการจ่ายบำนาญได้ "ในส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยสบายใจนัก เพราะในชีวิตนี้ไม่เคยไล่ใครออกมาก่อน และผมเองก็เป็นข้าราชการด้วยเช่นกัน ซึ่งก็เห็นใจข้าราชการด้วยกัน แต่ในที่ก็ประชุมมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง ว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการทำทุจริตอย่างร้ายแรง จึงไม่สามารถพิจารณาไปทางอื่นได้ ดังนั้นจึงต้องยึดตามข้อปฏิบัติระเบียบข้าราชการ ปี 2551 และมติคณะรัฐมนตรี ปี 2536 ที่ระบุไว้กรณีข้าราชการกระทำความผิดฐานทุจริต ให้มีมติโทษสถานเดียวคือ ไล่ออก ซึ่งผลคือข้าราชการที่ถูกไล่ออกจะไม่ได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ" พล.อ.ฉัตรชัย พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า อยากฝากเตือนข้าราชการ ที่ต้องทำงานกับนักการเมือง ในกรณีผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้ข้าราชการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยทั่วไปสำหรับข้าราชการสามารถ ปฏิเสธหรือไม่ดำเนินการตามคำสั่งที่ไม่ถูกต้องได้ เพราะตามระเบียบข้าราชการมีระบุไว้อยู่แล้ว ยกเว้นข้าราชการอาจจะอ่อนไหวเกินไป หรืออาจจะหวังผลตอบแทนก็แล้วแต่ข้าราชการแต่ละคนเอง http://www.naewna.com/politic/148945
ก่อนยุคทักษิณ ยังพอมีข้าราชการที่กล้าแข็งข้อ ไม่ทำตามคำสั่งเลวๆของนักการเมือง นักการเมืองเองก็ยังพอมีความละอายใจบ้าง ถ้าสั่งให้ข้าราชการทำผิดกฏหมาย แต่พอถึงยุคทักษิณ ข้าราชการที่ไม่สนองคำสั่งโดนย้าย โดยเหตุผล"เพื่อความเหมาะสม" ตั้งแต่นั้นมา ข้าราชการก็กลายเป็นขี้ข้านักการเมืองมาตลอด ใครหือเป็นโดน ใครสนองคำสั่งได้ดิบได้ดีไปตามๆกัน ถึงกับมีวลีโดนใจ "มีวันนี้ เพราะพี่ให้" และนักการเมืองที่เลวๆ ก็ฉลาดพอที่จะไม่ทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร จึงมักเอาผิดมันไม่ได้ ถ้าข้าราชการร่วมมือกับนักการเมืองทำเลว แล้วโดนไล่ออกก็สมควร แต่ถ้าโดนบีบให้ทำเลวก็น่าสงสาร เพราะระเบียบมันบังคับให้โดนไล่ออกอย่างเดียว
มนุษย์ป้าตนนี้ บอกว่า จีทูจีเป็นของจริง ตัวมันเองเป็นคนตรวจสอบ ถึงจะเกษียณไปแล้ว ก็น่าจะมีส่วนรู้เห็นในจีทูจีปลอมนี้ด้วย ปปช ทำไมไม่ฟ้องมันด้วย มันไม่สมควรได้บำนาญ
ผมอยากให้ ต่อไปให้การสั่งการของนักการเมืองเป็นเอกสาร ลงนามถูกต้องเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการสั่งการด้วยวาจา ข้าราชการสามารถการไม่ดำเนินการตามคำสั่งด้วยวาจา หากคำสั่งด้วยเอกสารลงนาม มิชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ถูกต้อง ข้าราชการสามารถปฏิเสธโดยเอกสารลงนามโดยข้าราชการ และต้องส่งคำสั่งมิชอบให้ฝ่ายตรวจสอบ เช่น กฤษฎีกา หรือ อัยการ หรือ ปปช พร้อมเหตุผลแย้ง หากข้าราชการถูกกลั่นแกล้ง เพราะไม่ดำเนินการตามคำสั่งด้วยวาจาหรือคำสั่งที่มิชอบนั้นๆ ข้าราชการสามารถฟ้องร้องต่อศาลได้ หากชนะคดี เนื่องจากคำสั่งมิชอบ ทุจริต นักการเมืองต้องถูกถอดถอนอัตโนมัติ และต้องจ่ายค่าเสียหาย เช่น ค่าใช้จ่ายเลือกตัังใหม่ หรือค่าเสียโอกาสให้ข้าราชการนั้นๆ เนื่องจากถูกดองตำแหน่งหรือปรับเงินเดือน อย่างเต็มที่ หากการสั่งการนั้นชอบ ไม่ทุจริต ข้าราชการก็ต้องถูกสอบและลงโทษตามระเบียบ เช่นกัน
เห็นด้วยที่ให้ออกคำสั่งเป็นเอกสาร ทั้งคำสั่งของข้าราชการ(นาย) ทั้งของนักการเมือง อาจจะอนุโลมให้สั่งด้วยวาจาก่อนได้ แต่ต้องทำเป็นเอกสารตามมาเป็นหลักฐาน และต้องกำหนดเวลาใว้ด้วยว่าต้องส่งเป็นเอกสารยืนยันคำสั่ง ภายในกี่วัน เด๋วมันมั่วนิ่มแกล้งส่งช้าๆซะอีก ที่ให้อนุโลมเพราะบางครั้ง บางกรณี มันจำเป็นต้องออกคำสั่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เพื่อนผมโดนเจ้านาย(ข้าราชการ สั่งทางโทรศัพท์ให้เซ็นต์รับมอบวัวพลาสติก) เจ้านายเองก็โดนนักการเมืองสั่งมาโดยวาจา เพื่อนรู้ว่าผิด แต่ขัดไม่ได้ เพราะนายสั่งมา พอเรื่องฉาว เพื่อนก็โดนแป๊กอยู่หลายปี เพราะมีลายเซ็นต์รับมอบ หนีไม่ออก
เป็นบทเรียนที่ดีสำหรับข้าราชการที่ให้ความร่วมมือทำเรื่องไม่ถูกต้องกับนักการเมือง ******************************************** เมื่อวานนี้ (12 มี.ค.2558) คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงพาณิชย์มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง ลงโทษไล่ออกข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลว่ามีส่วนทุจริตในการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ โดย ป.ป.ช.ได้ส่งหนังสือให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการลงโทษข้าราชการภายใน 30 วัน ******************************************** วันนี้(12มี.ค.58)พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน(อ.ก.พ.) กระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยข้าราชการกระทรวงพาณิชย์ 3 คนคือ นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ, นายทิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายอัครพงศ์ ทีปวัชระ อดีตผู้อำนวยการสำนักการค้าข้าวต่างประเทศ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการกองความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ของรัฐบาลชุดก่อนว่า ที่ประชุมมีมติไล่ออกข้าราชการทั้ง 3 คนออกจากราชการ แต่นายมนัส ได้เกษียณอายุราชการนานแล้ว มติดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆ
คนสั่งรอด คนปฏิบัติซวย กฎหมายน่าจะครอบคลุมเรื่องนี้หน่อยนะ ว่าคำสั่งที่เกี่ยวกับโครงการขนาดใหญ่ต้องระบุเป็นหนังสือราชการเท่านั้น ถ้าปากเปล่าข้าราชการประจำกระทรวงไม่ต้องปฏิบัติตามก็ได้
คนสั่งก็เข้าใกล้ขั้นตรีฑูตแล้วครับ ตัดสินว่าผิดขึ้นมานี่เกิดใหม่ร้อยชาติก็ไม่รู้ว่าหาเงินมาใช้ได้ครบหรือเปล่า ******************************************************* รัฐบาลเตรียมฟ้องร้องคดีทางแพ่งเรียกค่าเสียหายโครงการรับจำนำข้าวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง อดีตรัฐมนตรีที่รับผิดชอบโครงการ โดยจะตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณากำหนดจำนวนเงินค่าเสียหายทั้งหมด ******************************************** พาณิชย์ตั้งคณะทำงานเรียกค่าเสียหายจำนำข้าวเตรียมชงรองนายกฯด้านกม.พิจารณาต่อ วันนี้(11มี. ค.58) พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (รมว.พาณิชย์) เปิดเผยว่า จากการหารือร่วมกันระหว่างรองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย รมว.พาณิชย์ และ รมว.คลังเห็นชอบ ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ตั้งคณะทำงานพิจารณาร่วมกันในการเรียกค่าเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวกรณีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จนทำให้เกิดความเสียหาย ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือ ป.ป.ช. ส่งหนังสือถีงกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ให้เร่งดำเนินการพิจารณาความเสียหายจากผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งผลหารือมีข้อสรุปให้ตั้งคณะทำงานพิจารณาเรียกค่าเสียหายของแต่ละฝ่าย ทั้งฝ่ายกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคลัง ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์จะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานและประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมหารือแนวทางว่าจะสามารถดำเนินการอย่างไร ก่อนจะเสนอกลับไปยังรองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมายเพื่อพิจารณาต่อไป
ท่านทักษิณไม่มีทางทอดทิ้งคนที่ยอมสละได้แม้กระทั่งเกียรติประวัติชีวิตราชการและชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เพื่อเป็นกามพลีแด่ตระกูลชินวัตรอย่างแน่นอน
เป็นข้าราชการระดับอธิบดี ไม่ได้ส่วนแบ่งเงินที่โกงด้วย คงไม่มีใครยอมทำตามนักการเมืองหรอก ก่อนศาลจะตัดสิน คงหนีออกนอกประเทศไปก่อนแล้ว
อันนี้ถึงคราวนักการเมืองแล้ว ****************************************** อัยการยื่นฟ้อง"บุญทรง-พวก"คดีข้าวจีทูจี 17 มี.ค. นี้ เมื่อวันที่ 15 มี.ค.58 แหล่งข่าวสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึง คดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ส่งสำนวนพร้อมพยานหลักฐานกว่า 60 ลัง ที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด คดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ซึ่งมีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ และพวก รวม 21 ราย เป็นผู้ถูกกล่าวหา ให้นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด พิจารณาเมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีหนังสือถึง ป.ป.ช. ไปแล้วให้แจ้งผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด 21 ราย มาพบอัยการ เพื่อยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในวันที่ 17 มี.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ภายหลังที่อัยการสูงสุด พิจารณาสำนวนหลักฐานที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดมาแล้ว ไม่มีข้อใดซึ่งไม่สมบูรณ์ที่จะต้องตั้งคณะทำงานสอบสวนเพิ่มเติม ดังนั้นอัยการจึงได้นัดฟ้องผู้ถูกกล่าวทั้งหมด อย่างไรก็ดีจะมีผู้ถูกกล่าวหารายใด มาพบอัยการเพื่อยื่นฟ้องพร้อมสำนวนหรือไม่ ต้องรอดูในวันที่ 17 มี.ค. แต่โดยหลักการ การยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น หากได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาแสดงตัวต่อศาลในวันฟ้อง ก็จะยื่นฟ้องไปพร้อมสำนวน แต่หากไม่มีตัวผู้ถูกกล่าวหามาก็สามารถยื่นฟ้องเฉพาะสำนวนก่อนได้ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย เหมือนกรณีการยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ต้องรอฟังคำสั่งศาลฎีกา ฯ ที่นัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องหรือไม่ในวันที่ 19 มี.ค.นี้