"เอ็กซ์คลูซีฟ" (2): เปิดหมด ค่าใช้จ่าย 11 กสทช. ประจำปี 2556 เบ็ดเสร็จ 117.55 ล้าน เผยค่าตอบแทนต่อปี 36.31 ล. บินตปท. 61.57 ล. ค่ารับรอง 7.52 ล. "เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ" ครองแชมป์เบิกจ่ายอันดับหนึ่งเพียบ -สตง.ไล่บี้สอบหลายรายการ ในรายงานประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สิน ของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ประจำปี 2556 ที่จัดทำโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีการระบุผลการตรวจสอบค่าใช้จ่ายของ กรรมการ กสทช. จำนวน 11 ราย พบว่ามีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินรวม 117.55 ล้านบาท แยกเป็น ค่าตอบแทนต่อปีจำนวน 36.31 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเดินทางในประเทศจำนวน 0.94 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเดินทางต่างประเทศจำนวน 61.57 ล้านบาท ค่าเช่ารถประจำตำแหน่งจำนวน 11.21 ล้านบาท และค่ารับรองจำนวน 7.52 ล้านบาท ที่มาข้อมูล - ค่าใช้จ่ายเดินทางต่างประเทศและค่าเช่ารถประจำตำแหน่ง จากกลุ่มงานยุทธศาสตร์และการงบประมาณ - ค่าตอบแทนต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเดินทางในประเทศและค่ารับรอง จากกลุ่มงานการคลัง สตง.ยังระบุด้วยว่า จากข้อมูลที่ปรากฏจะเห็นว่ามีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศจำนวนสูงมากถึง 61.57 ล้านบาท เมื่อตรวจสอบข้อมูลพบว่า จำนวนวันที่ กสทช. รวม 11 ท่าน ใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศมีถึง 632 วัน เป็นจำนวนถึง 105 ครั้ง เมื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเดินทางแต่ละครั้งพบว่ามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.59 ล้านบาทต่อครั้ง โดย กสทช. ที่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (ประธาน กทค.) จำนวนเงิน 13.10 ล้านบาท เดินทางจำนวน 18 ครั้ง โดยมีจำนวนวันที่ใช้เดินทางไปต่างประเทศทั้งสิ้น 122 วัน และพลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ จำนวนเงิน 12.03 ล้านบาท เดินทางจำนวน 20 ครั้ง โดยมีจำนวนวันที่ใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศทั้งสิ้น 129 วัน ส่วน กสทช. ที่มีการเดินทางไปต่างประเทศสูงสุด 20 ครั้ง ระยะเวลา 129 วัน คือ พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ เป็นท่านเดียวกับปี 2555 ที่มีการเดินทางไปต่างประเทศถึง 17 ครั้ง ขณะที่ กสทช. ที่เดินทางไปต่างประเทศน้อยที่สุด ได้แก่ นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ซึ่งเดินทางไปต่างประเทศเพียง 2 ครั้ง จำนวนเงินที่ใช้ในการเดินทางเพียง 0.63 ล้านบาท และจำนวนวันที่ใช้ในการเดินทางไปต่างประเทศเพียง 8 วัน เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของ กสทช. ที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุดกับ กสทช.ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุดจะพบว่า กสทช. ที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุดมีค่าใช้จ่ายมากกว่าถึง 12.47 ล้านบาท หรือคิดเป็น 20.79 เท่าของค่าใช้จ่ายต่ำสุด สตง. ยังระบุด้วยว่า จากข้อมูลค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของ กสทช. จำนวน 61.57 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าเบี้ยเลี้ยง จำนวน 1.41 ล้านบาท ค่าที่พัก จำนวน 14.28 ล้านบาท ค่าพาหนะ จำนวน 14.64 ล้านบาท และเป็นค่าใช้จ่ายอื่น จำนวน 31.24 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายอื่นนั้นเป็นค่ารับรองและค่าใช้จ่ายที่สำนักงาน กสทช. ไม่สามารถแจกแจงรายละเอียดได้ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศจำนวน 61.57 ล้านบาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศที่แสดงในงบการเงิน จำนวน 250.26 ล้านบาท ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของ กสทช. จึงเทียบเท่าร้อยละ 24.60 ของค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศรวมทั้งสำนักงาน กสทช. หรือเกือบ 1 ใน 4 ของค่าใช้จ่ายดังกล่าว ส่วนค่าเช่ารถประจำตำแหน่ง จำนวน 11.21 ล้านบาท ผู้ที่มีอัตราค่าเช่ารถสูงสุด 2 อันดับแรก คือ พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี เป็นจำนวนเงิน 1.19 ล้านบาท พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ และพลเอก สุกิจ ขมะสุนทร ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันคือ 1.10 ล้านบาทต่อปี ค่าเช่ารถสำหรับปี 2556 ของ กสทช. ทั้ง 11 ท่าน (อ่านประกอบ : เปิดค่าเช่ารถหรูประจำตำแหน่งกสทช. 11.2 ล. "ธเรศ"ปธ.ใช้BENZ 1.1 ล.) ส่วนค่ารับรอง จำนวน 7.52 ล้านบาท ผู้ที่จ่ายค่ารับรองสูงสุด 2 อันดับแรก คือ พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ และพลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ เป็นจำนวน 1.83 ล้านบาท และ 1.30 ล้านบาท ตามลำดับ กสทช. ที่มีค่ารับรองน้อยที่สุดได้แก่ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ซึ่งมีค่ารับรองจำนวน 0.07 ล้านบาทเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบค่ารับรองของ กสทช. ที่มีค่ารับรองสูงสุดกับ กสทช. ที่มีค่ารับรองต่ำสุดจะพบว่า กสทช. ที่มีค่ารับรองสูงสุดมีค่ารับรองมากกว่าถึง 1.76 ล้านบาท หรือคิดเป็น 26.14 เท่าของ กสทช. ที่มีค่ารับรองต่ำสุด แต่ค่ารับรองข้างต้นยังไม่รวมค่ารับรองซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากข้อมูลค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศที่สำนักงาน กสทช. ได้ส่งให้ตรวจสอบไม่ได้แยกแสดงค่ารับรองจากค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 31.24 ล้านบาท และตามระเบียบคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการจ่ายเงินค่ารับรอง พ.ศ. 2555 ข้อ 5 ระบุว่า “ค่ารับรองของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ และเลขาธิการ ให้จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริงภายในวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการค่ารับรองของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ และเลขาธิการ” เมื่อตรวจสอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ซึ่งมีการตั้งงบประมาณค่ารับรองของ กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ไว้ที่ 13.65 ล้านบาท ได้รวมเลขาธิการ กสทช. จำนวน 3.00 ล้านบาท คงเหลืองบประมาณค่ารับรองของ กสทช. จำนวน 10.65 ล้านบาท โดยไม่สามารถระบุวงเงินงบประมาณค่ารับรองของ กสทช. แต่ละท่านได้เนื่องจากเป็นการตั้งงบประมาณรวม เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายของ กสทช. จำนวนทั้งสิ้น 117.55 ล้านบาท จะพบว่า กสทช. ที่มีค่าใช้จ่ายรวมสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ และพลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ ซึ่งมีการเบิกจ่ายเป็นจำนวนเงิน 19.33 ล้านบาท และ 17.70 ล้านบาท ตามลำดับ รวม 2 ท่าน เป็นจำนวนเงิน 37.03 ล้านบาท เทียบเท่าร้อยละ 31.50 ของค่าใช้จ่ายของ กสทช. ทั้งหมด 11 ท่าน นอกจากค่าใช้จ่ายเฉพาะ กสทช. แล้ว กสทช. แต่ละท่านยังมีกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. เพื่อช่วยดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ให้ซึ่งประกอบด้วยที่ปรึกษาประจำ กสทช. เลขานุการประจำ กสทช. ผู้ช่วยเลขานุการประจำ กสทช. ผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. และพนักงานขับรถยนต์ประจำ กสทช. ซึ่งในปี 2556 มีค่าใช้จ่ายของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. จำนวนทั้งสิ้น 118.32 ล้านบาท ที่มาข้อมูล - เงินเดือนต่อเดือน ค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) และค่ารักษาพยาบาล จากกลุ่มงานทรัพยากรบุคคล - ค่าเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายเดินทางในประเทศ จาก กลุ่มงานการคลัง ขณะที่ เงินเดือนของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. จำนวน 102.56 ล้านบาทต่อปี หรือ 8.55 ล้านบาทต่อเดือน เป็นเงินเดือนของผู้ที่ปฏิบัติงานให้ กสทช. จำนวนทั้งสิ้น 110 คน ประกอบด้วย ที่ปรึกษาประจำ กสทช. 31 คน เลขานุการประจำ กสทช. 10 คน ผู้ช่วยเลขานุการประจำ กสทช. 20 คน ผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. 40 คน และพนักงานขับรถยนต์ประจำ กสทช. 9 คน โดยมีเงินเดือนอยู่ในช่วงระหว่าง 14,000 – 120,000 บาทต่อเดือน หรือเฉลี่ยคนละ 77,695.45 บาทต่อเดือน สำหรับที่ปรึกษาประจำ กสทช. จำนวน 31 ท่าน พบว่านายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เป็น กสทช. เพียงท่านเดียวที่ไม่มีที่ปรึกษาประจำ กสทช. ซึ่งเมื่อพิจารณาจากระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ว่าด้วยการจ้างที่ปรึกษา ผู้ปฏิบัติงาน เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มิได้มีการกำหนดให้ที่ปรึกษาประจำ กสทช. ต้องลงเวลาปฏิบัติงาน จึงถูกตีความว่าที่ปรึกษา กสทช. ไม่ต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา มีเพียงแต่การกำหนดว่าต้องอุทิศเวลาและปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับค่าตอบแทนและตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องระบุว่าที่ปรึกษาประจำ กสทช. ไม่มีการบันทึกเวลาทำงานประจำวันจึงไม่สามารถระบุได้ว่าที่ปรึกษาประจำ กสทช. เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งคราวหรือเป็นประจำ แต่เมื่อพิจารณาค่าตอบแทนที่ได้รับจากสำนักงาน กสทช. พบการจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 120,000 บาทต่อเดือน (ยกเว้นที่ปรึกษา กสทช. ประเสริฐฯ ที่มีค่าตอบแทนเดือนละ 100,000 บาท) ค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) จำนวน 12.66 ล้านบาท เป็นค่าตอบแทนพิเศษสำหรับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. จำนวน 108 คน จากจำนวนผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. รวมทั้งสิ้น 110 คน โดยจ่ายในอัตรา 1.2 – 2.0 เท่าของเงินเดือน หรือเป็นจำนวนเงินในช่วง 18,000.00 – 201,600.00 บาท โดยผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) สูงสุด 2 อันดับแรก คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำพลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำพันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ เป็นจำนวนเงิน 1.62 ล้านบาท และ 1.44 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) จำนวน 12.66 ล้านบาท ได้รวมโบนัสของที่ปรึกษา กสทช. จำนวน 4.85 ล้านบาท ในอัตราเฉลี่ย 1.20 – 1.68 เท่าของเงินเดือน ซึ่ง สตง. ยังมีความเห็นที่แตกต่างกับสำนักงาน กสทช. ว่าการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) อาจขัดหรือแย้งกับระเบียบคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนประจำปี พ.ศ. 2550 ซึ่งได้รายงานไว้ในรายงานประเมินผลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินสำหรับปี 2555 เช่นกัน รายละเอียดค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำ จำนวน 12.66 ล้านบาท ค่าเบี้ยประชุม จำนวน 1.07 ล้านบาท เป็นค่าเบี้ยประชุมของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. ที่ได้รวมที่ปรึกษาประจำ กสทช. จำนวน 2 ท่าน คือ คุณต่อพงศ์ เสลานนท์ และพลเอก ธงชัย เกื้อสกุล ที่มีค่าเบี้ยประชุมในฐานะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะจำนวน 0.48 ล้านบาท สำหรับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำ กสทช. ที่ได้รับค่าเบี้ยประชุมจากการเป็นคณะอนุกรรมการและคณะทำงานให้ กสทช. สูงสุด 2 อันดับ คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำพลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานประจำนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ เป็นจำนวนเงิน 0.26 ล้านบาท และ 0.25 ล้านบาท ตามลำดับ อ่านต่อ:http://www.isranews.org/investigati...m/34946-ืnews_34946.html#.VIRVhPtNwN0.twitter แดรกอย่างหรู อยู่อย่างดี ฟรีตลอดรายการ... เหี้ยกเอ๊ย...
เงินมันได้มาง่าย แถมไม่มีกฎหมายให้นำเงินส่งคลัง เห็นเงินเยอะ ก็ใช้กันเพลิน คิดว่าเป็นเงินของตัวเอง เป็นบริษัทของตัวเองไปซะแล้ว องค์กรนี้ไม่ทำเหียกอะไรเลยจริงๆ ไปต่างประเทศ 129 วัน ตรวจสอบหน่อยเถอะ มันไม่ต้องทำงานหรือไง เที่ยวอย่างเดียวเลยหรือ
ไม่ไหวจะเคลียร์ รอบๆ เขาเรื่องการสื่อสารล้ำหน้าเราไปมากแล้ว ของเรายังติดๆ ดับๆ อยู่เลย ดูงานต่างประเทศ ไปต้องไปไกลหรอก แค่ลาว มาเลย์ สิงคโปร์สู้เขาได้ไหม
ห๊ะๆๆๆ... ลาวเมื่อสี่ห้าปีที่แล้ว อยู่หมู่บ้านกลางป่า มีจานดาวเทียมตามบ้านหลังคามุงจากแทบทุกหลัง ดูทีวีไทยชัดเป๊ะกว่าที่บ้านได้ทุกช่อง... ส่วนโทรศัพท์บ้าน ทานโทษขอรับ... เค้าใช้แบบไร้สายขอรับ... ซื้อซิมใส่เครื่องโทรฯบ้านแบบมือถือ... ใช้ได้เลย... ของไทยยังลากสายขยุกขยุยเป็นรังนกอีแร้งตามเสาไฟ ลากผ่านสะพานลอยให้ชาวบ้านเค้าเดินสะดุดหัวทิ่มคอหักตายห่านกันอยู่เรย... ไอเยสแม่ม 9พันพ่องพันแม่ม...