ผลการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาอาจสะท้อนถึงความต้องการของคนไทยในหลายมิติ หัว หน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิเคราะห์ผลการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาว่าสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ปฏิเสธนักการเมืองและ ต้องการจะเห็นการปราบทุจริตมากกว่าการมีประชาธิไตย แต่ในอีกมุมหนึ่งก็อาจมาจากประชาชนบางส่วนยังไม่เข้าถึงและไม่เข้าใจเนื้อหา รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจประชาชนต่อการลง ประชามติในประเด็นการอ่านร่างรัฐธรรมนูญที่สำรวจโดยสถาบันพระปกเกล้าพบว่า ประชาชนทั่วประเทศไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญก่อนลงประชามติถึงร้อยละ 57 อ่านร่างรัฐธรรมนูญบางส่วนร้อยละ 39.5 และมีประชาชนเพียงร้อยละ 3.4 เท่านั้นที่อ่านร่างรัฐธรรมนูญทุกมาตรา ส่วนทิศทางทางการเมืองหลัง จากนี้แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเห็นชอบทั้งร่างรัฐธรรมนูญและประเด็นคำถาม พ่วง แต่การเลือกตั้งจะยังไม่เกิดขึ้นภายในปีนี้หรือปีหน้า และสังคมไทยต้องรับผลที่จะเกิดขึ้น ส่วน 2 พื้นที่ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้นมีเหตุผลในการไม่เห็นชอบที่แตกต่างกัน ที่น่าสนใจคือผลสำรวจประชาชนต่อการลงประชามติในประเด็นการอ่านร่างรัฐ ธรรมนูญ พบว่าพื้นที่ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญมีสถิติการอ่านร่างรัฐธรรมนูญก่อนลง ประชามติสูงกว่าพื้นที่ที่รับร่างรัฐธรรมนูญ
อยากอ่านก็อ่านให้จบทั้งหมดสิ ไม่อ่านก็อย่าอ่าน อ่านบางส่วนอ่านไปทำอะไร ไม่ใช่นิยายเรื่องเสียวนะ มีเลือกอ่านเอ้อ เห็นแต่เสื้อแดงนี่แระ อ่านแค่ 3บรรทัด หยั่งเค้าว่า
วันก่อนบอกพวกรับร่างอยากเลือกตั้ง วันนี้บอกพวกรับร่างไม่อ่านโง่ เอาเฮอะเป็นว่าโง่แล้วอยากเลือกตั้ง เจ็บจี๊ดเลยท่านเลอกู
ผมอยากเห็นสถิติหรืองานวิจัยว่า รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ไทยเรามีใช้มา น่าจะ 20 ฉบับแล้ว แต่ละฉบับมีปชช.ได้อ่านมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับฉบับนี้ ผมเชื่อว่า ปชช.ทั่วโลก ไม่น่าจะมีคนอ่าน รธน.ของประเทศกันเท่าไหร่ เพราะไม่ใช่เรื่องเข้าใจง่ายๆ อเมริกาเองก็เพิ่งตื่นตัวหามาอ่านทั้งที่มีแค่ 7 มาตราหลักเท่านั้น เพราะสงสัยเรื่องสิทธิมนุษยชน http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/638521
ผลสำรวจ สำรวจยังไง จำนวนประชากรเท่าไหร่ แต่ที่รู้ ๆ ไม่ได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่ไปใช้สิทธิแน่นอนครับ