ฝ่ายสหรัฐเดือดร้อนเมื่อรัสเซียตั้งฐานทัพในซีเรีย ความขัดแย้งเข้าสู่บทใหม่อีกครั้ง

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย por, 12 ต.ค. 2015

  1. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    หมายเหตุเป็นบทความที่วิเคราะห์ได้ดี เลยอยากเอามาฝากทุกท่าน โดยเฉพาะที่บอกว่า
    "ประธานาธิบดีอัสซาดเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรม การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อมิถุนายนปีที่แล้วประธานาธิบดีอัสซาดชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ได้รับ 10.3 ล้านเสียง หรือเท่ากับร้อยละ 88.7 ของผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้นราว 11.6 ล้านเสียง จากประชาชนผู้มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 15.8 ล้านคน ผู้สมัครที่ได้คะแนนอันดับ 2 กับ 3 ได้คะแนนเพียง 5 แสนกับ 3.7 แสนคะแนนเท่านั้น
    แต่ฝ่ายสหรัฐเห็นว่าสังคมอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ ผู้ออกไปใช้สิทธิ์อยู่ในความหวาดกลัว ผลการเลือกตั้งจึงไม่แสดงเจตจำนงที่แท้จริง เป็นเพียงการแสดงอย่างหนึ่งเท่านั้น" ในมุมมองของผมคือกลัวไม่กลัว คือเรื่องของคนซีเรียครับ เมกาไม่ควรคิดแทนคนอื่น



    (ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 6915 วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2558, http://www.ryt9.com/s/tpd/2271246)

    สงครามกลางเมืองซีเรียเข้าสู่บทใหม่อีกครั้งเมื่อรัฐบาลปูตินตั้งฐานทัพในซีเรียพร้อมกำลังรบ เป็นการสนับสนุนรัฐบาลอัสซาดโดยตรง
    อันที่จริงชาติมหาอำนาจและประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศแทรกแซงซีเรียตั้งแต่ความขัดแย้งภายในเริ่มก่อตัว จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองที่ไม่รู้ว่าจะยุติเมื่อไหร่ เพราะรัฐบาลอัสซาด ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรียต่างได้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติ ทั้งยังมีการปรากฏตัวของผู้ก่อการร้ายสารพัดกลุ่ม
    รัฐบาลปูตินสนับสนุนรัฐบาลอัสซาดมาตั้งแต่ต้น บัดนี้ยกระดับการช่วยเหลืออีกขั้นด้วยการตั้งฐานทัพในซีเรียพร้อมกำลังรบ ถือเป็นการ “ขยับนโยบาย” ครั้งสำคัญ มีผลต่อหลายประเทศไม่เฉพาะต่อซีเรียเท่านั้น ยังรวมถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง การเผชิญหน้าของ 2 ค่าย (ขั้ว) คือ ค่ายสหรัฐกับค่ายรัสเซีย-จีน ระเบียบโลกกำลังขยับอีกครั้ง
    (หมายเหตุ: บทความนี้เป็นตอนที่ 1 ของบทความชุด “การเผชิญหน้าระหว่างค่ายสหรัฐกับค่ายรัสเซีย-จีน”)
    2-3 เดือนที่ผ่านมามีความพยายามเจรจาเพื่อแก้ยุติสงครามกลางเมืองซีเรียอีกรอบ ซึ่งอาจนำสู่การหยุดยิงชั่วคราวหรือทางออกอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ รัฐบาลโอบามายืนยันต้องไม่มีระบอบอัสซาดอีกต่อไป ในขณะที่รัฐบาลปูติน จีน อิหร่านพร้อมใจประกาศอยู่เคียงข้างรัฐบาลซีเรีย
    จากเหตุการณ์ข้างต้น รัสเซียเริ่มส่งเจ้าหน้าที่จำนวนมากพร้อมด้วยกำลังทหาร มาตั้งฐานทัพที่ Latakia ในซีเรีย ตามมาด้วยปฏิบัติการโจมตี
    รัสเซียตั้งฐานทัพในซีเรีย จุดยืนที่ไม่อาจบรรจบ :
    กลางเดือนกันยายน 2015 ประธานาธิบดีปูตินกล่าวในงานประชุมสุดยอดCollective Security Treaty Organization (CSTO) เรียกร้องให้ชาติตะวันตกระงับความต้องการส่วนตัว พฤติกรรม 2 มาตรฐานในการสู้กับก่อการร้าย ไม่ล้มรัฐบาลคนอื่นด้วยการยืมมือองค์กรก่อการร้าย “ณ ขณะนี้เราจำต้องร่วมมือกับรัฐบาลซีเรีย กองกำลังเคิร์ดและพวกที่เรียกว่าฝ่ายต่อต้านสายกลาง (moderate opposition) เหล่าประเทศในภูมิภาค เพื่อสู้กับภัยคุกคามต่อซีเรียและต่อต้านลัทธิก่อการร้าย” ถ้าร่วมมือกันจะแก้ปัญหาได้ พร้อมกับกล่าวว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาดพร้อมจะแก้ปัญหาด้วยวิถีทางการเมือง ให้ฝ่ายต่อต้านมีส่วนบริหารประเทศ ย้ำจะให้ความช่วยเหลือซีเรีย “ทั้งด้านการทหาร ความช่วยเหลือทางเทคนิคที่จำเป็น”
    แต่รัฐบาลโอบามากับพันธมิตรยืนยันจุดยืนเดิมคือประธานาธิบดีอัสซาดต้องก้าวลงจากอำนาจ
    30 กันยายน เครื่องบินรัสเซียที่ประจำการในซีเรียเริ่มเปิดฉากโจมตี
    ในมุมมองรัสเซียเห็นว่าประธานาธิบดีอัสซาดเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรม การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อมิถุนายนปีที่แล้วประธานาธิบดีอัสซาดชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ได้รับ 10.3 ล้านเสียง หรือเท่ากับร้อยละ 88.7 ของผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้นราว 11.6 ล้านเสียง จากประชาชนผู้มีสิทธิ์ทั้งสิ้น 15.8 ล้านคน ผู้สมัครที่ได้คะแนนอันดับ 2 กับ 3 ได้คะแนนเพียง 5 แสนกับ 3.7 แสนคะแนนเท่านั้น
    แต่ฝ่ายสหรัฐเห็นว่าสังคมอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ ผู้ออกไปใช้สิทธิ์อยู่ในความหวาดกลัว ผลการเลือกตั้งจึงไม่แสดงเจตจำนงที่แท้จริง เป็นเพียงการแสดงอย่างหนึ่งเท่านั้น นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐบอกว่าการเลือกตั้งเป็น “ฉากการเมืองที่น่าเยาะเย้ย”
    รัฐบาลของประเทศที่ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม 11 ประเทศที่เรียกตัวว่า Friends of Syria อันประกอบด้วย อังกฤษ อียิปต์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี จอร์แดน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเรมิเรตส์ และสหรัฐ ประเทศเหล่านี้เป็นผู้ให้การสนับสนุนแนวร่วมต่อต้านรัฐบาลซีเรีย แสดงจุดยืนว่าประธานาธิบดีอัสซาดกับบริวารจะต้องไม่มีส่วนในรัฐบาลเฉพาะกาล(Transitional Governing Body หรือTGB)
    เป็นจุดยืนที่สอดคล้องกับจุดยืนของรัฐบาลโอบามาที่ประกาศเมื่อสิงหาคม 2011 เรียกร้องให้ประธานาธิบดีอัสซาดก้าวลงจากอำนาจ ถ่ายโอนอำนาจแก่ประชาชนโดยสันติ เปลี่ยนจากระบอบอำนาจนิยมเป็นประชาธิปไตย
    ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา “จุดยืนที่แตกต่างกัน” เป็น “เงื่อนตาย” ทำให้ความขัดแย้งไม่อาจยุติได้ด้วยการเจรจา ต่างชาติเข้าแทรกแซงตลอดเวลา สงครามกลางเมืองดำเนินไปเรื่อยๆ
    กระทรวงกลาโหมรัสเซียเริ่มต้นด้วยการรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายนเครื่องบินเริ่มเปิดฉากโจมตีผู้ก่อการร้าย IS/ISIL/ISIS เฉพาะจุดในประเทศซีเรีย ภายใต้การร้องขอจากประธานาธิบดีอัสซาด และประธานาธิบดีปูตินกล่าวแล้วว่าจะไม่ส่งทหารเข้ารบทางภาคพื้นดิน
    สหรัฐกับพันธมิตรนั่งไม่ติด :
    ด้วยการตั้งฐานทัพ ออกปฏิบัติโจมตีเป้าหมายต่างๆ สหรัฐกับพันธมิตรแสดงปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงต่อเนื่อง ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะ 2 สาเหตุ
    ประการแรก การส่งทหารเข้ารบภาคพื้นดิน
    แนวคิดเรื่องการส่งทหารเข้ารบภาคพื้นดินมีมานานแล้ว แต่ติดขัดที่รัฐบาลโอบามาปฏิเสธส่งทหารเข้าร่วมรบภาคพื้นดิน
    แนวคิดนี้เริ่มจริงจังอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว (2014) เคียงคู่กับการจัดตั้งเขตห้ามบินตามแนวพรมแดนตุรกี-ซีเรีย และจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา
    3 กันยายน รัฐสภาตุรกีเปิดสภาเป็นกรณีพิเศษลงมติอนุญาตให้รัฐบาลส่งทหารไปต่างแดน ไปอิรักกับซีเรียและให้ทหารต่างชาติมาประจำการในประเทศ
    การที่รัฐสภาตุรกีอนุมัติส่งกองทัพไปอิรักกับซีเรีย พร้อมกับให้ทหารต่างชาติมาตั้งอยู่ในประเทศ เป็นหลักฐานสำคัญสนับสนุนเรื่องการส่งกองทัพทำการรบภาคพื้นดินในซีเรีย
    นอกจากมติของรัฐสภาตุรกี รัฐบาลพันธมิตรสหรัฐออกมากล่าวแสดงท่าทีสนับสนุน
    เดวิด คาเมรอน (David Cameron) นายกฯ อังกฤษกล่าวเมื่อวันที่ 9 กันยายนเสนอว่าจำต้องใช้กำลังทหารเข้ากวาดล้างอย่างเด็ดขาด พร้อมกับเห็นว่าอังกฤษจะขอมีส่วนร่วมด้วย “เราต้องเป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรนานาชาติที่จะพูดว่าจำต้องมีแนวทางในประเด็นซีเรีย อันหมายถึงมีรัฐบาลที่สามารถดูแลประชาชนของตน” “อัสซาดจะต้องไป ISIL ก็ต้องไปด้วย เพื่อให้เป็นไปตามนั้น ... จะต้องใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธหนัก (hard military force)” เพื่อปราบ ISและล้มรัฐบาลอัสซาด พร้อมกับชี้ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาผู้อพยพซีเรียจำนวนมากที่กำลังทะลักเข้ายุโรป
    สิ่งที่นายกฯ คาเมรอนพูดถึงคือการส่งกองทัพเข้าประเทศซีเรีย กวาดล้าง IS และล้มรัฐบาลอัสซาด
    ในเวลาไล่เลี่ยงกัน 12 กันยายน นายเมฟเลิต ชาวูโชลู (Mevlut Cavusoglu) รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศตุรกีอธิบายแนวทางส่งทหารเข้ารบทางภาคพื้นดินว่า การโจมตี ISIS ทางอากาศได้ไม่ค่อยได้ผล ตุรกีจึงคิดปฏิบัติการภาคพื้นดิน รัฐมนตรีชาวูโชลูพูดอย่างน่าคิดว่าการขาดรัฐบาลที่มีเสถียรภาพเป็นต้นเหตุการณ์ปรากฏตัวของ ISIS ดังนั้น แผนปราบ ISIS จึงต้องเป็นแผนที่ครอบคลุม ต้องจัดการภัยคุกคามทั้งหมด ทำให้ภูมิภาคมีเสถียรภาพ ส่วนหนึ่งของแผนคือการล้มระบอบเปลี่ยนแปลงรัฐบาลกวาดล้างผู้ก่อการร้ายในภูมิภาคและสิ่งอื่นๆ อันเป็นเหตุสร้างความไร้เสถียรภาพ พร้อมกับส่งเสริมประชาธิปไตย แต่หากจะเริ่มปฏิบัติการภาคพื้นดินจะต้องได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรก่อน
    หากตุรกีจะส่งทหารเข้ารบทางภาคพื้นดิน เชื่อว่าจะต้องมีกำลังทางอากาศสนับสนุน รัฐบาลตุรกีคงหวังให้สหรัฐรับบทบาทตรงนี้ ปัจจุบันสหรัฐได้ใช้ฐานทัพอากาศที่ Incirlik ในตุรกีอยู่แล้ว รวมทั้งฐานทัพอื่นๆ ในภูมิภาค
    ข้อสรุปคือ เป็นไปได้ว่าตุรกีร่วมกับหลายประเทศ เช่น อังกฤษจะส่งทหารเข้าซีเรียรบทางภาคพื้นดิน ส่วนสหรัฐจะให้ความช่วยเหลือเรื่องกำลังรบทางอากาศ ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ เพื่อกวาดล้าง IS และล้มระบอบอัสซาด
    เป็นแผน เป็นข้อตกลงล่าสุดของสหรัฐกับพันธมิตร
    การที่รัสเซียตั้งฐานทัพพร้อมกำลังรบในซีเรียจึงเป็นการสกัดทางหากสหรัฐกับพวกคิดจะส่งทหารโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด
    ประการที่ 2 การสร้างเขตปลอดภัย/เขตห้ามบิน

    แนวคิดสร้างเขตปลอดภัย/เขตห้ามบินมีมานานแล้วตั้งแต่ความขัดแย้งกลายเป็นสงครามกลางเมือง ด้วยเหตุผลเป้าหมายแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา ข้อมูลที่ปรากฏเมื่อไม่นานนี้คือรัฐบาลโอบามาปรึกษากับรัฐบาลแอร์โดกานเรื่องจัดตั้งเขตห้ามบินเพื่อสร้างเขตปลอดภัยในซีเรียติดพรมแดนตอนใต้ของตุรกีเพื่อถ่ายโอนผู้อพยพซีเรีย 2 ล้านคนไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ฝ่ายรัสเซียไม่เห็นด้วยกับเพราะเท่ากับละเมิดอธิปไตยซีเรีย
    ถ้าวิเคราะห์เรื่องการส่งทหารกวาดล้าง IS ล้มระบอบอัสซาดร่วมกับการสร้างเขตปลอดภัยจะเห็นว่าขัดแย้งกัน เพราะหากสามารถกวาดล้าง IS ล้มอัสซาดก็ไม่จำต้องมีเขตปลอดภัยอีก
    เป็นไปได้ว่าการสร้างเขตปลอดภัยอาจซ่อนแผนพันธมิตรสหรัฐส่งทหารพร้อมอาวุธหนักเข้าซีเรีย เพราะจำต้องมีทหารเข้าดูแลรักษาความสงบในพื้นที่ เป็นข้ออ้างให้ทหารของพันธมิตรสหรัฐส่งอาวุธหนักเข้าประจำในเขตดังกล่าว จากนั้นเมื่อทุกอย่างพร้อม สถานการณ์สุกงอมจึงส่งทหารรุกเข้าซีเรีย
    วิเคราะห์องค์รวมและสรุป :
    ดังที่นำเสนอตั้งแต่ต้นว่าเมื่อ 2-3 เดือนก่อนมีความพยายามยุติสงครามกลางเมืองซีเรีย แต่การเจรจาไม่ประสบผลด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏชัด (อาจเป็นเรื่องการคงอยู่ของระบอบอัสซาด) ผลที่ตามมาคือรัสเซียเข้ามาตั้งฐานทัพในซีเรียและเปิดฉากโจมตี
    เห็นได้ชัดว่าเป้าหมายของรัสเซียคือ “สกัด” แผนการของฝ่ายตรงข้าม ที่น่าเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการล้มระบอบอัสซาด
    ไม่ว่าแผนของรัฐบาลโอบามากับพันธมิตรคืออะไร พวกเขาเดือดเนื้อร้อนใจกับการโต้กลับของรัสเซีย สงครามกลางเมืองซีเรียเข้าสู่บทใหม่ การเผชิญหน้าระหว่างค่ายสหรัฐกับรัสเซียเข้มข้นกว่าเดิม
    -----------------------
     
  2. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  3. 5555

    5555 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    18 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,450

    ที่เมืองไทยโกงเลือกตั้ง จนโดนยุบพรรคซ้ำซาก ไม่เห็นมันพูดไรซักคำ


     
  4. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    เห็นคลิปนี้ ยังอึ้ง ทึ่ง เสียว เลย
    ดูแล้ว บอกตัวเองเลยว่าถ้าเจอไม่ต้องวิ่ง ไม่รอดแน่ 555555

     
    bookmarks และ por ถูกใจ.
  5. Novice

    Novice อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    6 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,238
    ถ้าสหรัฐเห็นว่าการเลือกตั้งในซีเรียมันสกปรกสมควรต้องโค่นผู้นำ ประเทศแรกที่สหรัฐควรต้องโค่นคือซาอุฯ นะคับ
     
    bookmarks และ มิติใหม่ ถูกใจ.
  6. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    1444310172-image-o.jpg
    กลุ่มอิควานมุสลิม (ภราดรภาพมุสลิม) ในซีเรีย ได้ประกาศญิฮาด (สงครามศักดิ์สิทธิ์) กับรัสเซีย และระบุว่า “เป็นหน้าที่ภาคบังคับทางศาสนา”
    สำนักข่าวอัลอะลัมของอิหร่านรายงานอ้างเว็บไซต์ข่าว raialyoum ที่รายงานเมื่อจันทร์ที่ 5 ตุลาคม ว่า อุมัร มุเชาเวะห หัวหน้าสำนักงานกลุ่มอิควานมุสลิม ซีเรีย แถลงว่า กลุ่มอิควานมุสลิม อ้างว่า รัสเซียได้มายึดซีเรียแล้ว ดังนั้น การญิฮาดกับรัสเซีย เป็นหน้าที่ภาคบังคับทางศาสนา
    ในแถลงการณ์ของกลุ่มอิควานมุสลิม ระบุว่า การญิฮาดเพื่อสกัดภัยอันตรายจากศัตรู ถือเป็นหน้าที่ภาคบังคับทางศาสนา ผู้ใดมีความสามารถก็จงจับอาวุธทำการต่อสู้ และกลุ่มอิควานมุสลิมจะนำเอาศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่มาใช้ในการทำญิฮาดกับรัสเซีย
    บรรดาผู้เชี่ยวชาญตอกย้ำว่า กลุ่มอิควานมุสลิมไม่กล้าที่จะประกาศสงครามกับอิสราเอล หรือ อเมริกาในสมัยที่เข้ายึดครองอิรัก หรือตะวันตก ที่ได้ทำการบุกโจมตีทิ้งระเบิดในซีเรีย เนื่องจากกลุ่มอิควานมุสลิมเป็นพรรคพวกเดียวกันกับกลุ่มดังกล่าว
    ขณะเดียวกัน บรรดาอุลามาอ์ของซาอุดิอาระเบีย 52 คน ออกแถลงรณรงค์ให้เยาวชนทั้งหลายเข้าสู่สนามเพื่อทำสงครามกับรัสเซีย
    http://www.abnewstoday.com/5619
    1444145309-image-o.jpg
    นักการศาสนาซาอุดิอาระเบีย 52 คนเรียกร้องให้ชาวซาอุฯ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหน ที่มีความพร้อมให้ออกไปต่อสู้กับกองทัพรัสเซีย ที่เข้ามาปกป้องบัชชาร์ อัซซาด ประธานาธิบดีซีเรีย
    เว็บไซต์ อัลอะราบิยา ของซาอุฯ รายงานว่า นักการศาสนา (อุลามาอ์) และนักวิชาการมหาวิทลัยของซาอุดิอาระเบีย 52 คนเรียกร้องให้ชาวซาอุฯ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหน ที่มีความพร้อมให้ออกไปต่อสู้กับกองทัพรัสเซีย ที่เข้ามาปกป้องบัชชาร์ อัซซาด ประธานาธิบดีซีเรีย
    กลุ่มบุคคลที่ออกมาร่วมแถลงการณ์ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของสมาพันธ์อุลามาอ์โลกอิสลาม ที่มี ยูโซฟ กัรฏอวี เป็นประธานสมาพันธ์
    แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า เป้าหมายของของรัสเซียที่บุกโจมตีกลุ่มก่อการร้ายไอซิส นั้นเพื่อปกป้องรัฐบาล บัชชาร์ อัซซาด
    นักวิชาการเหล่านั้นยังได้เรียกร้องให้กลุ่มฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรียให้สามัคคีกันและอย่าทิ้งแผ่นดินซีเรีย
    อุลามาอ์ซาอุดิอาระเบีย ได้เรียกร้องเชิญชวน “กลุ่มบุคคลที่มีความสามารถ และประสบการณ์ในทุกด้าน” ให้คงอยู่ต่อไปในซีเรีย อย่าได้หนีเป็นอันขาด เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมใน “ในการบูรณะเสริมสร้างและปลดปล่อย” ซีเรีย
    นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียล้มเหลวในการขวางรัสเซีย ไมให้โจมตีไอซิส จึงตัดสินใจบีบบังคับอุลามาอ์แห่งราชสำนักเชิญชวนและส่งเสริมให้บรรดาเยาวชนเข้าไปสู่สนามรบช่วยเหลือกลุ่มก่อการร้ายในซีเรีย
    Source : http://www.alarabiya.net
    นี่หรือคือศาสนาแห่งสันติ กลุ่มวาฮิบีกำลังทำลายศาสนาตัวเอง
    เพื่อประโยชน์ของอเมริกา อิลลูมินาติ ยิว อย่างนี้เรียกว่าอะไรดี
     
    bookmarks likes this.
  7. redfrog53

    redfrog53 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,466
    WAR and LIFE
    อังกฤษนาโต้เข้ายุโรป
    The arrival of the NATO Response Force in the Baltic countries in the framework of the exercise ARRCADE FUSION 2015 (AF 15), October 2015

    12107289_1645081862397777_8064592564385224945_n.jpg
    10996069_1645081879064442_8117141904094446117_n.jpg
    10996069_1645081879064442_8117141904094446117_n.jpg
    12115505_1645081889064441_8766086555370726332_n.jpg
    12087145_1645081975731099_436615610056609582_o.jpg
    12079277_1645081992397764_7409017106623381741_n.jpg
    12091179_1645082062397757_1411940052130475480_o.jpg
     
  8. น้ำหวาน

    น้ำหวาน สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    79
    ผ้าโพกหัวแบบนี้ทหารซิกส์ใช่ไหมครับ ถ้าใช่สนุกสนานแน่ เพราะซิกส์ถืออิสลามเป็นศัตรูโดยตรงเจอที่ไหนไม่ฆ่าก็ห้ามคบ
     
  9. ทองเค

    ทองเค อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    25 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,875
    จากที่ผ่านมา ทั้งอ่านบทความ ต่างๆ และความเห็น หลายๆท่าน ในสภากาแฟ
    ผมเข้าใจได้ว่า
    1. ฝ่ายพันธมิตร ตล่อมให้เกิด สงคราม(หรืออยากก่อ อยู่แล้ว) โดยบีบให้รัสเซีย กระโดดขึ้นเวทีด้วย
    โดยใช้ ซีเรีย เป็นเครื่องมือ (ไฟไหม้ข้างบ้าน ยังไงก็ต้องออกมาช่วยดับ เพราะมันจะลาม)
    จะได้มีข้ออ้าง ในการช่วยกันรุมถล่ม รัสเซีย
    2. จะเอาซีเรียไปทำไม ข้ออ้าง ชี้โบ๊ ชีเบ้ ประชาธิปไตยบ้าง อะไรบ้าง หรือ เอาไปเป็นฐานตั้งจรวด ยิงรัสเซีย
    แล้วมีหรือ ที่ฝ่าย รัสเซีย จะอ่านไม่ออก
    3. กรณี อิรัก ก็ทีหนึ่งแล้ว ที่อ้างว่า ถังน้ำมัน หรือโรงกลั่น ของซาอุ. โดนระเบิด เผาทำลาย
    เลยเป็นข้ออ้าง ให้สหรัฐ ถล่ม
    มันเหมือนกับ เอาสีแดงไปทา หลังเพื่อน เพื่อเป็นข้ออ้างว่า นาย ก. เป็นคนทำร้าย เพื่อเป็นข้ออ้างในการรุมกระทืบ นาย ก.
    4. เราจะสังเกตุ เห็น จากข่าวต่างๆ ที่สหรัฐ มักจะไปยุ่งวุ่นวาย เฉพาะ เจาะจง รอบๆ ใกล้ๆ ข้าง เคียง จีน กับ รัสเซีย
    5.เมื่อใด ที่มีเหตุการณ์ ซึ่งเป็นผลกระทบ ค่าเงิน สกุล USD ไม่ว่าจะเป็น เงินหยวนจีน หรือ EURO เอง เราจะเห็น หรือ ได้ข่าวแปลกๆ เสมอ
    6.ซาอุดิอาระเบีย.... เยเมน โอมาน อิรัก ซีเรีย อิหร่าน ตุรกี

    อืม... แปลกๆ ผมดูในแผนที่ ไม่มีชื่อเกาหลีเหนือ เลย
     
    por และ conservative ถูกใจ.

Share This Page