ผมอ่านบทความposttoday แหม่น่าเสียดายสมัยบิ๊กบังถ้าเอาระบบเลืิอกตั้งเยอรมันมาใช้ใช้แทน ระบบ สส เขต 400 คน กับสัดส่วน 80คนถ้าเอาเยอรมันมาใช้ คะแนนเลือกตั้ง พรรคแม้ว มาร์คก็ใกล้เคียงกันแค่หลักหน่วยถ้าเอามาใช้ได้ ผมว่ามันคงจบไปแล้ว ไม่ต้องมาให้พรรคที่ชนะแบบ กินรวบใช้อํานาจแบบตามอําเภอใจ ได้ใจแบบนี้ ใครได้ ใครเสีย ระบบเลือกตั้งเยอรมัน 29 ธันวาคม 2557 เวลา 10:27 น. โดย...เลอลักษณ์ จันทร์เทพ เป็นที่แน่นอนแล้วว่าคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ทุบโต๊ะ รูปแบบการเลือกตั้งครั้งต่อไป ว่าใช้รูปแบบของประเทศเยอรมนี หรือ “ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม” (Mixed-Member Proportional : MMP) แนวคิดดังกล่าวเป็นไปตามที่ “ปริญญา เทวานฤมิตรกุล” อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ เป็นผู้นำเสนอต่อคณะ กมธ.ยกร่างฯปริญญา ได้เริ่มต้นอธิบายว่า “ระบบเลือกตั้งในโลกนี้ มี 2 ระบบ คือ ระบบเลือกตั้งเสียงข้างมาก (Majority System) และระบบเลือกตั้งสัดส่วน (Proportional Representation) “ทั้งสองระบบมีข้อดีคนละแบบ จึงมี 30 ประเทศ ที่เอามาผสมกัน โดยมีการผสมกัน 2 แบบ แบบแรกคือระบบคู่ขนาน หรือ Parallel System คือทั้งสองระบบจะเลือกแยกกันเด็ดขาดไม่เกี่ยวข้องกันเลย แค่คู่ขนานกันเหมือนเส้นขนาน ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบนี้มาตลอดในการเลือกตั้ง 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2544 ส่วนระบบผสมแบบที่ 2 เป็นการเอาคะแนนสัดส่วนคือคะแนนเลือกพรรคมากำหนดจำนวน สส.ทั้งสภา ซึ่งเรียกว่า Mixed-Member Proportional เรียกย่อๆ ว่า MMP หรือระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ที่เราเรียกกันว่า ระบบเลือกตั้งแบบเยอรมันนั่นเอง ปริญญา อธิบายว่า โดยปัจจุบันนี้มี 9 ประเทศ ที่ใช้แนวทางนี้ ได้แก่ เยอรมนี, แอลเบเนีย, เลโซโท, โบลิเวีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เวเนซุเอลา, อิตาลี และฮังการี ระบบที่คณะ กมธ.ยกร่างฯ มีมติจะใช้นั้นก็คือระบบนี้”.“ความแตกต่างของระบบแบบสัดส่วนผสมกับระบบคู่ขนานที่เราเคยใช้มีแค่จุดเดียวคือ ระบบคู่ขนานคะแนนสัดส่วนจะใช้ในการกำหนดจำนวน สส.สัดส่วนเท่านั้น แต่ระบบสัดส่วนผสมจะใช้คะแนนสัดส่วนกำหนดจำนวน สส.ทั้งสภาของแต่ละพรรค พรรคใดได้คะแนนสัดส่วนเท่าไหร่ ก็จะได้ สส.ทั้งสภาตามสัดส่วนคะแนนนั้น” ปริญญายกตัวอย่างจากจำนวน สส.ในการเลือกตั้งปี 2554 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งมี สส. 500 คน แบ่งเขตเลือกตั้ง 375 คน และ สส. สัดส่วนบัญชีรายชื่อ 125 คน สมมติว่า พรรค ก.ได้คะแนนแบบสัดส่วน 20% ถ้าเป็นระบบคู่ขนาน พรรค ก.จะได้ สส.แบบสัดส่วน 20% ของจำนวน สส. สัดส่วนที่มีคือ 125 คน ซึ่งเท่ากับ 25 คน และสมมติว่าพรรค ก.ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตได้ สส.มาแล้ว 60 คน พรรค ก.ก็จะได้ สส.รวมกัน 85 คน แต่ถ้าเป็นระบบเยอรมัน พรรค ก.จะได้ สส. 20% ของ สส.ทั้งหมดที่มี คือ 500 คน 20% ของ 500 ก็คือ 100 พรรค ก.จึงได้ สส.100 คน จากนั้นก็มาดูว่าพรรค ก.ได้ สส.แบบแบ่งเขตไปแล้วกี่คน ขาดอยู่เท่าใด ก็เอาผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อมาเติมให้จนครบ พรรค ก.ได้ สส.แบบแบ่งเขตไปแล้ว60 คน ก็แปลว่ายังขาดอยู่อีก 40 คน และนั่นคือจำนวน สส.แบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อที่พรรค ก.จะได้ คือ 40 คนปริญญา ระบุต่อไปว่า “ข้อดีของระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม คือเป็นรูปแบบการเลือกตั้งที่ต้องการให้สภาสะท้อนเจตนารมณ์ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง คือแต่ละพรรคจะมี สส.ในสภาตรงกับความเป็นจริงที่ประชาชนเลือก โดยที่ สส.แบ่งเขตไม่ได้หายไปไหน เสียงของประชาชนจะไม่สูญเปล่า ส่งผลให้พรรคขนาดเล็กและขนาดกลางมีโอกาสได้รับเลือกตั้งมากขึ้น ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีความเข้มแข็งตามความเป็นจริง และฝ่ายค้านก็จะมีความเข้มแข็งตามความเป็นจริง การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้านในสภาก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น”สำหรับปัญหาของระบบเลือกตั้งแบบเดิมของไทยนั้น หากยกตัวอย่างการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อปี 2554 แบบแบ่งเขตเลือกตั้งหรือเสียงข้างมากธรรมดาจำนวน 375 คน พรรคเพื่อไทยได้ไป 205 คน เท่ากับ 54% ซึ่งถ้ารวมคะแนนแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของผู้สมัครพรรคเพื่อไทยทุกคนทั้งสอบได้และสอบตก คะแนนได้เพียงแค่ 44% ยิ่งถ้าคิดรวมกับบัตรเสียและงดออกเสียงด้วยแล้ว พรรคเพื่อไทยได้คะแนนแบบแบ่งเขตแค่ 41% เท่านั้น แต่ได้ สส.ถึง 54% “จากตัวเลขนี้เราจะเห็นถึงข้อเสียว่า ระบบเลือกตั้งเดิมนั้นไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง เพราะผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดคือผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง โดยไม่สนใจคะแนนที่ไม่ได้รับเลือกตั้งเลย ทั้งที่คะแนนไม่ได้รับการเลือกตั้งอาจจะมากกว่าคะแนนที่ได้รับการเลือกตั้งก็ได้ แต่ข้อดีคือเลือกง่ายเท่านั้น ซึ่งผลที่จะตามมาทีหลังคือพรรคที่ใหญ่อยู่แล้วจะใหญ่ขึ้น และพรรคเล็กก็จะเล็กลง จนหายไปในที่สุด สุดท้ายจะนำไปสู่การเกิดระบบ 2 พรรคการเมือง เหมือนกับที่อังกฤษและอเมริกา” ปริญญา ชี้ว่า เพราะการใช้ระบบดังกล่าวเป็นหลัก ประเทศไทยตอนนี้เราเริ่มจะเหลือเพียงแค่ 2 พรรคแล้ว คือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ “ระบบแบบนี้มีผลเสีย คือพรรคใหญ่สุดที่ได้เป็นรัฐบาลจะเข้มแข็งเกินความเป็นจริง ส่วนฝ่ายค้านอ่อนแอเกินความเป็นจริง เพราะพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กจะได้ สส.น้อยกว่าความเป็นจริง ถ้าระบบตรวจสอบถ่วงดุลไม่ดีจะก่อให้เกิดปัญหาได้ และระบบ 2 พรรคนี้จะส่งผลให้การเมืองถูกบังคับว่าต้องเลือกข้าง เกิดการแตกหัก ซึ่งต่างจากการที่สภามีหลายพรรคจะเกิดการประนีประนอมมากกว่า ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังแตกแยก มีความขัดแย้งสูง ต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยมีความหลากหลาย ไม่ได้มีเพียงแค่ 2 ฝ่ายนะครับ แต่ที่ผ่านมาระบบเลือกตั้งของเราพาไปสู่ความแตกแยกมากขึ้น เพราะประชาชนถูกบังคับทางอ้อมให้ประชาชนต้องเลือกระหว่าง 2 พรรคใหญ่ เพื่อไม่ให้คะแนนเสียงของตนเองตกน้ำหายไป”อย่างไรก็ตาม ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม หรือแบบเยอรมันนี้ จะส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่หรือพรรคเพื่อไทยออกมาตั้งคำถามว่า การเลือกใช้ระบบดังกล่าวนี้มีเป้าหมายเพื่อลดจำนวน สส.ของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ปริญญาตอบว่า “พรรคใหญ่ที่สุดจะมี สส.ลดลงอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมาพรรคใหญ่ที่สุดได้ที่นั่ง สส.เกินความเป็นจริงมาโดยตลอด แต่ผมอยากเรียนว่า ประวัติศาสตร์ทางการเมืองในโลกไม่เคยมีพรรคการเมืองใดจะเป็นรัฐบาลตลอดไป หรือเป็นฝ่ายค้านตลอดไปนะครับ ระบบเลือกตั้งที่เราต้องการจึงน่าจะเป็นระบบที่ไม่ว่าพรรคใดจะเป็นรัฐบาล หรือพรรคใดจะเป็นพรรคฝ่ายค้าน พรรคทุกพรรคจะได้ สส.ตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้งที่เป็นธรรมที่สุด”.... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1CP9uTP เลือกตั้งสูตรเยอรมัน ลดอำนาจพรรคใหญ่ 29 ธันวาคม 2557 เวลา 10:12 น. โดย...ทีมข่าวการเมืองโพสต์ทูเดย์ การทำงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญได้เดินทางมาถึงจุดสำคัญอีกครั้ง ภายหลังได้เสร็จสิ้นกระบวนการวางโครงสร้างระบอบการเมือง นักการเมือง สถาบันการเมืองไปสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้จะเป็นหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะ กมธ.จะต้องนำไปสกัดออกมาเป็นรายมาตรา และกลับมาเสนอต่อคณะ กมธ.ยกร่างฯ ในวันที่ 12 ม.ค.ต่อไปประเด็นสำคัญของโครงสร้างใหม่ที่คณะ กมธ.ยกร่างฯ ได้ดำเนินการมีอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ 1.การเปลี่ยนแปลงที่มาของนายกรัฐมนตรี 2.การเพิ่มอำนาจให้กับวุฒิสภาและการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการได้มาซึ่ง สว.ใหม่ และ 3.การนำระบบเลือกตั้ง สส.แบบ “สัดส่วนผสม” มาใช้กับประเทศไทย แบ่งเป็น สส.ระบบแบ่งเขต 250 คน และ สส.ระบบสัดส่วน 220 คนจากประเด็นสำคัญทั้งสามข้อดังกล่าว ต้องยอมรับว่าในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้ง สส. เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กับการให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็น สส. เพราะการเลือกตั้งด้วยวิธีดังกล่าวกำลังทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการเมืองไทยในอนาคตจะกลับไปสู่ความไร้เสถียรภาพแบบในอดีตหรือไม่สำหรับระบบเลือกตั้ง สส.แบบสัดส่วนผสม คือการคิดตามคะแนนจริงที่ประชาชนลงให้กับแต่ละพรรคและนำไปคำนวณกับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อให้ได้จำนวน สส.ตามความต้องการของประชาชนยกตัวอย่างในกรณีของการเลือกตั้งตามระบบใหม่ เช่น หากพรรคการเมืองใดได้คะแนนของระบบสัดส่วน 10% เท่ากับจะได้จำนวน สส. 45 คน โดยถ้าพรรคนี้ได้ สส.แบ่งเขตไม่ถึง 45 คน ก็จะนำจำนวน สส.ระบบสัดส่วนมาเติมให้ได้ครบ 45 คน แต่ในทางกลับกันถ้าพรรคนี้ได้ สส.ระบบแบ่งเขตเกิน 45 คนแล้ว ก็จะไม่มีการเพิ่ม สส.จากระบบสัดส่วนให้อีกกรณีตัวอย่างข้างต้นของการใช้ระบบเลือกตั้งแบบใหม่ เห็นได้ว่าต่างจากเดิมพอสมควร เพราะในอดีตถ้าพรรคการเมืองใด สส.ทั้งสองระบบ ทั้งแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อเท่าไหร่ก็ให้มารวมกันเพื่อรับรองให้เป็น สส.ในสภา แต่ระบบใหม่ไม่ใช่อย่างนั้นคณะ กมธ.ยกร่างฯ ให้เหตุผลของการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านเอกสารรายงานหัวข้อ “หลักการใหม่เกี่ยวกับระบบการเมือง นักการเมืองและสถาบันการเมือง” ว่า “ระบบเลือกตั้งแบบนี้ทําให้คะแนนเสียงของฝ่ายข้างน้อยไม่เสียไป แต่มี สส.เข้าไปตามสัดส่วนของบัญชีรายชื่อ ที่สําคัญคือทําให้ไม่เกิด winner takes all หรือกินรวบ แบบเดิม”เมื่อมองทั้งในตัวระบบเลือกตั้งแบบใหม่และเจตนารมณ์ของคณะ กมธ.ยกร่างฯ แล้ว นับว่ามีเป้าหมายที่ต้องการให้มีสส.จากพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กใส่สูทเดินเข้าสภามากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี เนื่องจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มภาคประชาสังคมมีพื้นที่ในสภาผู้แทนราษฎรแต่ถึงกระนั้น ต้องไม่ลืมว่า แม้ สส.ในสภาที่ผ่านมาจะไม่ได้มีลักษณะของการเป็นพรรคการเมืองสองขั้วระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ก็จริง เพราะมีพรรคการเมืองอื่นๆ อีก 9 พรรค ที่สามารถเข้าสภาได้ แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่าพรรคการเมืองฝ่ายเสียงข้างมากในสภากลับมีเสียงที่ห่างจากพรรคการเมืองอื่นค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดการใช้เสียงข้างมากแบบเบ็ดเสร็จหากมองถึงเหตุผลในทางการเมืองของการผลักดันระบบเลือกตั้งเยอรมัน ย่อมหนีไม่พ้นการพยายามลดทอนไม่ให้พรรคเพื่อไทยมีความเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาด ทว่าในอีกมุมหนึ่งอาจต้องแลกมาด้วยปัญหาเสถียรภาพของรัฐบาลในอนาคตต้องยอมรับว่า กระบวนการเลือกตั้งลักษณะนี้เอื้อให้เกิดพรรคเบี้ยหัวแตกเป็นจำนวนมาก พรรคการเมืองใหญ่จำเป็นต้องดึงพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็กมาร่วมรัฐบาลเพื่อเป็นเสียงสนับสนุนในสภาเวลาผ่านกฎหมาย ซึ่งแน่นอนว่าพรรคการเมืองขนาดย่อมเหล่านี้ ย่อมมีอำนาจต่อรองมากจนส่งผลให้เสถียรภาพรัฐบาลไม่มีความมั่นคงเมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเป็นไปได้ที่การเมืองจะเข้าสู่เดิม การพัฒนาประเทศในบางเรื่องที่ต้องอาศัยความมั่นคงและความต่อเนื่องก็ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นรูปธรรมได้ที่สุดแล้วระหว่างการได้ระบบเลือกตั้งใหม่ต้องแลกกับเสถียรภาพการเมือง จะคุ้มหรือไม่.... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1xrw8go http://www.krobkruakao.com/ข่าวการเมือง/110953/รายงานพิเศษ-ทิศทางรัฐธรรมนูญฉบับที่-20.html
ถ้า ปชปจริงใจตั้งแต่ตอนนั้นคิดว่าจะเอาชนะไอ้แม้วถ้า ปชปเอาระบบเลือกตั้งเยอรมันมาใช้ไม่กลับไปใช้ระบบเลือกตั้งแบบ ปี 40 ไม่ว่าสัดส่วนจะเป็นแบบไหน คงไม่มีม๊อบหลักร้อยของพันธมิตรมาต้านการแก้ รธนหรอก แต่แก้ให้ใช้ระบบปี 40 ปชปต้องการจะเอื้อใคร กันแน่ครับสงสัย มันน่าเสียดายมาก เสียดายอย่างมหาศาลที่สมัย คมชไม่เอาระบบเลือกตั้งเยอรมันมาใช้ !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
ผมแค้นไรแค้นตามข้อเท็จจริงถ้า ปชปแก้ รธนใช้ระบบเยอรมันตอน ปชปเป็นรัฐบาลผมนี่จะรัก ปชปเลยแต่ปชปแก้กลับไปใช้ระบบปี 40จะไม่แค้นได้ไงเตือนไม่ฟัง ไม่ฟังก็สมควรแพ้ไอ้แม้ว ตอนเลือกตั้ง 54 เพราะตัวทําตัวเอง
ใช่หรา ? ไม่ใช่พ่อน้องแพร๊ดแพ้เลือกตั้ง ปชป. ที่สงขลามะปี 48 มะใช่หรา พี่ว่าใช่นาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา
ระบบการเลือกตั้งแบบไหนมันก็ไม่สะท้อนสิ่งที่ประชาชนอยากให้เป็นหรอก แก้แบบนี้ แค่เหมือนต้องการเพิ่มคะแนนให้สูสี ลดการผูกขาดหรือพรรคการเมืองใหญ่โตเกินไป ประชาชนอยากได้ผู้แทนที่ดีมีคุณภาพและนำพาประเทศไปสู่ทิศทางที่ดีที่ถูกต้องและอื่นๆอีกมากมายในด้านที่ดี แต่จะเลือกตั้งแบบไหน อังกฤษ อเมริกาฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมัน...... ก็คงได้ผู้แทนหน้าเดิมๆ แบบ เฉลิม สุนัย ไอ้ตู่ ได้เต้น ไอ้กี้ ไอ้พร้อมซอง ยิ่งลักษณ์..... ไม่ตอบโจทย์ เสียเวลาเหมือนเดิม สุดท้ายก็ไม่พ้นวังวนเดิม ยึดอำนาจรัฐประหารแก้รัฐธรรมนูญ อยากให้กลับไปแก้ปัญหาเรื่องการศึกษาแบบจริงจัง การสร้างค่านิยมที่ถูกต้องดีงามแบบเข้มข้น เช่น ขยัน อดทนอดกลั้น เป็นผู้ฟังที่ดี รับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น บลา บลา บลา อยากให้ผู้เลือกมีคุณภาพ เพราะเป็นการแก้ที่ถูกต้องที่สุด
การเตือน ไม่ใช่เตือนกันที่หน้าเว็บเป็นสิงห์คีย์บอร์ด ทำอะไรให้มันเป็นจริงเป็นจัง ถามว่าที่ว่าเรื่อง เอาระบบเยอรมันมาใช้ ตอนที่มีการเลือกตั้งที่ผ่านมามีใครพูดถึงเรื่องนี้บ้าง ถ้ามี เธอเอาหลักฐานที่ เคยมีคนพูดไว้มาดู
ผมไ่มชอบแบบเยอรมัน ประเทศเราไม่ได้กว้างแบบเยอรมัน แถมพวกบัญชีรายชื่อไม่ได้ไปแข่งไรกะชาวบ้าน บางพรรคก็ใส่พวกโง่ๆเสื้อแดง นายทุนเข้าบัญชีรายชื่อเหมือนเดิม แม้จะอ้างว่าเขตเลือกตั้งมีสิทธิเข้าสภามากกว่า ผมว่าความผิดพลาด ปชป. มันมาจากกพรรคร่วมที่สาระแนอยากจะแก้ ขอเสนอให้สภาเลือก นายกและ ครม. เอาจากบัญชีพรรคนึง ส่งมา 50 คน ให้ในสภาโหวตกันเอาบัญชีใหน ถ้าในพรรคมี สส. ถึง ห้ามเอาคะแนนพรรคอื่นมาร่วม เว้นพวกสส.ไม่สังกัดพรรค เข้ามาใส่ได้
ผมไม่ต้องไปตามอ่านบทความจากใหนใหน รู้เพียงแค่ว่า “ประชาชนเป็นฉันใด ย่อมได้ผู้ปกครองฉันนั้น” หากประชาชนส่วนใหญ่ เป็นเหมือน phat 21 ป่านนี้ เรามี นายก ชื่อ “สนธิ” ไปตั้งนานแล้ว……
ไม่ต้องไปถึงเรื่องเลือกตั้งหรอกครับ นิสัยความรับผิดชอบในการงานของคนเยอรมัน คนไทยทำได้ครึ่งหนึ่งอย่างเขาไหม ?
เข้ามาดูไอ้หน้าขนอ่อนพยายามจะมีสาระ .... แม้ว่าจะได้กลิ่นน้ำเหลวไอ้แป๊ะ..ตุ ตุ แต่ที่จั่วบรรทัดแรกว่า "ผมอ่านบทความposttoday" เล่นเอาตะลึงไปพักใหญ่เลยนะว่า เดี๋ยวนี้ phat รู้จักคิดเองอะไรเองโดยไม่ต้องอมน้ำเหลวข้นคลั่กของไอ้แป๊ะมาพ่นต่อ....เป็นแล้วหรือ เอา เอา เอา ... แม้ว่าคงยังรู้สึกว่าดักดานย่ำอยู่กับเรื่องอะไรก็โจมตี ปชป. กปปส. ทหาร ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามแม้วเหมือนเดิม แต่ก็เป็นพัฒนาการที่เริ่มจะพ้นปากรูน้ำเหลวไอ้แป๊ะขึ้นมา นิดดดดดดดนึง
พ่อเจ้าแพรด เค้าเป็นตำรวจนะครับ คุณแม่เป็นนักบริหารทรัพย์กรมนุษย์ แต่คงไม่ค่อยมีเวลาอบรมลูกเท่าที่ควร