ปริศนาคำพูด“สนธิ(ลิ้ม)” ปมภาษีบุหรี่ เบื้องหลัง “คดีฟิลลิปมอร์ริส” ประเทศเสียหาย 6.8หมื่นล้าน? กลายเป็นเรื่องใหญ่ ขึ้นมาในทุกวงสนทนาอีกครั้งสำหรับ “คดีบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) จำกัด” หลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร ทำให้รัฐเสียรายได้กว่า 68,881 ล้านบาท ล้านบาท แต่ “รัฐบาล คสช.” โดย รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม กลับยังไม่มีทีท่าที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังอย่างไร จากข้อมูลกรณีนี้ มีที่มา จากการตรวจสอบพบว่า บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส แจ้งราคานำเข้าบุหรี่ต่ำกว่าการนำเข้าของบริษัทอื่น 3-4 เท่า อาทิ บุหรี่มาร์ลโบโร บริษัท ฟิลลิป มอร์ริสสำแดงราคาซองละ 7.76 บาท แต่ บริษัท คิง พาวเวอร์ สำแดง ราคาที่ซองละ 27.46 บาท และบริษัท การบินกรุงเทพ สำแดงราคาที่ซองละ 30.39 บาท หรือบุหรี่แอลแอนด์เอ็ม ซึ่งบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส สำแดงราคาซองละ 5.88 บาท บริษัท คิง พาวเวอร์ ซองละ 16.81 บาท เป็นต้น โดยมีรายงาน “กรมสอบสวนคดีพิเศษ” ได้รายงานการดำเนินคดีพิเศษ ที่ 75/2549 กรณีบริษัทนำเข้าบุหรี่ยี่ห้อมาร์ลโบโร และยี่ห้อแอลแอนด์เอ็ม จากประเทศฟิลิปปินส์ ระหว่างปี 2546-2550 และพนักงานสอบสวนฯ ได้มีความเห็นทางคดี เห็นควร “สั่งฟ้องผู้ต้องหา” จำนวน 14 รายต่อพนักงานอัยการ แต่ต่อมามีรายงานเมื่อ 12 มกราคม 2554 พนักงานอัยการกลับมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ที่ระบุว่ามีการสำแดงภาษีเท็จ ทำให้ประเทศชาติเสียหายกว่า 6.8 หมื่นล้านบาท เสียเฉยๆ จนเกิดการเคลื่อนไหวกดดันให้มีการดำเนินคดีเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยกลุ่มนักวิชาการ ภาคประชาชน สื่อมวลชนหรือแม้แต่หน่วยงานรัฐ ในเวลาต่อมา รวมทั้ง “กรมสอบสวนคดีพิเศษ” เอง “มีความเห็นแย้ง” ต่อการไม่ฟ้องดังกล่าว และท้ายที่สุด “อัยการสูงสุด” มี “คำสั่งเด็ดขาดฟ้อง” ในช่วงเดือนตุลาคม 2556 (ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้ามากกว่านี้) แต่ที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตตรงกัน ก็คือ เหตุการณ์ “สั่งไม่ฟ้อง” ปริศนาที่เกิดขึ้นกับ “คดีฟิลลิป มอร์ริส” ที่อาจทำให้ประเทศชาติ เสียหายกว่า 6.8 หมื่นล้านนั้น กลับเกิดขึ้นในช่วง “รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์” ได้อย่างไร ? ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่า ครั้งหนึ่ง “สนธิ ลิ้มทองกุล” อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลับกลายเป็นผู้ที่เคยปราศรัย เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ในการชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย “รวมพลังปกป้องแผ่นดิน” เวทีสะพานมัฆวานรังสรรค์ เมื่อ 11 มีนาคม 2554 พาดพิงทั้งในส่วนของ “พรรคประชาธิปัตย์, รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และยังพาดพิงไปถึงนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ “เกียรติ สิทธีอมร” ซึ่งมีตำแหน่งเป็น “ผู้แทนการค้าไทย” รัฐบาลในขณะนั้นด้วย โดยเนื้อหาที่ “สนธิ ลิ้มทองกุล” ปราศรัยในวันนั้น ส่วนหนึ่งระบุว่า … “พี่น้อง ผมไม่อยากหาเรื่องพรรคประชาธิปัตย์ แต่ผมต้องพูด พรรคนี้เรื่องเลวๆ เล็กๆ ไม่ทำ ทำแต่เรื่องใหญ่ๆ ทั้งนั้นเลย เริ่มจากเรื่องเสียเขาพระวิหาร ครั้งแรกใครเป็นคนทำให้เสีย เสนีย์ ปราโมช ประชาธิปัตย์รึเปล่า เรื่องที่ 2 ที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ฝีมือใคร เรื่องที่ 3 ไอเอ็มเอฟเข้ามาปล้นประชาชน ให้ฝรั่งบังคับคนไทยขายทรัพย์สินราคา 10% ให้มัน ให้ฝรั่งซื้อ 10% แล้วมาขายคืนคนไทย 100% ปรส.ฝีมือใคร ดินแดนเขมร พื้นที่ 1:200,000 ฝีมือใคร ประชาธิปัตย์ ประชาชนเข้าแถวซื้อน้ำมันปาล์มทั่วประเทศ ฝีมือใคร ช่วยฝรั่งโกงภาษี 68,000 ฝีมือใคร เห็นหรือยังพี่น้อง พรรคระยำนี่เล็กๆ มันไม่ทำ มันทำแต่เรื่องใหญ่ๆ เรื่องที่ดินของชาติ เรื่องดินแดนของชาติ เรื่องภาษีของชาติ มันโกง โกงฉิบหาย ประชาชนเดือดร้อนกันทั่วประเทศเพื่อซื้อน้ำมันปาล์ม ฝีมือมันหมดเลย นี่แหละฝีมือพรรคประชาธิปัตย์ แล้วนายกฯ ยังมีหน้ามาพูดบอกว่า มันเลวน้อยที่สุด…” ซึ่งเนื้อหาคำปราศรัยดังกล่าว เผยแพร่อยู่ในเว็บไซด์ผู้จัดการออนไลน์ (www.manager.co.th) ของ “สนธิ ลิ้มทองกุล” ซึ่งน่าสนใจอย่างยิ่ง ในการที่จะค้นหาข้อมูล เพื่อพิสูจน์ “ความจริง” ให้เกิดความชัดเจน ? https://www.hereandthere.today/?p=2502
หามาป้อนให้ จขกท. จะได้ไม่ต้องไปดมโกเต๊กลิ้ม ต่อสู้คดีกันมานานกว่า 10 ปี ในที่สุดสำนักงานอัยการสูงสุดก็ตัดสินใจสั่งฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด ในข้อกล่าวหาสำแดงราคานำเข้าบุหรี่จากประเทศฟิลิปปินส์ต่ำกว่าความเป็นจริง ระหว่างปี 2546-2550 ทำให้รัฐเสียหาย คิดเป็นมูลค่ากว่า 68,000 ล้านบาท โดยสำนักงานอัยการสูงสุดมอบหมายให้ ร.ท. สมนึก เสียงก้อง อธิบดีอัยการ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด, นายชาติพงษ์ จีระพันธุ์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ และนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดแถลงข่าวความคืบหน้าของคดีนี้วันที่ 19 มกราคม 2559 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม 303 สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ ขณะที่บริษัท ฟิลลิป มอร์ริสฯ ออกแถลงข่าวยืนยันว่า ข้อกล่าวหาที่สำนักงานอัยการสูงสุดยื่นฟ้องบริษัทเกี่ยวกับคดีเลี่ยงภาษีศุลกากรนั้นเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง ไม่ยุติธรรม อีกทั้งยังละเมิดต่อพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ในการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากร โดยนายทรอย มอดลิน ผู้จัดการสาขา บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า “บริษัทไม่ได้กระทำผิดแต่อย่างใด ไม่เพียงแต่ข้อกล่าวหาทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ปราศจากมูลความจริง และเป็นการละเมิดต่อพันธกรณีของประเทศไทยในการปฏิบัติตามหลักความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากรขององค์การการค้าโลก แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถามกับประเทศไทยในเรื่องหลักการความยุติธรรม ความโปร่งใส และการเคารพหลักนิติธรรม การสั่งดำเนินคดีนี้ทำลายความพยายามของประเทศไทยในการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศในเวทีประชาคมโลก และความพยายามทำให้ประเทศเป็นตลาดที่เปิดกว้างและเป็นมิตรกับนักลงทุน” “การตัดสินใจของอดีตอัยการสูงสุด นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ในการสั่งฟ้องบริษัทฯ รวมถึงการสั่งดำเนินคดีกับอดีตพนักงานและพนักงานปัจจุบันของบริษัทนั้น ขัดแย้งกับคำสั่งไม่ฟ้องของสำนักงานอัยการสูงสุดเองในข้อหาเดียวกันเมื่อ 4 ปีก่อน นอกจากนี้ ยังเป็นการขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของกรมศุลกากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สำนักตรวจสอบ หลังการตรวจปล่อยสินค้า รวมถึงองค์การการค้าโลกก่อนหน้านี้ด้วย” นายทรอยกล่าว นายทรอยกล่าวต่อว่า ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด ได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนับตั้งแต่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้เริ่มดำเนินการสอบสวนเมื่อปี 2549 ทั้งนี้ บริษัทฯ ยืนยันที่จะต่อสู้กับข้อกล่าวหาที่ปราศจากมูลความจริงนี้อย่างถึงที่สุด และพร้อมที่จะแสดงให้เห็นว่าบริษัทยึดถือปฏิบัติตามหลักกฎหมายไทย และมาตรฐานปฏิบัติสากลในเรื่องว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากรมาโดยตลอด ทั้งนี้ บริษัท ฟิลลิป มอร์ริสฯ ได้จัดทำ เอกสารลำดับเหตุการณ์แจกให้ผู้สื่อข่าว โดยตำนานคดีนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 2546–2550 บริษัท ฟิลลิป มอร์ริสฯ เริ่มนำเข้าบุหรี่จากประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ซึ่งทางกรมศุลกากรก็ยอมรับราคานำเข้าบุหรี่ตามบริษัท ฟิลลิป มอร์ริสฯ สำแดงตามปกติ จนกระทั่งมาถึงเดือนสิงหาคม 2549 ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตรวจสอบราคานำเข้าของผู้นำเข้าบุหรี่ของบริษัท กรมศุลกากรเริ่มปฏิเสธราคานำเข้าบุหรี่ของบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส และกำหนดให้วางหลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมทั้งสรุปสำนวนคดีส่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับเป็น “คดีพิเศษ” – กุมภาพันธ์ 2551 ฟิลิปปินส์ยื่นคำร้องต่อองค์การการค้าโลก เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาระงับข้อพิพาททางการค้ากับประเทศไทยอย่างเป็นทางการ -พฤษภาคม 2551 กรมศุลกากรสรุปผลการตรวจสอบย้อนหลัง และพบว่าไม่มีการกระทำผิด จึงสั่งคืนเงินประกันให้บริษัทมูลค่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐ -เมษายน 2552 ดีเอสไอได้ทำหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส -กันยายน 2552 ดีเอสไอเห็นชอบให้ดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริสฯ และพนักงานของบริษัท 14 คน ซึ่งรวมถึงการออกหมายจับผู้บริหารที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ 4 คน -พฤศจิกายน 2553 คณะกรรมการไต่สวนข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก ออกคำวินิจฉัยเห็นสอดคล้องกับคำร้องของฟิลิปปินส์ โดยคณะไต่สวนฯ วินิจฉัยว่าประเทศไทยไม่มีมูลเหตุที่จะปฏิเสธราคาสำแดงของบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) -มกราคม 2554 อัยการมีคำสั่งเห็นแย้งกับความเห็นของดีเอสไอในข้อกล่าวหาต่อฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) และมีคำสั่งไม่ฟ้อง ส่งผลให้มีการยกเลิกหมายจับผู้บริหาร -มีนาคม-เมษายน 2554 หัวข้อการสำแดงราคานำเข้า (ซีไอเอฟ) ถูกนำมาเป็นประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ -วันที่ 17 มิถุนายน 2554 คณะอุทธรณ์ขององค์การการค้าโลกยืนตามคำวินิจฉัยคณะกรรมการไต่สวนข้อพิพาทองค์การการค้าโลก ซึ่งตัดสินว่าประเทศไทยไม่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก -วันที่ 17 สิงหาคม 2554 นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เห็นแย้งต่อคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการ ส่งผลให้คดีของฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ต้องถูกส่งกลับมาที่สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาด -กันยายน 2555 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ กรมศุลกากร มีคำสั่งรับราคาสำแดงนำเข้าจำนวน 118 รายการจากฟิลิปปินส์ ซึ่งครอบคลุมช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2549 ถึง 2550 การพิจารณารับราคาสำแดงในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้เป็นช่วงเวลาของธุรกรรมที่ปรากฏในข้อกล่าวหาหลักของดีเอสไอ ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย และองค์การการค้าโลก ซึ่งทุกหน่วยงานได้ยืนยันว่าฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ได้ปฏิบัติสอดคล้องตามกฎหมาย -ตุลาคม 2556 นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด มีคำสั่งให้ดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริสฯ และพนักงานที่เกี่ยวข้อง -มกราคม 2557 – มกราคม 2559 กำหนดรับทราบข้อกล่าวหาเพื่อยื่นฟ้อง ซึ่งเดิมกำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2557 ได้ถูกเลื่อนออกไปหลายครั้ง โดยสำนักงานอัยการสูงสุดเอง -วันที่ 18 มกราคม 2559 สำนักงานอัยการสูงสุด ตัดสินใจยื่นฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด และอดีตพนักงานและพนักงานปัจจุบัน http://thaipublica.org/2016/01/philip-morris-18-1-2559/
ระดับประเทศเลยนะครับ จี ทู จี เหมือนว่า คนไทย เป็นตัวอะไรซักอย่าง คิดจะสร้างภาพ ปั่นหัวเล่น เมื่อไหร่ก็ย่อมได้
ระวังนะครับ จับเอาเรื่องนี้มาเล่น จะวกเข้าฝ่ายตัวเอง ดูผังเวลา ในคดีนี้ แล้วดูการดำรงตำแหน่งขอวนายกรัฐมนตรีประกอบด้วย แล้วมาระดมความคิดครับ