ไปเห็นข่าวและโพสต์นี้เข้า ที่เฟสขี้ข้าไพร่แดง... ------------------------------------------- ------------------------------------------- และบังเอิญว่า มีพรรคพวกกัน อยู่ในนั้นค่อนข้างเยอะ เลยได้รับแชร์อันนี้มา... จริง-เท็จประการใด ก็อยากให้ได้อ่านกันครับ... เผื่อจะได้ทราบความเป็นจริงกัน บ้างว่า คนที่อยู่ข้างใน รู้จริง และห่วงชาติ บ้านเมือง เขาโล่งอก-ดีใจกันทั้งนั้นแหล่ะครับ กับการ "กำจัดความสูญเปล่า" ในองค์กร... ---------------------------------------------------------------------- งงแพ๊บบ... วันสองวันมานี้เห็นข่าวลงกันมากมายเรื่องการบินไทยจะหยุดบินไป Rome กับ L.A บางหัวนี่พาดหัวข่าวประมาณว่า"การบินไทยระส่ำ"บ้างล่ะ "การบินไทยร่อแร่" บ้างล่ะ "การบินไทยจ่อปลดพนักงาน 1400 คน" บ้างล่ะ คนนอกที่อ่านก็ตกอกตกใจ เป็นห่วงบ้าง สะใจบ้าง สมน้ำหน้าบ้าง แต่จะบอกอะไรให้ครับ จะบอกว่าขอบคุณที่เป็นห่วงพวกเรานะครับ แต่พวกเรายังอยู่ ยังสบายดี ยังกินอิ่มนอนหลับ ไม่มีใครซักคน ขอเน้นว่าไม่มีแม้แต่คนเดียวเท่าที่สัมผัสที่รู้สึกกังวลกับข่าวดังกล่าว การหยุดบินการปิดพอร์ตมันเป็นเรื่องปกติของสายการบินคับ เมืองไหนไม่คุ้มทุนแล้วจะบินไปทำเพื่อ?? ทุกสายการบินปิดๆเปิดๆแบบนี้กันมาตั้งแต่มีการก่อตั้งของสายการบินแรกของโลกแล้วครับ การบินไทยในอดีตเองก็เคยมีบินไปหลายๆเมืองแล้วก็ปิดไป อย่าง Toronto , Dallas, Seattle , Istanbul , Riyadh , Baghdad , Cairo , Helsinki , Barcelona ยันกระทั่งเกาะกวมก็ยังเคยบิน Lufthansa , SAS , Singapore Airlines เองก็ล้วนแล้วเคยปิดไปหลายต่อหลายเมือง เห็นมั้ยครับ แปลกตรงไหน ตกใจอัลลัยกัน ส่วนเรื่องการปลดพนักงานที่ตีข่าวซะเว่อร์วังอลังการน่ะ จริงๆแล้วมันคือการเออร์ลี่รีไทร์ซึ่งมันมีมาเป็นระยะๆเกือบตลอดมาอยู่แล้วครับ ไม่ใช่เพิ่งมีมาในปีนี้ แล้วขอโทดนะครับ คนสมัครคนแย่งกันล้นโควต้าครับ บางคนรอมาถึง 3-4 ปี กว่าจะได้ แถมอยากให้มีแบบนี้ทุกๆปีด้วย ก็แพ็คเกตมันออกจะดีงาม แถมสิทธิการใช้ตั๋วก็ยังได้ใช้ เห็นมั้ยครับน่าเป็นห่วงตรงไหน บางคนบอกการบินไทยจะเจ๊งอย่างโน้นอย่างนี้ บางคนโยงเข้าไปเรื่องการเมืองเลือกสีเลือกข้าง จะบอกให้นะครับ วันนี้การบินไทยป่วยจิง แย่ลงก็จิง ไม่แข็งแกร่งเหมือนเมื่อก่อนก็จิง มันล้วนมาจากนักการเมืองชั่วๆที่เข้ามาปู้ยี่ปู้ยำการบินไทยในอดีตจนส่งผลมาถึงทุกวันนี้ แต่บอกเลยว่ายังไม่ถึงขั้นเจ๊งครับ แม้จะไม่มีอะไรเป็นหลักประกันว่าชื่อการบินไทยจะอยู่ยืนยงค้ำฟ้าเมืองไทยตลอดไป แต่แบรนด์การบินไทยก็ยังถือว่าค่อนข้างแข็งแรง และเชื่อเถอะว่าชื่อ"การบินไทย"จะยังไม่หายไปในเร็ววันนี้อย่างที่คนไทยหลายๆคนแอบหวังอยู่ในใจตอนนี้แน่ ตราบใดที่การบินไทยยังมีผู้โดยสารใช้บริการปีละ 18-20 ล้านคนอย่างทุกวันนี้ วันนี้เล้าจ์สปาของการบินไทยก็ยังได้ที่ 1 ของ Skytrax , และการบินไทยยังเป็นสายการบินยอดเยี่ยมอันดับ 7 จากการจัดอันดับของนิตยสาร Travel + Leisure และตราบใดที่การบินไทยยังเป็นตัวหนุนหลักในกิจการใหญ่ๆของประเทศ ตราบใดที่เวลาเกิดภัยพิบัติ เกิดสงครามในต่างแดน หรือแม้แต่เวลาสินค้าเกษตรตกต่ำแล้วไม่มีสายการบินไหนเข้าไปช่วยเหลือหรือรับหน้านอกจากการบินไทยดังเช่นผ่านๆมาแล้วนั้น การบินไทยก็ยังคงเป็นสายการบินของชาติไทย ยังคงให้บริการคนไทย เป็นเหมือนบ้านเคลื่อนที่ที่เวลาคนไทยที่อยู่อย่างโดดเดียวในต่างแดนเห็นที่ไหนแล้วจะยิ้มและนึกถึงบ้านเสมอๆ และเป็นสายการบินคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยที่พวกเรารักต่อไป การบินไทยรักผู้โดยสารนะ จุ๊บจุ๊บ ปล. พิมพ์มาทั้งหมดนี้ใช้เวลาแค่ 10 นาทีไม่รู้นิ้วลั่นหรือแมวแอบพิมพ์เพิ่มก็ไม่รู้ยาวขนาดนี้ ---------------------------------------------------------------------- ขอบพระคุณท่านเจ้าของโควตครับ...
ในยามนี้ การมโนว่าฝั่งตรงข้าม ทหาร ชาติ มีอันเป็นไป คือสิ่งหล่อเลี้ยงให้เค้ามีชีวิตอยู่ได้ เห็นใจเค้าเถอะ ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่พระคุณของบ่าวจะกลับมาเป็นใหญ่ซะที
"....แต่ก็เช่นเดิม การไม่อุดรูรั่วต่างๆที่มีอยู่ในทุกอณู ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการบริหารงานภายใน ต้นทุนเงินเดือน จำนวนพนักงานที่เต็มไปด้วยเด็กฝาก การผูกขาดให้ทุกกระทรวงต้องใช้สายการบินไทยซึ่งทำให้ง่ายต่อการบริหารสายการบิน และการเปิดโอกาสให้นักการเมือง รวมถึงตัวเองสามารถแสวงหาประโยชน์เข้ากระเป๋าตนได้ตลอดตั้งแต่ “ขยะ” ไปจนถึงการจัดซื้อ “เครื่องบิน” ทำให้ บมจ.การบินไทยในวันนี้ กลายเป็น 1 ใน 5 ของรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเข้าขั้นวิกฤติ และจำต้องเดินเข้าสู่แผนการฟื้นฟูกิจการ เพราะขาดทุนหนักเกือบทุกปีปีละ 8,000-10,000 ล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้น THAI ยังคงอยู่ในระดับต่ำเตี้ยเพียง 15-16 บาท และไม่เคยวิ่งขึ้นไปถึงระดับที่ประชาชนจองซื้อไว้ที่ 60 บาท และ 55 บาทเลยสักครั้ง..." http://www.thairath.co.th/content/445460
อ่านโควทข้างบนที่น่าจะมาจากพนักงานTGชี้แจงว่าสถานภาพของการบินไทยไม่ได้แย่อย่างที่ผู้ประสงค์ร้ายทั้งหลายออกข่าว ผมก็เชื่อตามนั้น แต่ที่ยังขาดไปคือTGจะทำอย่างไรจะฟื้นฟูให้องค์กรกลับมาดีเหมือนที่เคยเป็น ผมเดินทางบ่อย TGคือทางเลือกแรกทั้งที่ราคาสูงกว่าสายการบินอื่น ผมต้องไปแอฟริกาปีละหลายครั้ง เมื่อก่อนใช้TGบินตรงจากกรุงเทพฯไปJohannesburg, South Africa แต่TGยกเลิกเที่ยวบินนี้ไปแล้วทั้งที่จำนวนผู้โดยสารแต่ละเที่ยวบินก็ไม่ขี้เหร่นะ ตอนนี้บินกับสิงคโปร์ ต้องไปเปลี่ยนเครื่องที่นั่นทำให้ไม่สะดวกเหมือนที่เคย แต่หากไปจุดหมายอื่นก็ยังบินกับTGอยู่ถ้ามีเที่ยวบิน เมื่อมีคนออกมาโจมตีบริการของลูกเรือการบินไทยโดยเฉพาะเรื่องที่ว่าดูแลผู้โดยสารต่างชาติดีกว่าผู้โดยสารไทย ผมแก้ตัวแทนให้ตลอดนะ ผมบินทั้งชั้นประหยัดและชั้นธุรกิจจึงสามารถพูดได้ว่าพนักงานของเราอยู่ในระดับดีทั้งกับต่างชาติและคนไทย แต่มีข้อสังเกตุสำหรับชั้นธุรกิจว่าจะเอาแอร์โฮสเตสอายุมากที่สุดไปบริการ พอฟังได้อยู่ว่าเพราะประสบการณ์แต่สภาพร่างกายคุณๆบางคนเธอไม่น่าจะไหวแล้ว ภาระจะไปตกหนักกับพนักงานที่อายุน้อย ถึงบ่นแต่ก็รักชาตินะ ยังบินและยังแก้ตัวแทนให้TGตลอด ถ้าเราไม่สนับสนุนสายการบินแห่งชาติแล้วเราจะไปสนับสนุนใคร ถ้าผู้หลักผู้ใหญ่TGผ่านเข้ามาอ่านก็ช่วยพิจารณาให้กลับไปบินเส้นทางBKK-Johannesburgด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง
ขอยกข้อความที่ผมได้ตอบในพันทิปมาตอบนะครับ นี่ก็เล่นข่าวเอามันส์(แฝงอคติ)กันเกินไป จากเท่าที่หาข้อมูลมา ขอพูดในอีกด้านนึงนะครับ ไอ้ที่บอกว่าขายเครื่องทิ้งนี่คือ เครื่องที่มีอายุสภาพการใช้งานมานาน และปลดระวางแล้วนะครับ ไม่ว่าจะเป็น A330 A300 B747 B737 บางส่วนก็กลายเป็นร้านอาหารไปแล้ว (ส่วน A340 ไม่ขอเอ่ยถึงครับ ) ส่วนที่ปรับลดพนักงานกับลดเส้นทางบิน เป็นไปตามแนวทางการปฏิรูปองค์การเพื่อลดการขาดทุน เส้นทางไหนที่รายได้น้อย ก็ควรปรับลดครับ แล้วเพิ่มเส้นทางที่ทำกำไรแทน ส่วนใครๆที่บอกว่าตั๋วแพง ขอบอกอีกครั้งครับว่า การบินไทย มีโปรเด็ดๆออกมาเพียบ บินในประเทศราคาพันต้นๆ ญี่ปุ่น ยุโรป หมื่นต้นๆ (หลักพันก็มีในบางครั้ง) แต่เวลาอาจไม่ถูกใจใครหลายๆคน ทั้งนี้ก็ นานาจิตตังครับ และสามารถไปตรวจสอบในหน้าเว็บได้ครับ ปล.ราคาตัวอย่างข้างล่างนี้ คือราคา "รวมทุกอย่างแล้ว"
ส่วนคำว่าเครื่องเก่า คงจะใช้กับ TG สมัยนี้ไม่ได้แล้วครับ ถ้าไม่นับ A330 รุ่นนางสิบสอง (PW) และ 737-400 2 ลำสำหรับไปสมุย ที่จะปลดภายในไม่ช้า นอกเหนือจากนั้น คุณๆอีกหลายลำ เป็นเครื่องที่สั่งซื้อมาใหม่หมด โดยเฉพาะ 777-300/ER ทั้ง 13 ลำ และ 1 ลำที่กำลังจะรับมอบ 787 Dremliner อีก 5 ลำ และ 1ลำที่กำลังมา A320 และ A380 มีเฉลี่ยอายุไม่ถึง 5 ปีทั้งนั้น แต่คุณๆบางลำ เช่น 777-200/777-300 ที่อายุสิบกว่าขวบ หรือ 747-400 ก็มีการ retrofit ใหม่หมด ให้สามารถทัดเทียมกับสายการบินอื่นๆได้ ชั้นหนึ่ง หรือ Royal First Class แบบที่ 1 (Boeing 747) ชั้นหนึ่ง หรือ Royal First Class แบบที่ 2 (Airbus A380) ชั้นธุรกิจ หรือ Royal Silk Class แบบที่ 1 (B777-300/ER A380) ชั้นธุรกิจ หรือ Royal Silk Class แบบที่ 2 (A330/B747/B777-200/300) ชั้นธุรกิจ หรือ Royal Silk Class แบบที่ 3 (B787 Dreamliner) ชั้นประหยัด หรือ Economy Class และหากไม่มีอะไรผิดพลาด ปีหน้า TG ก็จะมีการรับมอบแอร์บัส A350 และ 787-9 ในปี 2017อีกครับ เพราะฉะนั้น การเหมารวมว่าเครื่องTG ทุกลำเก่าหมด โบราณ คร่ำครึนั้น ขอให้คิดใหม่ครับ
ยังไงผมก็หวังว่าจะมีการโล๊ะพนักงานขยะไร้คุณภาพส่วนหนึ่งที่มาเป็นภาระกับบริษัท นอกจากนั้นก็หวังว่าผู้บริหารปัจจุบันรวมทั้งซุปเปอร์บอร์ดจะปรับระบบหลายๆอย่างที่มันเฮงซวยโคตรๆและลดค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องเสียไปอย่างไร้สาระให้มากที่สุด ไม่งั้นบริษัทก็มีแต่แย่ลงอยู่ดีล่ะครับ
เวียตนามเพิ่งรับมองเครื่องบิน แอร์บัส A350 XWB ลำแรกเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ ถึงปี ๒๕๖๑ เวียตนามจะมีเครื่องบินรุ่นนี้ทั้งหมด ๑๔ ลำ โดย ๔ ลำ เป็นเครื่องเช่า เวียตนามเป็นประเทศที่ ๒ ในโลกที่สั่งซื้อเครื่องบินนี้ เริ่มแรกจะใช้สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ
สำหรับการบินไทย ตามกำหนดการที่ทางแอร์บัสแจ้งไว้ การรับมอบ A350 ลำแรก คือราวๆเดือนตุลาคม ปีหน้าครับ โดยเท่าที่ได้ยินมา จะจดทะเบียน HS-THB นามพระราชทาน 'วิเชียรบุรี' ครับ รูปชิ้นส่วน A350 ลำแรกของ TG ครับ Cr. http://www.airlinesweek.com
คือไม่ทราบจริงๆนะครับสำหรับความแตกต่างระหว่าง A350 กับ A350 XWB ผมอยู่เวียตนาม ผมยังไม่รู้ข่าว แต่เพื่อนเสื้อแดงเค้าบอกผมโชคดีที่เวียตนามมีเครื่องรุ่นนี้ก่อนไทย
A350 เรียกได้ 2 แบบครับ คือ A350 เฉยๆ กับ A350XWB เรียกยังไงก็ได้ ไม่ต่างกันครับ เพราะ XWB ย่อมาจาก Extended-Wide Body ครับ ลำตัวกว้างกว่าเครื่องบินแบบสองทางเดินที่แอร์บัสเคยผลิตมาครับ (ไม่นับจัมโบ้อย่างA380) โดย A350XWB จะมี 3 รุ่นย่อยคือ A350-800 XWB A350-900XWB และ A350-1000XWB ขึ้นอยู่กับความยาวลำตัวครับ โดยทางแอร์บัสหมายมั่นจะให้ชนกับ Boeing 777 และ ฺBoeing 787 Dreamliner ครับ ซึ่งรุ่นที่ทาง TG ได้สั่งไป 12 ลำคือ A350-900XWB ครับ สำหรับใครจะได้ก่อนหรือหลังนั้น ขึ้นอยู่กับคิวการสั่งครับ
เครื่องบินอีกรุ่นที่เราสั่งเหมือนเวียดนามก็คือ Boeing 787 Dreamliner ครับ โดย TG ได้สั่งมา 2 รุ่นคือ Boeing 787-8 และ 787-9 ครับ Boeing 787-8 Dreamliner ของการบินไทย โดยรุ่น 787-8 ได้สั่งมา 6 ลำ ดังนี้ครับ HS-TQA นามพระราชทาน "องครักษ์" "Ongkharak" HS-TQB นามพระราชทาน "จตุรพักตร์พิมาน" "Chaturaphak Phiman" HS-TQC นามพระราชทาน "ปราณบุรี" "Pran Buri" HS-TQD นามพระราชทาน "วาปีปทุม" "Wapi Pathum" HS-TQE นามพระราชทาน "โกสุมพิสัย" "Kosum Phisai" HS-TQF นามพระราชทาน "กงไกรลาศ" "Kong Krailat" ซึ่งได้มีการเริ่มรับมอบตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว จนตอนนี้เหลือรับมอบอีกแค่ลำเดียวคือ คุณกงไกรสาศ ครับ ส่วนรุ่น 787-9 จะเริ่มรับมอบในปี 2017 ครับ
การบินไทยจะโยนความเสื่อมขององค์กรให้ฝ่ายการเมืองแต่อย่างเดียวไม่ได้ครับ มีพนักงานโดยเฉพาะระดับบริหารจำนวนมากที่ทำได้ทุกอย่างเพื่อเงินและอำนาจ ตอนที่บอร์ดการบินไทยยังเป็นtechnocratอยู่ เรื่องเส้นสายแม้จะมีแต่ผลประโยชน์ขององค์กรยังเป็นเป้าหมายหลัก ความไม่ชอบมาพากลทั้งหลายยังอยู่ในวงแคบ พอนักการเมืองเบียดเข้ามาสำเร็จ การบินไทยก็กลายเป็นนรกแตก เป็นยุคทองของผู้บริหารเน่าๆทั้งหลาย การจัดซื้อจัดจ้างไม่เว้นแม้แต่การสอบเลื่อนขั้นเป็นpurserและin flight managerล้วนแต่มีผลประโยชน์มิชอบมาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น คำว่าธรรมาภิบาลในHRของการบินไทยเป็นแค่คำสวยหรูที่ผู้บริหารมีไว้อ้างอิงแต่ไม่เคยนำมาปฏิบัติจริง ลุงตู่มา พวกเน่าๆเพียงส่วนน้อยจากไป พวกผู้บริหารเน่าๆที่ยังเหลืออยู่ต่างก็โยนขี้ทั้งหมดให้นักการเมืองแล้วเริ่มเลียทหารกันใหม่ ไม่นานลุงตู่ก็ไป ถ้าพนักงานการบินไทยยังไม่รวมตัวกันต่อต้านอธรรม องค์กรก็จะกลับไปอยู่ในมือคนเลวอีกครั้ง หากถึงเวลานั้น ผมและผู้โดยสารธรรมดาๆอีกหลายคน คงต้องเลิกปกป้องสายการบินแห่งชาตินี้แล้ว
คุณจรัมพร โชติกเสถียร ดีดีขณะนี้ต้องเข้ามาปัดฝุ่นหลายอย่าง อุดรูรั่วทุกจุดเช่นขายเครื่องบินเก่าตกรุ่นอะไหล่แพงค่าซ่อมสูง เสียบ่อย หรือบางอย่าง เรื่องเล็กกว่านั้นอีกเช่นลูกเรือขนของที่ไม่จำเป็นบางรายการขึ้นเครื่อง แล้วไม่ได้ไปแจกลูกค้า หรือทำอะไร ต้องขนกลับลงมาล้างเก็บอีก ทำกันเป็นรูทีนจนเกิดความเคยชิน เฉพาะเรื่องปะติ๋ว เรื่องนี้เกิดมานานนับปีๆ คำนวณแล้วหมดค่าการจัดการนับสิบล้าน องค์กรใหญ่กำลังถูกปรับ ให้เป็นองค์กรขนาดเล็กที่กระชับ ต้องต่อสู้เรื่องการผงาดเป็นลำดับต้นๆในการรับจองตั๋วทางเน็ต ฯลฯ การเออร็รี่หลายพันคนล็อตล่าสุดนี้ก็เต็มไปด้วยความสมัครใจเพราะค่าตอบแทนจูงใจจนมี พนักงานต้องถูกสุ่มออกไว้ไปเออร์ลี่ล็อตหน้า การบินไทยโตเกินความควบคุมอย่างสมเหตุผลมาช่วงหนึ่ง น่ากำลังถูกผ่าตัดสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่ในขณะนี้ คนเสียผลประโยชน์เพราะโดนลงมีด หรือคนไม่ตามข้อมูลเลยโวย
การบินไทยสะดุดนิดหน่อยเพราะนักการเมืองมายำไว้เยอะ แต่บัตรอิเดียดการ์ด เน่าแล้วเน่าอีก แดงไม่คิดด่ามั่ง?
มุมมองของผม 1.ใน กบท มีคนชอบทักษิณ(เสื้อแดง)มากเช่นเดียวกัน (60:40 ดูจากผลเลือกตั้งใน กทม) ,เวลาเห็นเสื้อแดงโจมตี กบท ให้เจ๊ง ไม่รู้ว่าเคยคิดถึงพวกเดียวกันใน กบท บ้างหรือไม่ 2.มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ผูกขาดในการจัดซื้อ รวมทั้งกำหนดนโยบายเพื่อหาผลประโยชน์ เช่นเดียวกับนักการเมืองในประเทศ และพวกนี้พร้อมที่จะเข้ากับใครก็ได้(นักการเมือง ทหาร)ที่เข้ามา ,การที่จะป้องกัน หรือขุดคุ้ยเรื่องพวกนี้แทบเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับพนักงาน 3.การหารายได้ของ กบท ยังทำได้ดี (ประมาณ 2แสนกว่าล้าน/ปี) แต่รายจ่ายมากกว่า ทำให้ขาดทุน,ถ้าเราแค่ลดรายจ่ายให้ได้หมื่นล้าน ก็เท่าทุนแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ DD รวมถึงซุปเปอร์บอร์ดพยายามทำอย่างแรก 4.การแปรรูปเป็นเอกชน 1.รัฐขายหุ้นคงได้เงินไม่มากนัก(ผมเดาไม่เกินแสนล้าน) แต่สิ่งที่เสียมีเยอะกว่า ,การสั่งให้เครื่องเอกชนไปทำภารกิจต่างๆของรัฐคงยุ่งยาก ,การเดินทางของผู้นำประเทศก็สามารถสั่งให้ กบท จัดเครื่องได้ในทันที, เช่น สมัยนายกทักษิณจะไปประชุมที่ ชิลี ก็คงมีแต่ กบท ที่มีศักยภาพ เครือข่าย รวมทั้งบุคลากร ที่ทำได้ ,หรือสมัย นายกยิ่งลักษณ์ ไปประชุมที่US ขากลับอยากแวะชอปปิ้งที่โรม(ไม่อยู่ใน schedule) กบท ก็จัดให้ (ไม่รู้เก็บค่าใช้จ่ายจากใคร) 2 สิ่งที่เอกชนจะทำ หลักการง่ายๆที่ทุกแอร์ไลน์สทำคือเอาคนออกก่อน ซักหมื่นคน(แต่เป็นสิ่งที่รัฐวิสาหกิจ ทำยาก) แค่นี้ก็เริ่มลดการขาดทุนแล้ว แต่ศักยภาพ ,เครือข่าย, quata ,slot ที่กบท ทำมาอย่างยาวนานและ ความเป็นhubของไทย ผมว่าเป็นสิ่งที่นายทุนต่างๆ(SIA ,Emirates ๆลๆ)จ้องตาเป็นมันที่จะซื้อหุ้น ก็อยากอยากบอกผู้ที่วิจารณ์ กบท ขอให้ใช้ปัญญาและเหตุผลด้วย (โดยเฉพาะในพันทิป ราชดำเนิน)
เวลาดูดีดีคนนี้ให้สัมพลาด ท่านบุคลิกดีมากๆ พูดจามีหลักการและมีความมุ่งมั่น อยากให้ลองเข้าไปดูในคลิปกัน ท่านมีเป้าหมายชัดเจนและทางการก็ mandate แผนฟืี้นฟูให้ผ่านตลอด ถ้าบิ๊กตู่อยู่ยาวถึง 2017 (ไม่น่าถึง) จะเป็นหลักประกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปยุ่งกับเท็คโนแครตแบบนี้
ไม่รู้เบื้องใน อ่านแต่ของคุณนภดลอย่างเดียว Nopadol Prompasit ฝูง A340-500 จอดเฉยๆ ที่ดอนเมือง ไม่เห็นมีใครพูดถึงเลย // รู้ไหม หายนะของ TG มันเริ่มมาจากตอนสั่งซื้อ 340 สมัยทักษิณ นั่นแหล่ะ
เครื่องรุ่นนี้มีตำนานครับ แต่จะเล่าดีมั้ยน้า กลัวโดนหาว่าปรักปรำ อิอิ จุดเริ่มต้นของหายนะมันเริ่มจากตรงนี้แล
เอาเป็นว่า จะไม่พูดถึงว่า รบ.ไหนสั่งละกันครับ เดี๋ยวจะหาว่าปรักปรำ แต่เหตุการณ์เริ่มในปี 2005 จริงๆทางการบินไทยไม่มีแพลนจะสั่งรุ่นนี้เลย เพราะช่วงนั้นสายการบินอื่นๆที่ใช้อยู่ก็บ่นว่าเปลืองน้ำมันสุดยอด เพราะเป็นเครื่องลำตัวสั้น แต่มีถึง 4 เครื่องยนต์ ขนาด singapore airlines ยังเข็ดขยาดกับรุ่นนี้ แต่ รบ. สมัยนั้นก็ยังจะดื้อดึงสั่งมา (ลือกันว่าทางสิงคโปร์มาขอดีลกะ รบ. สมัยนั้น ให้มารับช่วงต่อ order 4 ลำที่เหลือ ซึ่งก็คือ 4 ลำดังกล่าว จริงเท็จประการใดไม่ขอรับรองครับ) โดยการบินไทยคือผู้รับเคราะห์เต็มๆ บรรดาบอร์ดก็ต่างขัดไม่ได้ และยังมีการ เปิดบินเส้นทางกรุงเทพ-นิวยอร์ค โดยบินไกล 15-16 ชั่วโมงไม่แวะพัก เหนือกว่าสิงคโปร์ แอร์ไลน์ แต่จากการที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่ของการบินไทยเป็นนักท่องเที่ยว ต่างจากสิงคโปร์ที่มีผู้โดยสารที่เป็นนักธุรกิจมากกว่า ปริมาณผู้โดยสารของการบินไทยในเส้นทางนี้จึงต่ำกว่าเป้าหมาย ประกอบกับราคาน้ำมันในช่วงนั้นปรับตัวสูงขึ้นมาก ผลประกอบการเส้นทางนี้จึงติดลบมาโดยตลอด หลังจากดื้อดึงมา 3 ปี ก็ต้องหยุดเส้นทางนี้ พร้อมกับการขาดทุนย่อยยับอย่างไม่เคยมีมาก่อนครับ โดยทุกคนโทษแต่การบินไทยฝ่ายเดียวเต็มๆ ทั้งๆที่การบินไทยไม่ได้อยากเอาเครื่องบินรุ่นนี้มาเลย บรรดาลูกเรือต่างพูดกันครับว่า เครื่องบินรุ่นนี้ ถึงจะมี ผดส เต็มเครื่อง ล้นไปนั่งบนปีก บนหลังคา อย่างดีก็แค่เท่าทุนครับ เพราะกินน้ำมันสุดๆ ถึงตอนนี้ TG จะประกาศขาย ก็ขายไม่ออกครับ เพราะหลายๆสายการบินก็รู้เต็มอกถึงการบริโภคน้ำมันอย่างเอร็ดอร่อยของ A340-500 เคยมีเจ้าชายทางตะวันออกกลางมาติดต่อขอซื้อ แต่ให้ราคาที่ต่ำกว่าราคาขาย จึงไม่ขายครับ
ขายทำร้านอาหาร ไม่ดีเหรอ ทิ้งไว้ก้อเสื่อมราคา ค่าเช่าจอด ค่าดูแล ขาดทุนแบบตัด บ/ช ดีกว่าเสื่อมค่าต่อเนื่อง ไปดึงต้นทุนอื่นๆอีก
อีกกี่ปี เมื่อทุกอย่างครบสภาพดี เปิดบริการแท็กซี่อากาศเลย ระยะสั่นยาว บินได้ก้อบินเลย แบบบินก้อแจ๊ง ทิ้งไว้ก้อโทรม ตั้งค่าพอคุ้มค่าเสื่อมก้อพอ หาค่าเช่าพอจ่าย สัก50% พอ ยังดีกว่าเอาตังค์ตรูไปจ่าย แล้วตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เก็บค่าส่วยคืน
ถ้าผมเป็น DD การบินไทย นะ ไอ้ A340 ผม write off ทิ้งไปแล้ว ไม่ให้อยู่เกะกะในงบการเงินเด็ดขาด ยอมตัดทิ้งไปเลย ว่าไป การบินไทยก็เลือกเครื่องบินที่ค่อนข้างจะใช้ได้นะ พวก ตระกลู ERของโบอิ้งนี่เรีกว่าประหยัดน้ำมันมาก แต่ยังไง ระดับพนักงานต้องมีการปรับลด ระดับบริหารก็ มีเยอะแยะต้องยุบหลายBU ที่ตั้งเพื่อเอาเด็กๆของตัวเองมากินเงินเดือนแต่ผลงาน กระจอก ทุกวัน เห็น TG ใช้พนักงานต่อเคาท์เตอร์ เยอะกว่า SQ เยอะ จริงๆเราต้องเอา SQ เป็นเป้าหมายที่เราจะต้องไปให้ถึง ดูตัวเลข รายได้ต่อหัวพนักงานที่เค้าทำได้สูงกว่าเราเยอะ performance เค้าดีกว่าเยอะ ไม่ใช่แอร์โอสเตทเราไม่ดีนะครับ ดี แต่เรามีเยอะเกินความจำเป็นเกินไป ไม่รู้สิ แค่การเสริฟ์ การบริการบนเครื่อง นี่ เทียบกันแล้ว สายการบินอื่น ใช้คนน้อยกว่าเรานะ
เหลืออีกกี่ปี อันนี้ก็ไม่ทราบครับ แต่คงเอามาบินแบบเหมาลำอีกก็คงไม่ไหวแล้วครับ เพราะค่าเชื้อเพลิงก็แพงขึ้น ไหนจะค่า operate ต่างๆต่อไฟลท์ และสนามบินในไทยที่ลงจอดได้แค่ไม่กีีที่ คิดว่าป้าม่วงคงตัดสินใจที่จะจอดแช่ยังงี้อีกนาน (ซึ่งก็ไม่เข้าใจป้าม่วงเหมือนกันว่าทำไม) จนกว่าจะถึงบทสรุปของเรื่องนี้ครับ ซึ่งคงใช้เวลาหลายปี ปล. พูดถึงเครื่องบินรุ่นทีี่สายการบิน say no กันแล้ว เดี๋ยวเย็นๆจะแวะมาเล่าถึงรุ่นที่บรรดาสายการบินต่าง say yes กันบ้างครับ
29 มกราคม 2558 - นอกจากการปรับลดอัตรากำลังคนลง 5,000 คน จากทั้งหมด 25,000 คน จะเป็นหนึ่งใน 5 มาตรการของแผนผ่าตัดใหญ่เพื่อชุบชีวิตการบินไทย ที่กำลังเผชิญวิกฤติจนถึงขั้นล้มละลาย ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือ "ซุปเปอร์บอร์ด"ไปแล้ว มาตรการฟื้นฟูด้านอื่นๆ ที่น่าสนใจก็คือ การให้ทบทวนเส้นทางการบินที่ขาดทุน และขายทรัพย์สินหรืออากาศยานที่ไม่ได้ใช้งาน จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ชี้แจงในรายละเอียดว่า ภายในปีนี้จะมีแผนยกเลิกเส้นทาง ลดความถี่เที่ยวบินที่ขาดทุนต่อเนื่อง และไม่มีศักยภาพทำกำไร รวมแล้วประมาณ 10% ของเที่ยวบินทั้งหมด เช่น ยกเลิกเที่ยวภูเก็ต-กรุงโซล กรุงเทพฯ-โจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ ส่วนเที่ยวบินสุราษฎร์ธานี อุดรธานี และอุบลราชธานี จะลดความถี่ลง และให้สายการบินไทยสมายล์มาบินแทน ขณะที่แผนการขายสินทรัพย์เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายองค์กรนั้น ส่วนแรกจะขายเครื่องบินที่ปลดระวางรวม 22 ลำ ภายในกรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ Forbes Thailandฉบับเมษายน 2557 ได้ตีแผ่ข้อมูลที่แสดงให้เห็นปัญหา ที่การบินไทยต้องแบกรับภาระอากาศยานราคาแพง ที่มาพร้อมกับการเปิดเส้นทางการบินที่มีการแข่งขันสูง ในบทความ "มหากาพย์ Airbus A340-500 หายนะหลายหมื่นล้าน" โดย "อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์"ซึ่งสุดท้ายแล้วกลายเป็นบาดแผลที่ต้องได้รับการเยียวยา มหากาพย์ Airbus A340-500 หายนะหลายหมื่นล้าน นโยบายเปิดเส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์ก ใช้เวลาบินเพียง 16 ชั่วโมง 50 นาที โดยไม่ต้องแวะพักเติมน้ำมัน เพราะใช้เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2546 สมัยรัฐบาลทักษิณ 1 เมื่อบอร์ดอนุมัติแผนจัดซื้อเครื่องบิน Airbus 8 ลำ เป็น A340-500 4 ลำ บินในเส้นทางกรุงเทพ-นิวยอร์ก และ A340-600 อีก 5 ลำ บินเส้นทางกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 5 สิงหาคม 2546 อนุมัติให้การบินไทยซื้อเครื่องบิน A340-500 จำนวน 3 ลำ และ A340-600 จำนวน 4 ลำ และเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2547 ก่อนรัฐบาลทักษิณ 1 หมดวาระลงไม่นาน อนุมัติให้ซื้อ A340-500 จำนวน 1 ลำ และ และA340-600 จำนวน 1 ลำ ตามแผนรัฐวิสาหกิจ 2548-2550 จำนวน 14 ลำ วงเงินลงทุนรวม 96,355 ล้านบาท ประกอบด้วย Airbus A380 ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้กว่า 500 ที่นั่ง จำนวน 6 ลำ Airbus A 340-500 จำนวน 1 ลำ Airbus A 340-600 จำนวน 1 ลำ และ Boeing 777-ER จำนวน 6 ลำ จากนั้นต้นปี 2548 รัฐบาลทักษิณ 2 เข้ารับตำแหน่ง จึงได้มีการผลักดันเส้นทางบินตรงนิวยอร์ก จนเปิดเที่ยวบินแรกสำเร็จเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นขาดทุน แม้จะมีเสียงทักท้วงจากพนักงานฝ่ายบริหาร แต่ก็ไม่อาจต้านแรงผลักดันจากฝ่ายการเมืองได้ เมื่อตรวจสอบแผนการจัดซื้อเครื่องบินของการบินไทย พบว่าช่วงที่ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี มีสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เลขาธิการพรรคไทยรักไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทนง พิทยะ เป็นประธานบอร์ดการบินไทย และกนก อภิรดี เป็น DD มีการจัดซื้อเครื่องบินตั้งแต่ปี 2545-2547 จำนวน 39 ลำ มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท เส้นทางบินตรงกรุงเทพ-นิวยอร์กไม่หยุดพัก เปิดดำเนินการเที่ยวแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2548 นับตั้งแต่เที่ยวบินปฐมฤกษ์จนยุติเที่ยวบินเมื่อ 1 กรกฎาคม 2551 รวม 38 เดือน การบินไทยขาดทุนไปกว่า 7 พันล้านบาท เนื่องจาก A340-500 มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันสูง เพราะมี 4 เครื่องยนต์ และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นหลายเท่าตัว ถ้ายังไม่หยุดบินคาดว่าตัวเลขขาดทุนปี 2551 ที่ติดลบ 21,379 ล้านบาท อาจเพิ่มมากขึ้นไปอีก 2 พันกว่าล้านบาท ก่อนที่จะมีมติหยุดบิน ในรายงานการประชุมบอร์ดวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ทางฝ่ายบริหารได้สรุป 5 สาเหตุที่ต้องตัดสินใจหยุดบินเพราะขาดทุน ได้แก่ ต้นทุนน้ำมันสูงกว่าร้อยละ 50 มากกว่าที่ประเมินไว้ในแผนว่าราคาน้ำมันอยู่ที่ 82 เซนต์/แกลลอน แต่ปี 2548 ราคาน้ำมันขึ้นไปที่ 1.62 เหรียญ/แกลลอน และในปี 2551 ปรับขึ้นไปเป็น 2.76 เหรียญ/แกลลอน ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เงินเหรียญสหรัฐอ่อนตัว รายได้เมื่อแปลงค่าเป็นเงินบาทจึงลดลงมาก เครื่องรุ่นนี้มี 215 ที่นั่ง แม้มีผู้โดยสารเต็มก็ยังขาดทุน ความนิยมใช้เครื่องบินรุ่นนี้ทั่วโลกมีน้อย โอกาสขายได้ยากหรือราคาจะตกลงมาก เส้นทางบินในตลาดอเมริกาเหนือมีการแข่งขันสูง การกำหนดราคาสูงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นถ้าฝืนบินต่อไปจะขาดทุนไปถึง 1 หมื่นล้านบาทด้วย นอกจากอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงแล้ว A340-500 ไม่เป็นที่นิยม เพราะหลังออกวางจำหน่ายไม่นาน Boeing ได้ออกรุ่นใหม่ที่ประหยัดน้ำมันกว่ามาแข่ง ทั่วโลกมียอดสั่งซื้อ A340-500 ไม่เกิน 30 ลำ ส่วนสายการบินที่ซื้อเครื่องบินรุ่นนี้ทยอยปลดระวาง ทำให้ราคาตลาดเครื่องบินมือ 2 ตกลงมาก ส่วน Airbus ก็ได้ยกเลิกการผลิตรุ่นนี้ตั้งแต่ปี 2555 แม้แต่ Singapore Airlines ที่ซื้อเครื่องบินรุ่นนี้ 5 ลำ ได้ตัดสินใจอย่างรวดเร็วในการขายคืนผู้ผลิต แลกกับการซื้อเครื่องรุ่นใหม่ที่ใช้งานคุ้มค่ากว่าแทน ในขณะที่การบินไทยยังจอดรอขายพร้อมภาระที่ตามมา เสียน้อย เสียมาก เสียยาก เสียง่าย แม้ที่ประชุมบอร์ดเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 เสนอให้หยุดบินเส้นทางกรุงเทพ-นิวยอร์ก และลดเที่ยวบินเส้นทางกรุงเทพ-ลอสแองเจลิส พร้อมเสนอขายเครื่องบิน A340-500 ทั้ง 4 ลำ (ราคาซื้อเฉลี่ยลำละ 153.57 ล้านเหรียญ) ภายใน ปี 2552 ทว่าไม่สามารถขายได้ ต่อมาบอร์ดจึงมีมติเมื่อ 1 พฤษภาคม 2555 ยกเลิกใช้เครื่องบินรุ่นนี้ พร้อมกับได้ประกาศขายเครื่องบินทั้ง 4 ลำ ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ แต่ไม่มีผู้สนใจอย่างจริงจัง นอกจากบริษัท AvCon Worldwide ได้ยื่นข้อเสนอครั้งแรกเมื่อมีนาคม 2556 เสนอซื้อ A 340-500 ลำที่ 4 ในราคา 35 ล้านดอลลาร์ และลำที่ 2 ในราคา 24 ล้านเหรียญ แต่ในเวลาต่อมาการบินไทยได้เชิญผู้ที่เคยขอข้อมูลเครื่องบิน A340-500 รวม 40 ราย ให้เสนอราคาซื้อเครื่องอีกครั้ง ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคารายเดียวคือบริษัท สยามโกลบอล แอร์ จำกัด ผู้ให้บริการสายการบินชบาแอร์ ขอเสนอซื้อทั้ง 4 ลำ ในราคา 88 ล้านดอลลาร์ แต่บอร์ดไม่ขาย หันมาเจรจากับ AvCon อีกครั้ง แต่ในที่สุดบอร์ดก็ไม่รับข้อเสนอ AvCon ที่เสนอซื้อเฉลี่ยลำละ 23.5 ล้านเหรียญ เพราะราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีหลายเท่า แล้วมอบให้ฝ่ายบริหารไปศึกษาเพิ่ม จนล่าสุดโชคชัย (ปัญญายงค์) รักษาการ DD บอกว่ามีรายใหม่สนใจซื้อทั้ง 4 ลำ แต่ราคาที่เสนอสูงกว่า คาดว่าราคาตลาดของทั้ง 4 ลำ ในปีนี้ จะต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท จากราคาซื้อเฉลี่ยลำละ 153.57 ล้านเหรียญ เมื่อปี 2548 และ 2550 มาถึงปี 2556 มูลค่าทางบัญชีของลำที่ 1-3 อยู่ที่ 55.75 ล้านเหรียญ และลำที่4 อยู่ที่ 67.07 ล้านเหรียญ และคาดว่าราคาตลาดของปี 2557 อยู่ที่ 50.9 ล้านเหรียญ และ 61.9 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ยิ่งไม่รีบตัดสินใจขาย มูลค่าของเครื่องบินก็ยิ่งหายไป ปี 2556 การบินไทยต้องรับภาระด้อยค่าเครื่องบินสูงถึง 5,426 ล้านบาท หากจอดทิ้งไว้ต่อไป จะมีภาระด้อยค่าเครื่องบินปีละกว่า 1.3 พันล้านบาทไปจนถึงปี 2561 รวมขาดทุนจากการด้อยค่าเครื่องบินรวม 6.8 พันล้านบาท นี่คือตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงความล้มเหลวของการเปิดเส้นทางบินและจัดหาเครื่องบิน ที่ส่งผลเสียหายต่อองค์กรมหาศาลที่ยังหาคนแสดงความรับผิดชอบไม่ได้ ประกาศขาย A340-500 ซึ่งถูกปลดระวางมาตั้งแต่ปี 2551 ล่าสุด (29 มกราคม) Forbes Thailandได้เข้าเว็บไซต์ Thai Aircraft Trading ซึ่งการบินไทยจัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินที่ปลดระวางและรอขายต่อ พบเครื่องบินรุ่นต่างๆ รวม 16 ลำ ในจำนวนนี้ 4 ลำ คือ Airbus A340-500ที่ซื้อมาในราคาตกลำละ 153.57 ล้านเหรียญ ไปใช้บินตรงจากกรุงเทพฯ ไปยังนิวยอร์กนั่นเอง - See more at: http://www.forbesthailand.com/article_detail.php?article_id=300#sthash.cuoNOVgn.Yt4KvTV4.dpuf http://www.forbesthailand.com/article_detail.php?article_id=300
เห็นควรว่า น่ามีการปรับปรุงบางจุด และเน้นกฏระเบียบให้เข็มแข็ง อย่าทำเป็น รร.ฝึกแอร์ให้สายการบินอื่น ลดต้นทุนแบบเด็กฝากออกไป แบบกินหัวคิว ก้อลองเปลี่ยนซะ อย่าประหยัดแบบข้างล่าง ก้อพอ 555555555555555 Nopadol Prompasit สายการบินไหนขาดทุน ลองใช้วิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่ายดู //
เรื่องAirbus A340 คงจะแก้ปัญหาแบบไทยๆเหมือนเดิมคือจอดทิ้งไว้รอขายซากเมื่อมูลค่าทางบัญชีหักค่าเสื่อมแล้วลดลงเหลือเกือบศูนย์ แล้วบอร์ดก็เปิดแชมเปญฉลองความสำเร็จที่ขายเครื่องบินเก่าได้ราคาสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเคยทำมาแล้วตอนขายเครื่อง British Aerspace BAe146 เครื่องบินลำเล็กนิดเดียวแต่มีตั้งสี่เครื่องยนตร์
ตอนนั้นตัดใจขาย กะตอนนี้จอดเพื่อทิ้ง ตอนก่อนนั้นน่าได้ราคามากกว่านะ ก้อเหมือนบริษัท มีหลายที่ ที่ไหนลงทุนไม่คุ้มก้อ ตัดสินใจขายทิ้งดีกว่า
หลังจากพูดถึงเครื่องบินที่หลายสายการบินยี้ไปแล้ว มาพูดถึงเครื่องบินรุ่นที่ได้รับความนิยมมากในหลายๆสายการบินในขณะนี้กันดีกว่าครับ กับ Boeing 777-300ER เครื่องบิน Boeing 777-300ER ( ER = Extended Range ) เป็นเครื่องบินขนาดใหญ่ พิสัยไกล ติดตั้งเครื่องยนต์รุ่น GE90-115B จำนวน 2 เครื่องยนต์ โดยถือได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ในอากาศยานที่มีแรงขับต่อเครื่องมากที่สุดในโลก (115,00 ปอนด์/เครื่อง) สามารถทำระยะการบินได้ไกลจาก LA ถึง กทม ได้โดยไม่แวะพัก และประหยัดเชื้อเพลิงกว่ารุ่นเดิมถึง 1.4% โดยทางโบอิ้งหมายมั่นให้สามารถทดแทนเครื่องบินประเภท 4 เครื่องยนต์ได้ เท่ากับว่า เครื่องบินรุ่นนี้สามารถบินไกลได้เท่าเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์ แต่ประหยัดน้ำมันมากกว่า จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากสายการบินต่างๆทั่วโลกครับ โดยขณะนี้มียอดสั่งไปแล้ว 786 ลำครับ โดยในบ้านเรา การบินไทยได้เช่าซื้อจาก BOAC Aviation 8 ลำ และสั่งซื้อเอง 6 ลำ รวม 14 ลำครับ จัดชั้นที่นั่ง 2 ชั้น คือ Royal Silk Class หรือชั้นธุรกิจ 42 ที่นั่ง และชั้น Economy class หรือชั้นประหยัด 306 ที่นั่ง ครับ ลำที่เช่าซื้อจาก BOCA (ฺBoeing 777-3AL/ER) จำนวน 8 ลำ มีดังนี้ HS-TKK นามพระราชทาน "พิลาวัณย์" "Philavan" HS-TKL นามพระราชทาน "สุนันทา" "Sunanda" HS-TKM นามพระราชทาน "ประภาศรี" "Prabhasri" HS-TKN นามพระราชทาน "เมทินีนาถ" "Medininat" HS-TKO นามพระราชทาน "วิมลมาศสิริ" "Vimolmassiri" HS-TKP นามพระราชทาน "ศรีอัมพร" "Sri Amphorn" HS-TKQ นามพระราชทาน "เขมราฐ" "Khemrat" HS-TKR นามพระราชทาน "หาดใหญ่" "Hat Yai" ส่วนลำที่สั่งซื้อเอง (ฺBoeing 777-3D7/ER) จำนวน 6 ลำ มีดังนี้ครับ HS-TKU นามพระราชทาน "อัจฉราโสภิต" "Acharasobhit" HS-TKV นามพระราชทาน "สุจิตรา" "Suchitra" HS-TKW นามพระราชทาน "มุกดาสยาม" "Mukdasayam" HS-TKX นามพระราชทาน "สุธรรมา" "Sudharma" HS-TKY นามพระราชทาน "ยุพาผกา" "Yubhaphaka" HS-TKZ นามพระราชทาน "สุลาลีวัน" "Sulalivan" (รอรับมอบ)
ชอบคุณปิยะสวัสดิ์มากกว่าคุณจรัมพร เพราะผมไม่ค่อยชอบแนวทางลดค่าใช้จ่ายโดยการตัดเส้นทางการบิน เพราะเท่ากับตัดในส่วนรายได้เข้าองค์กรบางส่วนลง ลดความสามารถทางด้านการเดินทางแบบครบวงจรลง ออกแนวทางฆ่าตัวตายกลายๆ ถ้าจะลดค่าใช้จ่ายควรลดค่าใช้จ่ายทางด้าน operation น่าจะดีกว่า ผลประโยชน์พนักงานหลายๆเรื่องต้องลดๆลงบ้าง อย่างเท่าที่ได้ยินมา เช่น การจ่ายภาษีเงินได้ให้ (ไม่ชัวร์กับข้อมูล) บินฟรี เป็นต้น การบินไทยต้องลงทุนเพิ่ม เพราะมาเลย์สะดุด กลายเป็นสิงคโปร์กวาดคนเดียว อย่างเรื่องการบินในประเทศที่สู้แอร์เอเซียไม่ได้ น่าอายมากทั้งที่ดีกว่าทุกอย่าง น่าจะบริหารต้นทุนได้ดีกว่าด้วยซ้ำ กลายเป็นชอบเที่ยวบินเมืองนอกกันมากเพราะค่าเบี้ยเลี้ยงดี กินอยู่เมืองนอกหรูหรา ไม่ชอบบินในประเทศ ถ้าบินก็ต้องได้รายได้คล้ายบินต่างประเรทศ อะไรประมาณนี้ การลงทุนต้องเน้นที่ความสะดวกสบายของลูกค้าเป็นหลักในราคาที่จับต้องได้ ดูสิงคโปร์เป็นตัวอย่าง บริการดี สะอาด สะดวก ราคาก็ไม่ถูก แต่คนก็นั่งกันเยอะ นี่จะขึ้นเครื่องการบินไทยที เกทอยู่ไกลลิบโลกเดินทีขาลาก บางทีจ่ายเพิ่มเอาเกทใกล้ๆขึ้นค่าตั๋วสักร้อยสองร้อย คงไม่ทำให้เครื่องว่างคนเลิกใช้หลอก ผมปรามาสการบินไทยไว้เลยว่าลากกันไปแบบนี้ คงเจ๊งแน่นอน
ผมแปลกใจมาก แทนที่จะลดต้นทุนที่ฟุ่มเฟือย กลับไปตัดเส้นทางการบินทั้งๆที่นั่นคือธุรกิจเขา เขาอ้างว่าเพราะต้นทุนสู้คู่แข่งไม่ได้ คุณก็ต้องมาดูแล้วว่าทำไมต้นทุนเราสูงกว่า นี่เล่นงดบิน งี้ก็รอวันเจ๊ง http://pantip.com/topic/33976633 http://pantip.com/topic/32225576 อยากให้DDได้อ่านมั่งจะได้รู้ว่ารูรั่วเต็มไปหมด
ถ้าตั๋วบินฟรีของพนักงาน อันนี้ให้มองว่าเป็นสวัสดิการมากกว่าครับ เพราะเป็นตั๋วแบบ stand-by ก็คือต้องมาเกาะเคาทน์เตอร์รอ ว่ามีที่นั่งเหลือมั้ย ถ้าเต็ม ก็ต้องรอไฟลท์ต่อไปครับ หรือแม้กระทั่ง มีที่นั่งว่างจริง แต่มี ผดส มาซื้อแบบกะทันหัน ก็ต้องขายที่ตรงนั้นไปครับ เคยมีลูกเรือท่านนึง ลาหยุดงานไปเที่ยวยุโรป แต่ขากลับตั๋วเต็ม ต้องรออยู่ที่นั่นสองวันครับ ถึงจะมีที่ว่างให้กลับได้
น่าเชิญคุญปิยสวัสดิ์กลับมา แนวทางของท่านไม่ถูกใจพนักงาน แต่ถูกต้อง หลังจากไปหาข้อมูลมาแล้ว เป็นตัวเลขกลมๆนะครับ Thai Airways จำนวนพนักงาน 25,000 คน เครื่องบิน 91 ลำ รายได้รวม 212,000 ล้านบาท ขาดทุน 12,000 ล้านบาท Singapore Airlines จำนวนพนักงาน 14,000 คน เครื่องบิน 105 ลำ รายได้รวม 495,000 ล้านบาท กำไร 12,000 ล้านบาท สรุปว่า ... การบินไทย จำนวนเครื่องบินน้อยกว่าแค่ 10% แต่กลับใช้พนักงานมากกว่าเค้า 80% ในการทำงาน แล้วรายได้รวมยังน้อยกว่าเค้า 1 เท่าตัว กว่าๆ สุดท้ายขาดทุนอีก
เห็นตัวเลขแล้วเศร้านะ นี่ถ้าเจ๊งไป ต้องเอาเงินถมอีกเท่าไหร่ ตัดทรัพย์สินขายก็โดนแร้งลง เท่าที่ผมทราบ พนักงานบางส่วนไม่สนใจใดๆเลย เพราะมีแนวคิดว่าการบินไทยจะไม่มีทางเจ๊ง ถึงเจ๊งรัฐก็จะอุ้มชู ดังนั้นขออะไรได้ขนาด ขอเงินเดือนสูง โบนัสดี สวัสดิการเยี่ยม ถ้าผมบริหารนะ ถ้ายังทำงานกันโดยไม่แยแส บริษัทไม่มีกำไรอย่างต่ำ10%-15% สิงคโปร์ใช้คนแค่14000 การบินไทยต้องแบบเดียวกัน ต้องเอาออกหมื่นคนก็ต้องทำ พนักงานต้องรับได้ ไม่มีการกุศล ถ้าออกมาเรียกร้อง ผมผู้บริหารก็เรียกร้องเอาบ้าง พนักงานคนที่โวยวาย เก่งแต่พูด ผมให้มาบริหารเลย แต่บนเงื่อนไข ถ้าทำไม่ได้ คุณออกไม่มีชดเชยนะ จะได้รู้ว่าหัวโขนมันไม่สนุกหรอก อยากให้ดูทีโอทีอีกที่ รายนี้อาการหนักรอขึ้นเผา โครงข่ายดี ครอบคลุมพอควร แต่รายได้ไม่พอเลี้ยงตัวเอง