วันนี้(10 มิ.ย.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน พ.อ.พีรวัชฌ์ แสงทอง โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เปิดเผยว่าพล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองทัพบกมอบหมายให้กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าดำเนินการฟ้องร้องเอ็นจีโอจำนวน 3 คน ที่กล่าวหาว่ากองทัพทารุณกรรมต่อผู้ที่ถูกควบคุมตัว เพื่อดำรงเกียรติของกองทัพ เนื่องจากกองทัพบกไม่เคยมีพฤติกรรมเช่นนั้น "ที่ผ่านมากองทัพบกและกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ปฏิบัติและดำเนินการทุกอย่างโดยคำนึงถึงกฎหมายทุกประการ และคำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนตามที่พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เน้นย้ำให้ดำเนินการตามหลักสากลทุกประการ และสามารถให้เข้าตรวจสอบได้"พ.อ.พีรวัชฌ์ กล่าว. http://www.thaipost.net/?q=ผบทบสั่งฟ้อง3เอ็นจีโอหาทหารทรมานผู้ต้องสงสัยก่อเหตุ3จวใต้ ..................................................................... "พรเพ็ญ"เผยโดนหมิ่นประมาทควบ พ.ร.บ.คอมพ์ ด้าน น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผย “ทีมข่าวอิศรา” ว่า เป็น 1 ใน 3 เอ็นจีโอที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี โดยสาเหตุมาจากการเผยเเพร่รายงานการซ้อมทรมานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้กองทัพไม่พอใจ และได้มอบอำนาจให้ กอ.รมน.ภาค 4 สน.แจ้งความดำเนินคดี โดยผู้ที่ถูกแจ้งความกล่าวโทษ นอกจากตนเองแล้ว ยังมี นายสมชาย หอมลออ นักสิทธิมนุษยชนชื่อดัง และ น.ส.อัญชนา หีมมินะ จากกลุ่มด้วยใจ ในฐานะผู้ที่ทำงานภาคประชาสังคมในพื้นที่ด้วย สำหรับข้อหาที่มีการแจ้งความ คือ ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) โดยเป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน สภ.เมืองยะลา ซึ่งขณะนี้พนักงานสอบสวนได้สอบปากคำพยานไปแล้ว 6 ปาก http://www.isranews.org/south-news/scoop/item/47602-honour.html ......................................................................
อันนี้เป็นรายงานที่ทำให้เกิดการฟ้องร้อง รายงานเปิดปากคำ 54 ผู้ร้องเรียนถูกทรมานชายแดนใต้ http://www.isranews.org/south-news/academic-arena/item/44715-report_44715.html ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากผู้ร้องเรียนและได้มีการตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ถูกกระทำทรมานฯ โดยมีผู้ร้องเรียนระหว่างปี 2547 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 54 ราย เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อมูลการร้องเรียนตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2558 บางปีก็ไม่มีการร้องเรียน โดยเฉพาะปีแรกๆ หลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยปีที่มีการร้องเรียนมากที่สุดเป็น 2 ปีหลัง คือ ปี 2557 กับปี 2558 มี 17 กรณี กับ 15 กรณี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพราะประชาชนได้รับการประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้สามารถเข้าถึงการร้องเรียนได้มากขึ้น วิธีกระทำการทรมาน ซึ่งเป็นข้อมูลจากคำบอกเล่าฝ่ายเดียวของผู้ร้องเรียนเช่นกัน ได้แก่ 1.การกระทำทรมานทางจิตใจ เช่น ข่มขู่ การซักถามโดยใช้เวลานาน การรบกวนการนอน ขังเดี่ยว เป็นต้น 2.การกระทำทรมานทางร่างกาย เช่น การทุบตีทำร้ายร่างกาย, การใช้น้ำเย็นหรือน้ำอุ่นหยดตรงจุดใดจุดหนึ่งของร่างกายอย่างต่อเนื่อง อาทิ หน้าผาก ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกกดดัน แต่ไม่มีร่องรอย, การทำให้สำลักหรือบีบคอ, การทำให้จมน้ำหรือจุ่มน้ำ, การให้อยู่ในอุณหภูมิสุดขั้ว, การบังคับให้กิน ดื่ม, การนำแผ่นร้อนมาจี้ที่เท้า หรือการใช้ไฟฟ้าช็อต, การทำให้ขาดอากาศ หรือแม้แต่ทำเสียงดัง หรือแม้แต่การล่วงละเมิดทางเพศ
บางเรื่องบางราว E ngo ก็ไม่ควรเข้าไปเสือกครับ ถ้ากระสันมากนัก ออกไปเดินนำหน้าเลย แล้วเมรึงจะรู้จักนรก
คำชี้แจงจาก กอ.รมน. ทางกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ขอชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจถึงความเป็นมา ในเรื่องดังกล่าวนี้ เมื่อ 8 ม.ค.59 น.ส.อัญชนา หีมมิน๊ะห์ ประธานกลุ่มด้วยใจได้ยื่นหนังสือให้ พล.อ. อักษราเกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยฯ และ พล.ท. วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผอ.รมน.ภาค 4 ที่ค่ายจุฬาภรณ์ จ.นราธิวาส เกี่ยวกับสถานการณ์การซ้อมทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแม่ทัพภาคที่ 4 ได้รับปากจะทำการตรวจสอบให้ข้อเท็จจริงอย่างเร่งด่วน ต่อมาวันที่ 10 ก.พ.59 กลุ่มเครือข่ายองค์กรที่จัดทำรายงาน ซึ่งประกอบด้วย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจ และองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี ได้ร่วมกันแถลงข่าวและเปิดตัวหนังสือ “รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี 2557– 2558” ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และต่อมาภายหลังได้มีการนำไปเผยแพร่ ผ่านสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง พ.อ.ปราโมทย์กล่าวต่อว่า ในส่วนการดำเนินการนั้นทางแม่ทัพภาคที่ 4 ได้สั่งการให้หน่วยที่เกี่ยวข้องเร่งรัดตรวจสอบข้อเท็จจริง ด้วยความโปร่งใส เพื่อนำมาสู่การลงโทษผู้กระทำความผิดและใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้เป็นที่ยอมรับ และสร้างความเชื่อมั่นโดยเร่งด่วนต่อไป รวมทั้งได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย โดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากรายงานดังกล่าว จำนวน 54 ราย พบว่าสามารถตรวจสอบ และระบุตัวบุคคลได้เพียง 18 ราย ซึ่งผลจากการตรวจหลักฐานที่หน่วยนำมาชี้แจง ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการควบคุมตัวไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อได้ว่ามีการซ้อมทรมานแต่อย่างใดทั้งนี้กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้เชิญน.ส.อัญชนา มาร่วมประชุมหารือ รวมทั้งได้ประสานขอข้อมูลบุคคลที่กล่าวอ้างกับผู้จัดทำรายงานอย่างต่อเนื่องหลายครั้งเพื่อร่วมกันตรวจสอบความจริงให้ปรากฏแต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคคล และองค์กรที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด พ.อ.ปราโมทย์ กล่าวว่า เหตุผลและความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายซึ่งทางกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้ใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการประสานความร่วมมือกับองค์กรที่จัดทำรายงานเพื่อร่วมกันตรวจสอบความจริงให้ปรากฏแต่ไม่ได้รับความร่วมมือแต่อย่างใด จึงถือเป็นการเจตนาจงใจปกปิดข้อมูลโดยใช้เหยื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำรายงาน ไม่ใช่การนำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อเยี่ยวยา และหาแนวทางแก้ไขตามที่กล่าวอ้าง และในขณะเดียวกันได้นำเอกสารดังกล่าวออกไปเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งอาจทำให้สังคมเข้าใจผิดส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงเกียรติภูมิ และความเชื่อมั่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากยังนี้มีบางประเด็นที่สำคัญเช่น “โดนให้เปลือยกายในห้องเย็นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทหารพรานหญิงและโดนทหารพรานหญิงเอาหน้าอกมาแนบที่ใบหน้า” ถือเป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และ ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของสตรีอย่างร้ายแรง "เพื่อธำรงและรักษาไว้ซึ่งการแก้ไขปัญหาตามแนวทางสันติวิธี จึงจำเป็นต้องอาศัยกลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อนำไปสู่การแสวงหาความจริงร่วมกันในชั้นศาลด้วยการเข้าร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานสอบสวน โดยเชื่อมั่นว่าหากพยานหลักฐานมีอยู่จริงผู้จัดทำรายงานต้องนำมาเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล แต่หากข้อมูลไม่มีอยู่จริงหรือมีเจตนาบิดเบือนผู้จัดทำรายงานก็สมควรได้รับโทษตามกฎหมายในฐานะที่เป็นผู้ละเมิดสิทธิ ทำลายเกียรติยศ ศักดิ์ศรีและสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าหน้าที่รัฐผู้ปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเทเสียสละและหน่วยงานของรัฐที่พยายามมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อลดเงื่อนไขหล่อเลี้ยงความรุนแรงพร้อมทั้งขอยืนยันว่ารัฐจะให้ความคุ้มครองทางกฎหมายต่อประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม แต่รัฐไม่สามารถเพิกเฉยหรือเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น หรือกระทำผิดกฎหมายได้ ดังนั้น การออกมาเรียกร้องของกลุ่ม LEMPARและ ฮิวแมนไรท์วอทช์ โดยขาดการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านจะสุ่มเสี่ยงต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้กฎหมู่ให้อยู่เหนือกฎหมายซึ่งจะเป็นบัญหาและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้"โฆษก กอ.รมน.ภาค4 สน. กล่าว http://www.naewna.com/politic/220182 ...................................................................................... ตามข่าวมีการกดดันให้เจ้าหน้าที่ถอนแจ้งความกับ NGO ทั้ง 3 คน คิดว่าก็แปลกดี เพราะหากข้อมูลมีความเป็นจริงการเข้าสู่กระบวนการศาลยุติธรรมน่าจะได้รับการเปิดเผยข้อเท็จจริงมากขึ้น
นึกถึงกัมพูชา กับจีนครับ ที่ออกกฎหมายตรวจสอบการเงิน NGO ได้ ปชช.จะได้รู้กันว่า คนไหนร่ำรวยเพราะอะไร ทั้งที่ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง
โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ชี้แจงประเด็นที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจ้งจับเอ็นจีโอสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อธำรงเกียรติของกองทัพ หลังมีการเปิดรายงานกล่าวหาทหารซ้อมผู้ต้องหาและผู้ต้องสงสัยในพื้นที่ พันเอก พีรวัชฌ์ แสงทอง โฆษก กอ.รมน. แถลงว่า ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะ รอง ผอ.รมน. ได้สั่งการให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ดำเนินการฟ้องร้องผู้ที่ทำงานในองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็นจีโอ ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3 คน ที่กล่าวหาว่าทหารทารุณกรรมผู้ต้องสงสัยและผู้ต้องหาคดีความมั่นคงที่ถูกจับกุมได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการธำรงเกียรติของกองทัพ เนื่องจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ยึดหลักกฎหมาย และนโยบายการแก้ปัญหายึดหลักสิทธิมนุษยชนตามที่ผู้บัญชาการทหารบกเน้นย้ำเสมอให้เป็นไปตามหลักสากล นอกจากนั้น ทั้งระหว่างการสอบสวนและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ที่ผ่านมากองทัพเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้าตรวจสอบได้ตลอดเวลา ฉะนั้นเมื่อมีการกล่าวหาโดยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน จึงต้องมีการแจ้งความดำเนินคดี ซึ่งขณะนี้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไป "พรเพ็ญ"เผยโดนหมิ่นประมาท-ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ ด้านนางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เป็น 1 ใน 3 เอ็นจีโอที่ถูกแจ้งความดำเนินคดี โดยสาเหตุมาจาการเผยเเพร่รายงานการซ้อมทรมานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้กองทัพไม่พอใจ และได้มอบอำนาจให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แจ้งความดำเนินคดี โดยผู้ที่ถูกแจ้งความกล่าวโทษ นอกจากตนเองแล้ว ยังมี นายสมชาย หอมละออ นักสิทธิมนุษยชนชื่อดัง และ นางสาวอัญชนา หีมมินะ ผู้ที่ทำงานภาคประชาสังคมในพื้นที่ด้วย สำหรับข้อหาที่มีการแจ้งความ คือ ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) โดยเป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา ซึ่งขณะนี้พนักงานสอบสวนได้สอบพยานไปแล้ว 6 ปาก หลังจากมีการแจ้งความดำเนินคดีกับเอ็นจีโอทั้ง 3 คน ปรากฏว่าองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่ทำงานในพื้นที่ชายแดนใต้ ได้พากันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ถอนแจ้งความ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าชี้แจงสาเหตุการฟ้องร้องดำเนินคดี 3 นักสิทธิมนุษยชนที่จัดทำรายงานสถานการณ์ซ้อมทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยืนยันมีข้อมูลบิดเบือนและทำให้เกิดความเสียหาย ขณะที่นักสิทธิมนุษยชนพร้อมพิสูจน์ตามกระบวนการกฎหมาย พันเอกปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา และฮิวแมนไรท์วอทช์ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐให้ความเป็นธรรม และเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเสมอภาคไม่เลือกปฏิบัติ แบบสองมาตรฐานรวมทั้งให้ถอนฟ้อง 3 นักสิทธิมนุษยชนกรณีการจัดทำรายงานซ้อมทรมาน กอ.รมน.ภาค 4 จึงต้องชี้แจงทำความเข้าใจว่า หลังกลุ่มด้วยใจมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานีได้จัดทำรายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง แม่ทัพภาคที่ 4 ได้สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใส่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษและปรับปรุงการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกทางหนึ่งด้วย แต่จากผลการตรวจสอบของคณะกรรมการพบว่า จากจำนวนผู้ให้ข้อมูล 54 ราย สามารถตรวจสอบ และระบุตัวบุคคลได้เพียง 18 ราย ไม่พบหลักฐานที่น่าเชื่อได้ว่ามีการซ้อมทรมานแต่อย่างใด ทั้งนี้กอ.รมน.ภาค 4 พยายามเชิญองค์กรต่างๆ มาให้ข้อมูลแต่ไม่ได้รับความร่วมมือในการร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริง จึงถือเป็นการเจตนาจงใจปกปิดข้อมูลโดยใช้เหยื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำรายงาน มิใช่การนำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อเยี่ยวยา และหาแนวทางแก้ไขตามที่กล่าวอ้าง และมีการนำข้อมูลไปเผยแพร่สื่อจนทำให้เกิดความเสียหาย เช่นกรณีให้เปลือยกายในห้องเย็นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทหารพรานหญิง และโดนทหารพรานหญิงเอาหน้าอกมาแนบที่ใบหน้าถือเป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของสตรีอย่างร้ายแรง กอ.รมน.ภาค 4 จึงต้องใช้กลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตามแนวทางสันติวิธีเพื่อนำไปสู่การแสวงหาความจริงร่วมกันในชั้นศาลด้วยการเข้าร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานสอบสวน โดยเชื่อมั่นว่าหากพยานหลักฐานมีอยู่จริงผู้จัดทำรายงานต้องนำมาเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล แต่หากข้อมูลไม่มีอยู่จริงหรือมีเจตนาบิดเบือนผู้จัดทำรายงานก็สมควรได้รับโทษตามกฎหมาย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม หนึ่งในผู้จัดทำรายงานและถูกฟ้องร้อง ยืนยันว่าการดำเนินการของมูลนิธิเป็นไปอย่างถูกต้องตามกระบวนการพิสูจน์จากผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจากคำสัมภาษณ์และหลักฐานบาดแผลที่ปรากฎอยู่บนร่างกายของผู้เสียหาย ที่เป็นหลักฐานเดียวที่สามารถยืนยันได้ เนื่องจากหลักฐานอื่นในพื้นที่ เช่น กล้องวงจรปิดไม่สามารถหาได้ เพราะเป็นสถานที่ลับที่ถูกจับกุมไป ซึ่งมูลนิธิได้รับการยินยอมจากตัวผู้เสียหายในการเผยแพร่ข้อมูล แต่เหตุที่ไม่ยินยอมส่งให้เจ้าหน้าที่ เนื่องมาจากทาง กอ.รมน.ต้องการชื่อและที่อยู่ของผู้เสียหายทั้ง 54 คน เพื่อเข้าไปดำเนินการตรวจสอบด้วยตัวเอง จึงขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนที่จะให้ได้ จึงเสนอให้หน่วยงานที่เป็นกลางมาตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัยของผู้เสียหาย อย่างไรก็ตามวันนี้นางสารพรเพ็ญ ได้รับเลือกจากสมาชิกให้เป็นประธานแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนด้วย