ประวัติศาสตร์บทหนึ่ง

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย กระต่ายในจันทร์, 28 ต.ค. 2016

  1. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    13095811_1533003727008646_2110155519457332066_n.jpg
    นี่คือประวัติศาสตร์ของ คณะราษฎร ที่ทำให้ "รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจและเป็นที่กราบไหว้ได้ดั่งเทวดา"
    ----------------

    นานๆทีจะได้มีเวลาว่างที่จะลงมาเขียนบทความยาวอีกครั้ง วันนี้ก็เลยขอกลับมาพูดถึงประวัติศาสตร์ช่วงที่"หายไป" จากการศึกษา หรือสมควรเรียกว่า "ไม่ถูกกล่าวถึง" น่าจะถูกต้องกว่า เพราะตั้งแต่การปฎิวัติการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยก็เข้าสู่ระบอบการปกครองโดยประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขมาโดยตลอดแต่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือที่บางคนเรียกว่า"ปฎิวัติสยามพ.ศ.2475"จนถึงการปกครองระบอบ"คณาธิปไตย"ภายใต้คณะราษฎรกลับไม่ถูกพูดถึงนัก(หลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า"คณาธิปไตย" คืออะไร )

    *** คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็น การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม ที่ประกอบด้วยคนกลุ่มเดียว (ไม่ใช่ระบบเผด็จการโดยคน ๆ เดียว) คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการปกครองประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการปกครองถูกผูกขาดโดยคนกลุ่มเดียว เช่น คณะปฏิวัติ เป็นต้น***

    ซึ่งนักวิชาการในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่ม "ลัทธิตาสว่าง"ผู้อยู่เบื้องหลังกลุ่ม"นิติราษฎร" และแนวร่วม "ครก.112" มักกล่าวแต่เพียงการได้มาซึ่งอำนาจของคณะราษฎร และชัยชนะต่อขบวนการของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช แต่กลับไม่ค่อยกล่าวถึง นโยบาย "แปลกๆ"และ"จุดจบ"ของคณะราษฎร เสียเท่าไร นั่นก็อาจจะเป็นเพราะ "เหยี่ยวที่ใข่ออกลูกเป็นกา" กลายเป็นความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ที่ยากจะลบเลือนไปนั้นเอง วันนี้ ผมจึงขอกลับมาเล่าสิ่งนี้ให้ผู้คนกลับมาสนใจกันครับ

    ...................

    จาก วาทะกรรมทางการเมืองในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะ"กลุ่มคนที่นิยมคณะราษฏร" มักพูดว่า "ดอกไม้ประชาธิปไตยไม่งอกออกจากกระบอกปืน" ดูเหมือนจะเป็นวาทะกรรมที่น่าสนใจและมีลักษณะย้อนแย้งกับประวัติศาสตร์เช่นกัน เพราะในทางกลับกันเราจะเห็นว่าถนนแห่งประชาธิปไตยเต็มไปด้วยการต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจไม่น้อย ในประวัติศาสตร์ไทยก็เช่นกัน ในช่วงของการปฎิวัติ พ.ศ.2475 การกระทำของคณะราษฎรซึ่งแย่งชิงอำนาจการปกครองสูงสุดไปจากสถาบันเบื้องสูงก็เช่นกัน ...

    เพราะวันนั้น สิ่งที่คณะราษฏรกระทำก็เต็มไปด้วย"ปืน,รถถังและการข่มขู่ด้วยสื่อ"

    หากจำได้นั้น ในเช้าตรู่ วันที่ 24 มิถนายน 2475 ประชาชน จะพบกับ ใบปลิวที่ถูกแจก และ ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่ระบุว่า

    “..ด้วยบัดนี้ คณะราษฎร ได้จับพระบรมวงษานุวงษ์ ไว้เปนประกันแล้ว ถ้าผู้ใดขัดขวางคณะราษฎร ผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษ และพระบรมวงษานุวงษ์จะต้องถูกทำร้าย..”
    และ การประกาศแถลงค์การฉบับที่๑ ที่ปลุกปั่นโจมตีสถาบันฯ และแย่งชิงอำนาจมาจากสถาบันเบื้องสูง โดยอ้างว่าตนคือผู้นำของประชาชนในเวลานั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น ถือเป็นการข่มขู่ ประชาชนเป็นอย่างยิ่งยวด จึงทำให้ประชาชนทั้งมวลชาติ ต่างไม่มีใครกล้าขยับเขยื่อน จนกระทั้งคณะราษฎรได้กลายเป็นคณะรัฐบาลและฝ่ายค้านในเวลาเดียวกัน และได้ร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่สนแม้แต่ข้อห่วงใยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่7ในเวลานั้น

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่7 ทรงเห็นว่ารัฐบาลไทยในสมัยนั้นมิได้ปฏิบัติถูกต้องตามทำนองคลองธรรมประชาธิปไตย อาศัยแต่พระราชกฤดาภินิหารเป็นเครื่องกำบังหน้าบริหารราชการประเทศ เพื่อประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องเท่านั้น จึงทรงสละราชสมบัติเสียดีกว่า ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ทรงไว้ว่า

    “ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใด คณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้ ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรทั่วไป ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯลฯ”

    เป็นผลให้ บ้านเมืองในยุคนั้นเข้าสู่ยุคซึ่งเผด็จการอย่างเบ็ตเสร็จโดยคณะราษฎร และการบริหารราชการแผ่นดินในเวลานั้นก็เต็มไปด้วยการโจมตี เสียดสี และไม่ให้เกียรติ สถาบันฯและมีการ"ทำลาย" หรือ"สูญหาย" ของ วัฒนธรรมและองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไปอย่างน่าฉงน เช่น การสูญหายของทรงฉลองพระองค์ครุยกรองทองคำแท้ ที่ห่อหุ้มพระต้นรูป ใน"ปราสาทพระเทพบิดร"อันเป็นศูนย์กลางความรู้ความศรัทธาในองค์มหาบูรพกษัตริย์ ซึ่งหายไปในภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 สละราชสมบัติ และความเสือมโทรมของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ( the Royal museum)อันเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่รัชกาลที่5ใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับชาติ จนบางส่วนถูกทำลายไป เช่น ส่วนของ พิพิธภัณฑ์สัตว์ เป็นต้น ระบุโดย หมอบุญส่ง เลขะกุล นักสัตววิทยาและนักพจญไพร ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ ธรรมชาตินานาสัตว์ เล่ม 2 หน้า 71 ว่า

    " พิพิธภัณฑ์สัตว์ที่วังหน้าย้ายไปที่ห้องกระจกในสวนสราญรมย์ ต่อมาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทหารต้องการใช้พื้นที่ สัตว์ทั้งหลายเลยถูกโยนจากห้องบริจาคกระจัดกระจายให้โรงเรียน โดยที่โรงเรียนก็ไม่พร้อม เลยกระจายหายไปหมด"
     
  2. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    ทั้งนี้ มีนักวิชาการบางฝ่าย เคยกล่าวว่า หนึ่งในสัตว์สต๊าฟนั้น คือ สิงโตที่คณะทูตฝรั่งเศสได้นำมาถวายรัชกาลที่ 4 ครั้นสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งสิงโตตัวเดียวกันนี้เคย ถูกประดับอยู่บริเวณทางขึ้นเขาไกรลาศ ในงานโสกันต์เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์(ร.5) พ.ศ. 2409 อีกด้วย

    อีกทั้งนโยบาย คณะราษฎร ที่มีเจตนา ปฎิวัติประวัติศาสตร์การปกครองของไทย และ"สร้างลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ" ขึ้น ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ไม่นานซึ่ง ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ ถูกสร้างขึ้นในลักษณะเทวนิยม เพื่อให้รัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรที่ร่างไว้แต่งเพียงฝ่ายเดียวนั้น ดูเป็นสิ่งที่มาจากสวรรต์และทรงพลังเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ เช่น มีขบวนแห่ พานรัฐธรรมนูญ ในวันชาติ 24 มิถุนายน ,มีการสร้างสัญลักษณ์ เช่น การสร้างประติมากรรมนางงามรัฐธรรมนูญ หรือ เทพีรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีลักษณ์เป็น ผู้หญิงแต่งกายคล้ายเทพธิดาชูพานรัฐธรรมนูญขึ้นเหนือหัว ซึ่งผลงานดังกล่าวถูกสร้างขึ้นจากภาพที่ชนะเลิศการประกวด ศีลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งต่อมาถูกใช้เป็นต้นแบบในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

    (***เอาจริงๆ เมื่อเห็น ภาพเทพีรัฐธรรมนูญ แล้วทำให้นึกถึง Cult to Reason (เทพีแห่งเหตุผล)ของฝรั่งเศส ในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส และ Liberty Enlightening the World (เทพีเสรีภาพ)ของฝรั่งเศสที่มอบไว้ให้สหรัฐอเมริกาเป็นอย่างยิ่ง***)

    ,มีการจัดประกวด"นางสาวสยาม" ซึ่งจัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ, มีการจำลองรัฐธรรมนูญอันเชิญในโต๊ะหมู่บูชาเพื่อให้ผู้คนสักการะบูชากราบไหว้ ดั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยดอกไม้ธูปเทียน และจัดเป็นพิธีการทางศาสนากลางท้องสนามหลวง และอันเชิญรัฐธรรมนูญฉบับจำลองไปอยู่ในศาลาจังหวัดทุกจังหวัดเพื่อเผยแพร่ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ เพื่อให้เห็นว่า ราษฏรควรปลืมปิติที่ได้รัฐธรรมนูญแทนเจ้า และด้วยอานิสงส์ของการสร้างภาพลักษณ์ ให้รัฐธรรมนูญมีความขลังค์ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีใครสนข้อกฎหมายภายในรัฐธรรมนูญฉบับแรก จึงทำให้ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจสูงสุดของคณะราษฏรตามรัฐธรรมนูญจึงถูกทำให้เชื่อว่ามีอำนาจดั่งเทวดาอีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้ ทำให้ประชาชนหลายฝ่าย มองเห็นแนวคิดของคณะราษฏรในยุคนั้นว่ามีลักษณะพยายามเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในทางการปกครองและในทางศาสนา มีอำนาจดังเทวดา

    อย่างไรก็ตาม ก็มีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการบริหารราชการ อย่าง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช จึงได้ก่อนการปฏิวัติขึ้นอีกครั้งจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง โดยยื่นเงื่อนใขว่า

    ให้รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อำนาจรัฐสภามากขึ้นและจำกัดอำนาจของรัฐบาลมิให้กลายเป็นคณะเผด็จการ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของพระองค์เจ้าบวรเดชในครั้งนั้นถูกมองจากฝ่ายนิยมคณะราษฎรว่าเป็นความพยายามในการฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และต่อต้านระบอบประชาธิปไตย

    แต่ที่ท้ายที่สุดก็ได้พ่ายแพ้ต่อคณะราษฎรไปเพราะความสูญเสียทางยุทธการ แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารงานของคณะราษฎรนั้นก็สูญเสียความไว้วางใจลงมากเนื่องจากความขัดแย้งกันเองระหว่างสมาชิกคณะราษฎรด้วยกันเอง โดยเฉพาะ จอมพล ป.พิบูลสงคราม กับ นายปรีดี พนมยงค์ บวกกับเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองเนื่องจากสงครามโลกจนทำให้ความศรัทธาของคณะราษฎรเกิดความเสื่อมอย่างที่สุด คณะราษฎรจึงมีการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์กลับมาเป็นส่วนนึงของการบริหารประเทศอีกครั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญเพื่อค้ำยันความมั่นคง และความศรัทธาที่มีต่อคณะราษฎรที่เปรียบเสมือนผู้สำเร็จราชการแทน สถาบันเบื้องสูงในเวลานั้น...
     
    คนกวาดขยะ, Gop, nueng93 และอีก 6 คน ถูกใจ
  3. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    ซึ่งหากย้อนรอยแนวทางการ ปฎิวัติของคณะราษฏร ใน ช่วงต้น ของ พ.ศ.2475-2477 เราคงจะปฏิเสธไมได้เลยว่า อาจได้รับแรงบรรดาลใจจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1789 (พ.ศ.2332)อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะภายหลังการที่ฝ่าย ปฏิวัติฝรั่งเศส ได้รับชัยชนะภายหลังโค่นล้มราชวง บูร์บง ด้วยการประหารโดยกิโยติน ได้สำเร็จ และ นำพาประเทศฝรั่งเศสสู่การปกครอง แบบสาธารณรัฐ โดยมีการสร้างลัทธิแบบเทวานิยม เพื่อสร้างอำนาจศักดิสิทธิ์ให้กับผู้นำการปฏิวัติ

    แต่จะมีใครซะกี่คนในเวลานั้น รู้ว่า การปฎิวัติฝรั่งเศสครั้งนั้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ผิดพลาด เพราะดูเหมือนว่าจะมันจะนำพาเข้าสู่ประวัติศาสตร์ที่คนฝรั่งเศสไม่อยากจดจำนั้นคือยุค"แห่งความสับสน"ที่มีระยะเวลาเพียงสั้นๆ ( Reign of Terror) ภายใต้การนำของ โรแบสปิแยร์ ( Maximilien Robespierre)อดีตหนึ่งในนำการปฏิวัติระบอบบการปกครองสู่สาธารณรัฐและได้ผลักดันตัวเองขึ้นสู่อำนาจ เขาเป็นผู้ซึ่งหลงใหลในอำนาจและได้สร้างลัทธิ นับถือ ลัทธิแห่งสิ่งสูงสุด- (Cult of the Supreme Being) ซึ่งถูกพัฒนามาจาก แนวคิดลัทธิแห่งเหตุผล (Cult to Reason) ซึ่งถูกสร้างขึ้นและแพร่หลายในหมูกลุ่มนักปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อพลักดันให้ตนเองมีอำนาจสูงสุดในการปกครองแบบคณาธิปไตยและทางธรรมแบบเผด็จการเบ็ตเสร็จและผู้ใดที่มี ท่าทีขัดต่ออำนาจของเขาก็จะถูกสังประหาร โดยทันที
     
  4. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    อะไรคือ ยุคแห่งความสับสน" ( Reign of Terror) ,
    "เทพีแห่งเหตุผล" (Cult of Reason) และ "ลัทธิบูชาสิ่งสูงสุด" (Cult of the Supreme Being) '?
    หาก ได้สัมผัสกับประวัติศาสตร์ขั้นต้นของฝรั่งเศส ก็จะพบว่า ในช่วง ในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง รอแบ็สปีแยร์ประกาศความน่าสะพรึงกลัว (Terror) เพื่อสร้างความโหดเหี้ยมให้ฝรั่งเศส และประกาศ Law of Suspects นักโทษการเมืองไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และตั้งศาลปฏิวัติ (Revolutionary Tribunal) ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยตีน ทั้งพระนางมารี อังตัวเนต พระราชวงศ์ พวกเฟยยองต์ พวกฌีรงแด็ง กษัตริย์นิยม และประชาชน ต่างต้องสังเวยเครื่องกิโยติน
    เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซ็องกีแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด

    รอแบ็สปีแยร์ยังให้เลิกนับถือคริสต์ศาสนา เลิกใช้คริสต์ศักราช แต่ใช้ศักราชปฏิวัติ นับปี ค.ศ. 1793 เป็นปีที่ 1 และมีการตั้งศาสนาใหม่ คือ ลัทธิแห่งเหตุผล (Cult to Reason) นับถือเทพธิดาชื่อเหตุผลนั้นเอง

    เนื้อในของลัทธิระบุว่าพวกเขาเป็นมากกว่าการปฏิเสธพระเจ้าในศาสนาเดิม เพราะได้มีการทำพิธีบูชาด้วยการถือ “เหตุผล” เสมือนเทพเจ้า โมโมโร (Momoro) หนึ่งในคณะผู้นำของลัทธินี้ย้ำว่า “เรื่องหนึ่งที่เราต้องไม่เหน็ดเหนื่อยที่จะบอกประชาชนคือ เสรีภาพ เหตุผล ความจริงนั้น เป็นเพียงสิ่งนามธรรม มันไม่ใช่พระเจ้า กล่าวให้ถูกต้องคือ มันคือส่วนหนึ่งของเรา”
    ฝ่ายหัวรุนแรงในหมู่นักปฏิวัติได้ปาวารนาตนเป็นสาวกของลัทธิเหตุผลด้วย พวกเขาจัดการชุมนุม มีขบวนพาเหรด และบุกเข้าทำลายโบสถ์ และทำลายรูปบูชาทางศาสนาต่างๆ หนึ่งในผู้นำลัทธิได้ทำการรณรงค์เกี่ยวกับการทำลายล้างศาสนาคริสต์ไปทั่ว ฝรั่งเศส สั่งให้ย้ายไม้กางเขนและรูปปั้นออกจากสุสานในเขตอำนาจของเขา และสั่งว่า หน้าประตูสุสานทุกแห่งต้องมีเพียงป้ายสลักว่า “ความตายคือการนอนหลับชั่วนิรันดร์” เท่านั้น

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 1793 นักปฏิวัติได้ร่วมก้นจัด “เทศกาลแห่งเหตุผล” ขึ้น วิหารโน้ตเตรอะดามในปารีสถูกเปลี่ยนเป็น วิหารแห่งเหตุผล แท่นบูชาเดิมถูกแทนที่ด้วยแท่นบูชาแห่งเหตุผล ให้บูชาเทพีแห่งเหตุผล และ เนื่องจากไม่ต้องการเคารพรูป่บูชา พวกเขาใช้คนจริงแสดงเป็นเทพี ซึ่งก็คือโซฟี โมโมโร ภรรยาของอองตวน-ฟรองซัว โมโมโร หนึ่งในผู้นำลัทธิ แต่การกระทำเหล่านี้ ทำให้คนจำนวนมากรับไม่ได้ แม้แต่ในคณะปฏิวัติด้วยกัน เช่น มักซีมีเลียง โรแบสปิแยร์ (Maximilien Rebespierre) นักปฏิวัติสายฌาโกแบง ได้แตกหักกับกลุ่มของเอแบร์ต์

    พอถึงฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1794 ลัทธิแห่งเหตุผลก็ถูกปฏิเสธอย่างเป็นทางการจากโรแบสปิแยร์ ซึ่งเป็นผู้ที่เกือบจะเผด็จอำนาจโดยสมบูรณ์ของรัฐบาลปฏิวัติ โดยโรแบสปิแยร์ได้ประกาศสถาปนาศาสนาเพื่อสาธารณรัฐใหม่ นั่นคือ Cult of the Supreme Being - ในภาษาฝรั่งเศสคือ Culte de l'Être suprême - กูลตฺ เดอ แล็ตเตรอะ ซูแปรม คือ “ลัทธิแห่งสิ่งสูงสุด” ซึ่งประกาศให้เป็นศาสนาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1794

    โรแบสปิแยร์เองเป็น ผู้ที่มีแนวคิดเชื่อในพระเจ้า(เทวะนิยม) เขาจึงเชื่อว่า เหตุผลเป็นเพียงวิธีการไปสู่เป้าหมาย และเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียวคือคุณธรรม เขาแสวงหาหนทางที่จะไปให้ไกลกว่าลัทธิเทวะนิยมธรรมดา
    "ลัทธิแห่งสิ่งสูงสูด" นั้น เชื่อในการดำรงอยู่ของพระเจ้า และในความเป็นอมตะแห่งวิญญาณมนุษย์ เขา กล่าวว่า “ความเชื่อดังกล่าวนี้จะทำให้เราระลึกถึงความเป็นธรรมอยู่เสมอ และจึงเป็นแก่นของสังคมสาธารณรัฐ ลัทธินี้ถือว่าสิ่งสร้างที่สูงสุดของ “สิ่งสูงสุด” คือมนุษย์ และเป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือ ยอมให้มนุษย์ลุไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนเอง โดยผ่านเสรีภาพและประชาธิปไตย
     
  5. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    แต่ลัทธินี้ก็ดับไปพร้อมกับการหมดอำนาจของโรแบสปิแยร์ในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1794 นั่นเอง - เขาถูกตัดคอด้วยกิโยตินในวันที่ 28 กรกฎาคม ปี ค.ศ. 1794 หลังพบว่า มีส่วนในการใส่ร้าย ราชวง บูร์บง จนทำให้พระเจ้าหลุยที่ 16 สวรรคตด้วยกิโยตินในการปฏิวัติก่อนหน้านี้จึงทำให้ ประเทศฝรั่งเศสกลับมาเป็นระบบกษัตริย์อีกครั้งโดยการนำของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1ในเวลาต่อมา

    ****************************************

    สุดท้ายสิ่งที่เราเห็นได้จากการเอาช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่มาเทียบเคียงกัน ก็คือการหยิบยืมแนวคิดของกลุ่มคณะราษฎรในอดีตและ แนวทางการเดินหมากของกลุ่มนิติราษฎรในปัจจุบันที่ มีการชักชวน สนับสนุนให้นับถือ นักวิชาการบางคนเป็นศาสดา มักอ้างแนวทางปฎิวัติฝรั่งเศสโมเดล และ
    แนวทางของคณะราษฎร นั้นมีจุดแข็งจุดอ่อนและความสอดคล้องคล้ายคลึงกัน งานนี้ประชาชนคนไทยควรจะตระหนักและเท่าทัน นักปฎิวัติเหล่านี้และทฤษฎีการก่อเหตุที่ยึดโยงอดีตไว้ด้วยนะครับ

    ----------------------------------------------------

    อัพเดท
    เห็นว่ามีนักเรียนของนิติราษฎร อย่าง เนติวิทย์ พยายาม สร้างกระแส ยุยงเรื่อง "การหมอบกราบ" ว่าเป็นเรื่องล้าหลัง ผมขออธิบายสั่นไว้ตรงนี้นะครับ

    แม้ว่า การหมอบกราบ ค่อยๆถูกยกเลิกใช้ในกิจกรรมทางราชการ และราชประเพณีบางส่วน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5เป็นต้นมา แต่ก็ยังฝั่งอยู่ในใน จิตวิญญานของความเป็นคนไทย เนื่องด้วย ชนชาติไทยเป็นคนรักในสันติและมีความเคารพในบรรพบุรุษมาก การให้ความเคารพด้วยเกียรติอันสูงสุดผ่านการกราบจึงเป็นสิ่งที่ยังดำรงอยู่ในฐานะ สัญลักษณ์การเคารพรักและจงรักภักดีของคนเล่านั้น

    ในช่วงภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 "การหมอบกราบ" ยังคงมีอยู่และถูกนำมากลับมาใช้ในการเชิดชู "รัฐธรรมนูญ " และ ตัวคณะราษฏรเสียด้วยซ้ำ ดั่งเช่นการหมอบกราบพานแว่นฟ้า ตามแนวลัทธิเทวะประชาธิปไตย เพื่อ บูชา รัฐธรรมนูญ แบบของคณะราษฎร เพื่อผลักดันให้ คณะราษฎรเป็นที่บูชาดั่งเทพเจ้า

    สรุปแล้ว "การหมอบกราบ" ไม่ไช่สิ่งเลวร้ายอะไร ...และยังเป็นสิ่งที่ดีงาม ประเพณีของไทย ในฐานะ สัญลักษณ์การเคารพรักและจงรักภักดี
    เพียงแต่การบิดเบือนความหมาย "การหมอบกราบ" เพื่อหวังผลทางการเมืองของกลุ่มคนบางกลุ่มยังคงมีอยู่ ในปัจจุบัน และเป็นเรื่องที่น่าตลกขบขัน เมื่อมีใครคนนึง กล่าวว่า "การหมอบกราบ" เป็นเรื่องล้าหลังของแนวคิด อนุรักษ์นิยม

    ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่ฟื้นฟู "การหมอบกราบ" ในระบอบประชาธิปไตย ก็คือ คณะราษฎร ที่มักเชิดชูตัวเองว่าเป็น"หัวก้าวหน้า"นั้นแหล่ะครับ

    ที่มา
    ใครอยากแสดงทัศนะอะไรก็เชิญ แต่สำหรับผมแล้ว "ไอ้ปรีดี แม่งโคตรเลว"
     
    คนกวาดขยะ, Gop, nueng93 และอีก 8 คน ถูกใจ
  6. kokkai

    kokkai อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    6 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    8,076
    ต้องถามว่าประวัติศาตร์ ช่วงการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ในตำราเรียน
    ใครเป็นคนเขียน และทำไมถึงไม่แก้ไขเสียให้ถูกต้อง
    ปล.บอกตรงๆว่าผมไม่ได้ค่อยติดตามเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่โดยสัญชาตญาณ ในใจผมไม่เคยยกย่องปรีดี
     
  7. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    ขอย้ำอีกครั้ง ไอ้ปรีดีชาติชั่ว ใครมีลูกสอนลูก ใครมีหลานสอนหลาน
    ให้ได้รู้ความจริงของประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือนมานาน ผมคนหนึ่ง
    ที่จะบอกเล่าและสอนลูกผม ให้ยกย่องเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ
    สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ประวัติศาสตร์จะได้รับการชำระให้ถูกต้อง
    ไอ้พวกคณะราษฎร จะถูกจดจำในฐานะอาชญากรทางการเมือง จำไว้

    ป.ล. ดูวัน เดือน ปี ที่ผมสมัครเป็นสมาชิกในบอร์ดนี้แล้ว รู้สึกตกใจและ
    แปลกใจมากๆ ?????????????
     
    gaiser, คนกวาดขยะ, Gop และอีก 3 คน ถูกใจ
  8. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    สิ่งพิมพ์และบรรยากาศบ้านเมืองหลังเปลี่ยนแปลงจากปกครอง 2475 ในช่วงสิบปีแรก
    บ่งบอกชัดเจนว่าทางการยุคนั้นต้องการเน้นรัฐธรรมนูญเป็นใหญ่
    แม้แต่ธนบัตรก็ยังมีลายน้ำหรือรูปพิมพ์เป็นพานรัฐธรรมนูญ

    ผมเคยเห็นรูปถ่ายเก่า แบบว่า รัฐธรรมนูญวางอยู่บนพานแว่นฟ้า
    ประดิษฐานในที่ๆ เหมาะสมสวยงาม ควรค่าแก่การเคารพ
    แล้วยังมีทหารยืนคุ้มกันเป็นเกียรติยศด้วย

    E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D%20%E0%B9%97_opt.jpe
    ภาพจากแนวหน้า

    แต่ไม่ได้พูดว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทการปกครอง ที่ไม่ได้มีแค่ประเทศที่ปกครองแบบประชาธิปไตยเสรีที่ใช้
    แม้แต่ประเทศคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม ก็มีรัฐธรรมนูญ

    ที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและเจตนารมณ์ที่สร้างประโยชน์แก่ประชาชน
    อย่างประเทศไทย ก็ต้องเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    ที่นักการเมืองทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ใช่แค่ฐานเสียงของพรรค
     
    Last edited: 29 ต.ค. 2016
  9. ปลาดาวบนโต๊ะ

    ปลาดาวบนโต๊ะ สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    19 ต.ค. 2016
    คะแนนถูกใจ:
    35
    แค่เห็นประกาศก็รู้แล้วว่าชั่วทั้งคณะจริงๆ “..ด้วยบัดนี้ คณะราษฎร ได้จับพระบรมวงษานุวงษ์ ไว้เปนประกันแล้ว ถ้าผู้ใดขัดขวางคณะราษฎร ผู้นั้นจะต้องถูกลงโทษ และพระบรมวงษานุวงษ์จะต้องถูกทำร้าย..” ลงโทษคนขัดขวางไม่พอ ใจคอพวกมันยังคิดข้อความต่อมาได้อีก ต่ำช้าจริงๆ
     
    gaiser, คนกวาดขยะ, cantona004 และอีก 8 คน ถูกใจ
  10. ควันหลง

    ควันหลง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,786
    ผมเคยผ่านตางานเขียน หรือบันทึกของหนึ่งในคณะราฎษร์ จำไม่ได้ว่าคนไหน

    จำได้ว่เขาามีความคิดที่่เรียกว่า ถ้าใช้ศัพท์สมัยนี้ ก็เรียกว่าโลกสวยหน่ะครับ อ้างถึงการปฎิวัติฝรั่งเศสนู้นนี้นั้น รู้ทั้งรู้ว่า ปฎิวัติกันไปแล้ว ก็วุ่นวายกันเป็นร้อยปี เลเทะไปทั้งยุโรป จนถึง ณ ตอนนั้น ความวุ่นวาย ก็ยังไม่จบสิ้นด้วยซํ้า แล้วอ้างถึงความศิวไลซ์ของฝรั่งเศส ซึ่งเอาเข้าจริงวามศิวไลซ์ของฝรั่งเศสที่ว่า ก็ก็ไม่ได้ทำให้ฝรั่งเศสมีความเข้มแข็งแต่ประการใด มันจึงทำสาธาณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ล่มสลายในอีกไม่กี่ปีต่อมาอย่างที่ได้ทราบกัน

    นอกจากนั้นเขากล่าวอ้างไปถึงลัทธิล่าอาณนิคมต่างๆนานา ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ล้าสมัยในเวลานั้น เพราะสังคมยุโปรก็รับรู้ตั้งนานแล้ว ว่าสยาม เป็นอารยะ ไม่ใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน ข้ออ้างของเขา มันทำให้ผมไม่ค่อยอยากจะเชื่อนักว่า ความคิดเหล่านี้ เป็นความคิดของหัวกะทิ ที่มีโอกาสได้เรียนถึงเมืองนอก เมืองนา มีความรู้ทางภาษาต่างประเทศอย่างดิบดี ซึ่งควรจะมีสายตากว้างไกล แต่ดันกลับคิดอะไรไร้เดียงสาเช่นนี้

    ผมไม่ค่อยมั่นใจว่าคณะราฎษร์ จะเปลี่ยนแปลงการปกครองไประบอบใดกันแน่ เป็นระบอบประชาธิปไตยจริงๆ หรือระบอบคณาธิปไตย เขามีอุดมการณ์จริงๆหรือแค่ชายหนุ่มที่กระหายอำนาจ ถ้าบอกว่าต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ให้เป็นระบอบประชาธิปไตย ทั้งๆที่รู้ว่า มันเป็นไปไม่ได้ ทั้งในตอนนั้น ก่อนหน้านั้น หรือในอีกหลายสิบให้หลังต่อมา หรือแค่คิดว่าตัวเองทำได้ดีกว่า จึงปล้นพระราชอำนาจมาใช้เอง

    ประวัติศาสตร์สยามในช่วงยุค 30's - 40's เป็นช่วงเวลา 20 ปีสั้นๆ ที่สยามเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง และเต็มไปด้วยความวุ่นว่าย ทำให้สยามเราอ่อนแอถึงขีดสุด แต่สยามของเรา ก็โชคดี และมีโชคหลากหลายชั้นมากทีเดียว โชคของเราคือ โชคดีมหาอำนาจยุโรปเกิดขัดแย้งกันเอง จึงทำให้ที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ทำให้ทั้งยุโรปอ่อนแอ ไม่ว่าฝรั่งเศส หรือบริเตน ก็มีไม่กำลังพอที่จะรุกรานดินแดนโพ้นทะเลได้อีก โชคอีกประการหนึ่งคือ เมื่อญี่ปุ่นเข้ามารุกรานไทย เราถูกยึดได้โดยแทบจะไม่ต้องรบด้วยซํ้า แต่ญี่ปุ่นดันไปตีหัวยักษ์หลับอย่างสหรัฐฯ ทั้งๆที่ไม่ทำก็ได้ และก็รบแพ้สหรัฐฯไปในที่สุด พอพลังสงคราม เรายังมีโชคอีกชั้นหนึ่ง ที่สหรัฐฯนึกว่าต้องสู้กับคอมมิวนิสต์ จึงต้องดึงเราไปเป็นพวก และช่วยเหลือสยาม ไม่งั้นสยามในปัจจุบันคงไม่มีหน้าตาอย่างทุกวันนี้เป็นแน่แท้ครับ
     
    Last edited: 31 ต.ค. 2016
  11. Familie

    Familie อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,753
    ตามความคิดและความเชื่อของผม
    ผมไม่เคยคิดว่าไอ้พวกกบฏคณะราษฏร์พวกนี้
    มันจะมีความคิดอ่านและเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
    และไม่เชื่อว่าพวกมันจะทำเพื่อประชาชน
    มันต้องการอำนาจเพื่อตัวเองและพวกพ้องทั้งนั้น
    ร.7 ท่านได้วางพื้นฐานและรากฐานของระบอบประชาธิปไตยไว้แล้ว
    แต่ยังไม่ถึงเวลา เพราะคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมและไม่มีความเข้าใจ
    ท่านจึงต้องพยายามค่อยๆเป็นและค่อยๆไปเพื่อให้คนไทยเข้าใจให้ดีพอ
    แต่มีพวกมักใหญ่ใฝ่สูง จิตทรามทำลายความตั้งพระทัยของพระองค์ท่านเสียก่อน
    การเวลาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า พวกนี้มันบ้าอำนาจ
    และในที่สุดก็แย่งชิงอำนาจกันเอง โดยใช้ประชาชนเป็นบันใดพาดปีน
     
    gaiser, แสงธูป, cantona004 และอีก 8 คน ถูกใจ
  12. Familie

    Familie อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,753
    เพราะนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของเผด็จการและคอร์รัปชั่นอย่างสมบูรณ์แบบ
    โดยผ่านระบอบประชาธิปไตยที่พวกมันอ้าง
    ปากมันอ้างประชาธิปไตย สุดท้ายลายมันออก
    บ้านเมืองตอนนั้นยิ่งกว่าเผด็จการเสียอีก มันไม่เคยเห็นหัวประชาชน
    มันอ้างว่าต่อสู้กับศักดินา แต่พวกมันเองกลับกลายมาเป็นชนชั้นศักดินาในสังคมเสียเอง
    ชนชั้นศักดินาใหม่ที่เกิดขึ้นก็คือพวกที่อ้างตัวเองว่านักการเมือง
     
    gaiser, คนกวาดขยะ, แสงธูป และอีก 5 คน ถูกใจ
  13. Familie

    Familie อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,753
    ปากพวกมันก็อ้างว่าจะทำให้เกิดระบอบประชาธิปไตย
    จะให้เกิดความเท่าเทียม สิทธิเสรีภาพ
    แต่สุดท้ายอำนาจที่ได้มาอยู่ในมือพวกมัน
    ทำให้พวกมัน เหลิง หลงระเริงและบ้าอำนาจ
    หาผลประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้องทั้งนั้น
    นับตั้งแต่นั้นมาจนบัดนี้ เชื้อชั่วที่พวกมันเพาะไว้
    ก็ระบาดมาจนทุกวันนี้
     
    gaiser, แสงธูป, kokkai และอีก 6 คน ถูกใจ
  14. apollo

    apollo อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,703
    ภาพจากเพจคณะร่าน

    นี่กระมัง พิพิธภัณฑ์สัตว์วังหน้า

    1923784_954527914637961_714353604396171105_n.jpg
     
  15. sugit

    sugit อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    1,111
    ส่วนตัวผมเองเชื่อว่า

    การปกครองไม่ว่าแบบใด ถ้าได้ผู้ปกครอง

    ที่ "โง่" หรืือ "เลว" อย่างใดอย่างหนึ่ง หรืือ ทั้งสองอย่าง

    ประเทศก็คงตกต่ำ มากกว่าเจริญ


    เพราะอย่างหนึ่ง ที่ผมแน่ใจได้เสมอมาคือ

    ไม่ว่าใครก็ตาม มาอยู่ในจุดที่เป็นผู้บริหาร

    กว่า 90% จะเชื่อมั่นในความคิดตัวเอง มากกว่า

    คนใต้ปกครอง แล้วถ้ามีคุณสมบัติที่ผมกล่าวมาแล้ว

    1 ใน 2 ข้อ ความอนาถจะมาเยืือน คนในปกครอง

    อย่างช่วยไม่ได้เลย


    เปรียบเหมือน คนเลือกรถ สมรรถนะไม่ว่าจะสูงขนาดไหน

    แต่ถ้าคนขับ เป็นพวกนักซิ่ง หรือ คนมักง่าย

    เป็นไปได้ว่า จะก่อให้เกิดภัยกับตัวเอง หรือ คนอื่นได้

    มากกว่า คนที่มีวินัยขับรถ บุโรทั่ง เสียอีก
     
    ข้ามัน ลูกทุ่ง, Kiriwian, kokkai และอีก 3 คน ถูกใจ
  16. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    จากที่ทราบกันดีว่า 24 มิถุนายน นั้น เคยเป็นวันที่ คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปไปสู่ระบอบที่อ้างว่าเป็น "ระบอบประชาธิปไตย" ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร
    แต่จะมีใครทราบใหมว่า การเคลื่อนไหวทั้งหมดนั้น ล้วนเกิดจากการกระทำของกลุ่มบุคคลที่มีอาวุธเพียงกลุ่มเดียวที่ลุกขึ้นทำสงครามกับ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน .... ยังจำได้ไหมว่า ก่อนที่ คณะราชฏร ได้ประกาศยึดอำนาจ นั้น ยังได้เคยวางแผนใช้ทหารยึดพระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 7 ในเวลากลางคืนและขอถวายความอารักขาแก่ในหลวงในฐานองค์ประกัน แล้วบังคับให้ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญ
    แต่โชคยังดีที่แผนนี้มีผู้ไม่เห็นด้วย เพราะระหว่างที่บุกเข้าไปอาจเกิดการปะทะกันกับทหารมหาดเล็กจนถึงขึ้นนองเลือด จนสุดท้าย คณะราษฏร ได้ใช้วิธีก่อการ ด้วยการกระจายใบปลิว ในย่ำรุ่งวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่ง เป็นใบปลิวโจมตีสถาบันฯอย่างรุนแรง และข่มขู่ประชาชนด้วยการเผยแพร่ข้อมูลไว้บนใบปลิว ว่า ได้จับ พระบรมวงศานุวงศ์ ไว้เป็นองค์ประกัน ซึ่งในเวลานั้น ประชาชน ทั้งหมดเลื่อมใสในสถาบันฯเป็นอย่างมาก แต่เพราะในใบปลิวเหล่านั้นกำชับหนักว่ามิให้ผู้ใดขยับขับเคลื่อนมิเช่นนั้นจะทำให้ พระบรมวงศานุวงศ์ ไม่ได้รับความปลอดภัย... จึงทำให้ไม่มี ราษฏรคนใดกล้าขัดขืน คณะราษฏรเลย
    ทั้งนี้บทบาทของพระยาทรงสุรเดช(หนึ่งในคณะราษฏรผู้ก่อการ)ในวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น คือ "การปล่อยข่าวลวงและล่อหลอก "เพื่อชักนำให้ทหารแต่ละกรมกองมาชุมนุมร่วมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อให้เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างไม่ขัดขืน ซึ่งโดยส่วนใหญ่มิเข้าใจว่า การกระทำดังกล่าวนั้นคือ การ โค่นอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งการกระทำทั้งหมดเป็นการ สร้างสถานการณ์ซึ่งข่มเหง และ บีบคั้น รัชกาลที่ 7ด้วยความเท็จเป็นอย่างมาก
    เพราะแท้จริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหา กษัตริย์ที่ทรงเลื่อมใสการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พระองค์ทรงพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ยังมิได้ทรงทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ด้วยทรงคำนึงว่ายังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อคณะราษฎรได้ทำการ"เปลี่ยนแปลงการปกครอง" อย่างบีบคั้นเร่งรีบ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มิได้ทรงขัดเคืองพระราชหฤทัย และทรง ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองประเทศ ซึ่งปรีดี พนมยงค์เป็นผู้ร่างในเวลานั้น
    โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า รัชกาลที่ 7 มีพระราชดำรัสว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่ เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร” ซึ่งเป็นการเตือนสติ กลุ่มคณะทหารที่ชื่อ"คณะราษฏร"ในเวลานั้นให้มองเห็นถึงเสียงสวรรค์ของประชาชนจริงๆมากกว่า กลุ่ม"คณะราษฏร"ด้วยกันเอง
    แต่แล้วต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 ได้เกิดสงครามกลางเมืองที่เรียกกันว่า กบฏบวรเดช ขึ้น โดยพระองค์เจ้าบวรเดชกับพระยาศรีสิทธิสงคราม รวมกำลังทหารหัวเมืองมุ่งเข้าตีกรุงเทพมหานคร ตามคำแถลงการณ์ที่จะเข้ามาช่วยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงหลุดพ้นจากอำนาจของคณะราษฎร เหตุการณ์ในครั้งนี้มีการปราบปรามด้วยอาวุธ ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างคนไทยด้วยกันเอง และมีผู้เสียชีวิตด้วยกันทั้งสองฝ่าย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่สะเทือนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก จึงทรงตัดสินพระราช หฤทัยเสด็จไปประทับที่ประเทศอังกฤษ ด้วยเหตุผลเพื่อไปรักษาพระเนตรเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 และในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2477 พระองค์จึงได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ และเสด็จไปยังต่างประเทศ
    และแล้วประเทศสยามเวลานั้นก็ได้กลายเป็นประเทศไทยตามแนวทางการบริหารของ คณะราษฏรอย่างเต็มรูปแบบ

    ทั้งนี้ในขณะที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรี(คณะราษฏร)ในเวลานั้นกำลังประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองกับหลายฝ่ายในคณะราษฏรซึ่งกำลังสั่นคลอนความมั่นคงของคณะราษฏและเกรงว่าอาจจะทำให้ประชาชนไม่พอใจในคณะราษฏร (อันเป็นผู้ปกครองสูงสุดเบ็ดเสร็จหรือเรียกว่าคณาธิปไตยในเวลานั้น)จึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดล ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป โดยได้รับการเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ เพื่อให้พระองค์ทรงเป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวมใจของประชาชนไทยสืบไป โดยที่พระองค์ทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    ดังนั้นจึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ต่อมา ปรีดี ที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงครอบงำให้สภาผู้แทนราษฎร ให้มีมติแต่งตั้งเขาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ” แต่เพียงผู้เดียว” และแต่งตั้งให้เป็นต่อไปอีกเรื่อยๆ แบบไร้เวลาสิ้นสุด จึงเป็น ครองอำนาจเบ็ดเสร็จ เหนือ ราชบัลลังค์ แต่เหตุที่ปรีดี ยังไม่กล้าออกกฎหมายยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชจนหมดสิ้น เสียเลยทันที ตั้งแต่ ปฏิวัติ 2475 นั้น ก็เพราะเกรงความไม่พอใจของปวงชนจำนวนมากซึ่งยังจงรักภักดีต่อสถาบันฯนั่นเอง
    ช่วงขณะนั้น ปรีดี และคณะราษฎร จึงกลายเป็นผู้มากบารมีเบ็ดเสร็จในประเทศไทย คุมอำนาจบริหาร นิติบัญญัติทุกส่วน สภาออกกฎหมายอะไรก็ได้ เพราะปรีดี ก็เป็นผู้สำเร็จราชการลงนามประกาศใช้ได้ทันที เรียกว่าชงเอง กินเอง เบ็ดเสร็จ ประเทศไทยขณะนั้น คือ ระบอบเผด็จการคณาธิปไตย เพราะไม่มีการถ่วงดุลอำนาจใดๆ เลย
    ในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลได้ทูลอัญเชิญรัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติพระนคร แต่ในระหว่างเตรียมการเสด็จนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่หลายครั้ง คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด
    พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 รัชกาลที่ 8 จึงได้เสด็จกลับประเทศไทย โดยเรือเมโอเนีย ซึ่งมาจากเมืองมาเชลล์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นับเป็นการเสด็จนิวัติพระนคร ครั้งแรก ทรงใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    ....ในช่วงปีพ.ศ. 2487 ประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองและยุติเมื่อ พ.ศ. 2488 และประเทศไทยรอดพ้นจากการพ่ายแพ้สงคราม
     
  17. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    จากบทความ "ไขปริศนา ขั้นตอนปรีดีวางแผน ก่อนรัชกาลที่ 8 สวรรคต " ได้ระบุไว้ว่า วันที่ 15 ตุลาคม 2488 ม.ร.ว.เสนีย์ นายกรัฐมนตรี ยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และยังรักษาการนายกฯ เดือนนี้ ปรีดี วางแผนจัดให้หนอนร้าย คือ นายเฉลียว คนสนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคณะราษฎรคนหนึ่ง “ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ” ให้ไปดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ เพื่อเข้าไปสอดแนม และครอบงำราชการในวัง และนี่คือ"ลางร้ายในเวลาต่อมา"
    ร.อ.วัชรชัย ซึ่งออกจากราชการไปแล้ว ปรีดี ให้เข้ามารับราชการเป็นราชองครักษ์ , ทั้งสองนี้เป็นผู้ที่ฝักใฝ่ใกล้ชิดสนิทสนมกับนายปรีดีเป็นอย่างมาก นายเฉลียว จึงจัดให้ นายชิต และ นายบุศย์ เป็นมหาดเล็กรับใช้ “ประจำห้องพระบรรทม” ทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจของนายเฉลียว
    วันที่ 5 ธันวาคม 2488 เป็นเวลานานถึง 10 ปีหลังการรัชกาลที่ 7 เสด็จออกจากประเทศไทย วันนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และพระราชอนุชา เสด็จนิวัติพระนครเป็นครั้งที่สอง มีพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว(20 พรรษา) ทำให้พระองค์สามารถเป็นพระประมุขแผ่นดิน โดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการอีกต่อไป (นับเป็นการเสด็จกลับมาที่ประเทศไทย ครั้งที่สอง)
    "รัชกาลที่ 8 แม้พระชนม์มายุเพียง 20 พรรษา แต่กลับทรงเฉลียวฉลาดมาก พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย ที่จะทรงทราบ และศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้เชิญนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ปลัดกระทรวง และอธิบดีผลัดเปลี่ยนกันเข้าเฝ้า เพื่อเป็นโอกาสที่จะทรงซักถามกิจการในหน้าที่และแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความหวาดระแวงให้กับปรีดี และพรรคพวกอย่างมาก"
    จากบทความ "ไขปริศนา ขั้นตอนปรีดีวางแผน ก่อนรัชกาลที่ 8 สวรรคต " ยังระบุด้่วยว่า
    ("ปรีดี จึงได้ชิงจังหวะชุลมุนเพิ่งเลิกสงครามโลก บีบบังคับกราบบังคมทูล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ให้ยกย่องเขาไว้ในฐานะ “รัฐบุรุษอาวุโส” จุดนี้ คือ จุดเริ่มต้นของการคิดการใหญ่ เพราะนั่นหมายถึงปรีดี จะสามารถก้าวยกระดับต่อไปเป็น ” ประธานาธิบดี” ของประเทศไทย ในอีกขั้นระยะถัดไป ถ้าประเทศไทยไม่มีสถาบันเบื้องสูง
    วันที่ 23 ธันวาคม 2488 รัชกาลที่ 8 เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายปรีดี,พลโทพระศรา สมุหราชองค์รักษ์ “ นายเฉลียว นายชิต” ทอดพระเนตรการแสดงอาวุธ ของคณะพลพรรคเสรีไทย ทรงโปรดการหัดยิงปืนชนิดใหม่ ๆ ที่มีผู้น้อมเกล้าถวาย )
    ในภายหลัง จากการเสด็จกลับมาที่ประเทศไทย ครั้งที่สองนี้ รัชกาลที่ 8 ทรงพระปรีชาสามารถและเป็นความหวังของชาติมาก แต่ปรีดีก็มิได้ให้เกียรติพระองค์มากนัก ในช่วงมกราคม 2489 มีการช่วงชิงการนำทรัพยสินของวัง พระราชพาหนะ( รถแนซพระที่นั่ง)ไปจากโรงเก็บรถ ในพระบรมมหาราชวังในเวลากลางคืน มาใช้นั่งเป็นการส่วนตัวในฐานะ ผู้สำเร็จราชการแทน ทั้งๆ มีเวรยามเฝ้ารักษา เพื่อแสดงอำนาจเหยียดหยามพระองค์ที่ทรงสนพระทัยในรถคันนี้ พระองค์ข้องพระราชหฤทัยมาก ทรงพระราชอุตสาหะไปทรงตรวจสถานที่ในคืนวันหนึ่งว่า เก็บอย่างไร และยามอยู่ตรงไหน
    ความขัดแย้งภายในระหว่างรัชกาลที่8 และ ปรีดี ยังคงเกิดขึ้นและแล้วเหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ก็เกิดขึ้นในปี 2489 ซึ่งเป็นปีเดียวกัน ที่ ม.ร.ว เสนีย์ ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ ดำเนินการจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนี้จากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นายปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่ สมเด็จพระอนุชา เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว (ซึ่งช่วงนี้มีข่าวลือหนาหูว่า "นายปรีดีฆ่าในหลวง")
    8 พฤศจิกายน ปี 2489 - พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และ น.อ.กาจ กาจสงคราม นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสางกรณีสวรรคตได้ และได้ทำการฉีกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489 ทิ้ง จากเหตุการณ์รัฐประหารนี้ ทำให้นายปรีดี และพล.ร.ต.ถวัลย์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศไปยังสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร นายปรีดีจึงเดินทางไปจีนแทน
    พ.ศ. 2491 ภายหลังพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาล คณะทหารในกลุ่ม 4 คน นำโดย น.อ.กาจ กาจสงคราม ได้บีบบังคับให้นายควงลาออกและ แต่งตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม (อดีต คณะราษฏร) เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และผลของการรัฐประหารครั้งนี้เป็นการขจัดกลุ่มอำนาจเก่าของ นายปรีดี พนมยงค์ ส่งผลให้นายปรีดี ต้องขอลี้ภัยการเมืองที่ต่างประเทศตราบจนเสียชีวิต ปิดฉาก "คณะราษฏร"
    และ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 - นายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกประหารชีวิต จากข้อกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8
    และในปี พ.ศ. 2500 คณะทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (อดีต คณะราษฏร) ด้วยข้อกล่าวหาสำคัญคือ ฝ่ายรัฐบาลจัดการเลือกตั้งสกปรกจึงหมดความชอบธรรมและ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง "ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย" ยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน แล้วกำหนดให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย เป็นอัน หมดสิ้น 24 มิถุนายน ...
     
    gaiser, คนกวาดขยะ, Gop และอีก 3 คน ถูกใจ
  18. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    สำหรับ กลุ่มคนผู้ที่สดับรับฟังข่าวที่ผิดเพี้ยนไปว่ากลุ่ม คณะราษฏร์นั้นคือผู้ที่เปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยการปฏิวัติรัฐประหารและออกจดหมายเวียนเทียนข่มขู่ว่าได้จับ ร.7 ไว้เป็นตัวประกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ โดยกล่าวอ้างว่า นั้นคือ "ประชาธิปไตย" การกระทำนั้นมีอยู่ขึ้นจริงแต่มิใช่ความจริงโดยทั้งหมด
    เพราะ แท้จริงแล้ว การกระทำคณะราษฏร์นั้นเป็นเพียงการกระทำของขุนนางและทหารบางฝ่ายซึ่งต้องการอำนาจ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 ในเวลานั้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการปล้นพระราชอำนาจด้วยกระบอกปืนและรถถัง
    ในหลวง ร.7 ทรงคาดหวังว่าจะมอบอำนาจประเทศให้ประชาชนทุกคน จึงได้จัดตั้ง การกระจายอำนาจแบบเทศบาล-สุขาภิบาล และ ธรรมนูญลักษณะการปกครองโดยคณะนคราภิบาล( อันมีพรรค ผ้าแถบแดง และผ้าแถบน้ำเงิน เป็นฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล) . เพื่อรองรับ รัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้น ... เรามาร่วมกันฟังพระสุรเสียงรัชกาลที่ ๗ ที่ประกาศที่สหรัฐว่าจะมอบอำนาจและเสรีภาพให้กับปวงชนชาวไทย อันเป็นต้นกำเนิดรัฐธรรมนูญไทยฉบับแรกนั้นเอง
    https://www.facebook.com/1403156603326693/videos/vb.1403156603326693/1438581603117526/?type=2&theater
    ชัยชนะและความล้มเหลวของ"คณะราษฏร"จนกระทั่งก่อนการกลับมาของระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ(ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข) เช่น รัชกาลที่ 8 เป็นประวัติศาสตร์ทำดำมืดและไม่ยอมถูกพูดถึงในฝ่ายการเมืองและไม่เคยถูกบรรจุอยู่ในแบบเรียนประวัติศาสตร์ รั้งแต่พยายามปิดบังเก็บเงียบ หรือบิดเบือนไปในทิศทางอื่น แต่กลับพูดถึงเพียงเฉพาะด้านดีของ คณะราษฏร แต่เพียงอย่างเดียว ตามแนวทฤษฏี ที่ว่า ... "ทำลายอดีต บิดเบือนปัจจุบัน ชักนำอนาคต"
    เพราะฉะนั้นแล้วมันถึงเวลาแล้วที่ จะมาร่วมกันกระจายข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เพื่อจุดเทียนแห่งปัญญาแก่ราษฎรของราชอาณาจักรไทยทุกคน
     
    gaiser, คนกวาดขยะ, kokkai และอีก 5 คน ถูกใจ
  19. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    ที่ผมนำเสนอมาทั้งหมดนี้ อยากจะทำความกระจ่างให้สังคมการเมืองไทยที่ถูกบิดเบือนมานานมาก
    ยังมีอีกเรื่องที่ หลายๆคนในประเทศเรา ยังไม่ทราบ แต่บางท่านในนี้อาจทราบแล้ว ทราบไหมว่า
    คุณหญิงพูนศุข พนมยงค์ มีชื่อเดิมก่อนสมรสกับปรีดีคือ"นางสาวพูนศุข ณ ป้อมเพ็ชร" คุ้นไหมครับ
    ผมปฏิญาณตนไว้ต่อเว็บบอร์ดนี้ ชาตินี้หรือชาติไหน ผมจะไม่นับถือคนอย่างไอ้ปรีดี ถ้าหากข้อความเห็น
    ของผมไม่ถูกใจ หรือไม่เป็นที่สบอารมณ์ของใครบางคนในนี้ ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้
     
    gaiser, คนกวาดขยะ, Gop และอีก 10 คน ถูกใจ
  20. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    ที่กด"ถูกใจ"เพราะบรรทัดสุดท้ายครับ
     
  21. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    คณะราษฏร์มันก็แค่พวกมักใหญ่ใฝ่สูงอยากที่จะมีอำนาจบ้างก็เท่านั้น
    แล้วสุดท้ายเป็นไงกัดกันฝุ่นตลบแย่งชิงอำนาจกันจนอยู่ไม่ได้ซักคน
     
  22. ชายน้ำ

    ชายน้ำ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    9 Feb 2015
    คะแนนถูกใจ:
    7,081
    การแตกคอกันของแก๊งคณะราษฏร์ความจริงก็เป็นสิ่งที่คาดหมายได้อยู่แล้วว่าต้องเกิดขึ้น

    แต่หากแก๊งนี้สามัคคีไม่แตกคอกัน ป่านนี้เราคงต้องเป็น Republic of Thailand ไปแล้ว
     
    Familie likes this.
  23. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    1(46).jpe
    “...พวกแกทําการปฎิวัติ ฉันก็ไม่คัดค้าน แต่ฉันไม่เห็นด้วยที่พวกแกออกคําแถลงการณ์ด่าฉัน...” พระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรัสกับคณะราษฎร เมื่อวันที่ ๒๖ มิ.ย. พ.ศ.๒๔๗๕ หรือในวันที่คณะราษฎรได้ถวายพระราชบัลลังก์คืน อันเป็นการกระทําที่ไร้ความคิด ขาดหลักการ รัชกาลที่ ๗ ถึงกับทรงตรัสกับคณะราษฎรในครานั้นว่า “...จะเป็นเกียรติยศงดงามแก่ชาติหรือ...”

    แผนการส่วนหนึ่งของคณะราษฎร คือการออกประกาศทําลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลกษัตริย์ ว่าไร้ความสามารถ “...ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ โดยไม่ทรงฟังเสียงราษฎร... ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรง...” อันถือเป็นถ้อยคําหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สร้างความกระทบกระเทือนใจต่อพระบรมวงศานุวงศ์เป็นอย่างมาก
    siam2475-1.jpg
     
    gaiser, คนกวาดขยะ, conservative และอีก 2 คน ถูกใจ
  24. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    Memorial_peg_of_Siamese_Revolution_of_2475(1).jpg
    รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงตรัสถึงความรู้สึกในเวลานั้นว่า “...การเขียนประกาศกับการกระทําของคณะราษฎร เปรียบเหมือนเอาผ้าจะมาทําธง แล้วเอามาเหยียบยํ่าเสียให้เปรอะเปื้อน แล้วเอามาชักขึ้นทําธง จะเป็นเกียรติยศงดงามแก่ชาติหรือ...”

    แต่ด้วยทรงเห็นแก่ประโยชน์ และความสงบสุขโดยรวม ดังความในพระราชหัตถเลขา ว่า “...ถ้าข้าพเจ้าจะไม่ยอมรับเป็นตัวเชิด นานาประเทศคงจะไม่ยอมรับรัฐบาลใหม่นี้ ซึ่งจะเป็นความลําบากยิ่งขึ้น...” และ “...ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ กับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละไม ไม่ให้ขึ้นชื่อได้ว่าจลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง...” จึงทรงละทิ้งความรู้สึกขุ่นข้องส่วนพระองค์นั้น นับเป็นพระขันตีบารมี และพระมหาการุณาธิคุณ จึงทําให้เคราะห์กรรมของชาติผ่านพ้นไปด้วยดี

    สําหรับถ้อยคําประกาศอันดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ภายหลังหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ได้นําคณะราษฎรเข้าเฝ้าขอพระราชทานขมาโทษ โดยได้กราบทูลยอมรับว่า “...การที่พวกข้าพระพุทธเจ้า ได้ประกาศกล่าวข้อความในวันเปลี่ยนแปลงด้วยถ้อยคํารุนแรงกระทบกระเทือนถึงใต้ฝ่าละลองธุลีพระบาท และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ด้วยมุ่งถึงผลสําเร็จทันทีทันใดเป็นใหญ่ สมเด็จพระมหากษัตราธิราชในพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ได้ทรงมีส่วนนําความเจริญมาสู่ประเทศสยามตามกาลสมัย...” ซึ่งรัชกาลที่ ๗ ก็ได้ทรงแสดงนํ้าพระทัยตอบต่อคณะราษฎร โดยการพระราชทานอภัยโทษดังความในพระราชดํารัสเมื่อวันที่ ๗ ธ.ค. ว่า “...ข้าพเจ้าเอง ก็ให้อภัยแก่ท่านทั้งหลายมานานแล้ว...”
    087.jpg 300(1).jpg
    แล้วยังได้มีพระราชดํารัสเพิ่มเติมว่า “...อันที่จริง เจ้านายในพระราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ย่อมทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของพระองค์ ที่จะทําอะไรให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง... ตามแต่วิสัยธรรมดาของคนตระกูลอันใหญ่ ก็ย่อมมีสามชิกที่มีความสามารถยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นธรรมดา...” บุรพกษัตริย์ได้เพียรพยายามพระราชทาน ความรู้สู่ราษฎรอย่างเต็มความสามารถ ดั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนก ได้เคยมีพระราชดํารัสไว้ว่า “...ได้มีความมุ่งหมายตั้งใจที่จะจัดการเล่าเรียนทั่วไปทั้งบ้านทั้งเมืองให้เปนการรุ่งเรืองเจริญขึ้นโดยเร็ว...” และ “...ตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกันไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่...” ตลอดถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมเชษฐา ก็ได้ทรงส่งเสริมให้ราษฎรตลอดถึงเยาวชนได้อ่านออกเขียนได้กันตั้งแต่เด็กๆ และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นยุคที่เรารู้ทันชาติตะวันตกอย่างเต็มตัว
    หาใช่ปิดตาประชาราษฎร์ ดั่งถ้อยป้ายสีที่คณะราษฎร ได้ประกาศว่า “...พวกเจ้า (พระบรมวงศานุวงศ์) ปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป...” ใช้สมองตรองด้วยดี ใครกันแน่ที่หลอกลวงประชาชน.
    พระราชบันทึก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗
     
    Last edited: 31 ต.ค. 2016
    คนกวาดขยะ, conservative, Familie และอีก 1 คน ถูกใจ.
  25. yoshikiryuichiro

    yoshikiryuichiro อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    472
    เชื่อครับ ผมเองมาดูยังตกใจเลย
     
  26. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    สำหรับใครที่คิดว่ารัฐประหารคืออาชญากรรม
    มันก็เป็นอาชญากรรมมาตั้งแต่การก่อการที่เรียกเท่ๆ ว่าอภิวัฒน์ 2475 แล้ว
    เพราะใช้กำลังทหารยึดอำนาจมาเหมือนกัน
     
  27. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    news_172.5.jpg
    news_172.3.jpg

    “แถลงการณ์ภาษาเยอรมันแต่อ่านเป็นภาษาไทย ของพระยาพหลฯ ฉบับนั้น มีใจความสำคัญแต่เพียงว่าบัดนี้คณะราษฎร, ทหาร, พลเรือน ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองไว้แล้วโดยเด็ดขาด เพื่อลบล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชอันเก่าแก่ลง และสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นตามแบบอารยะชาติทั้งหลาย

    ขอให้นายทหารที่มิได้เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติอยู่ในความสงบอย่าทำการขัดขวาง และออกจากลานพระรูปฯ ไปไม่ได้จนกว่าจะได้สั่งให้กลับไป หากจะพอใจให้ความร่วมมือสนับสนุนแก่คณะราษฎร ซึ่งยึดอำนาจการปกครองก็ยินดียิ่ง ทั้งนี้เพื่อความเจริญของชาติบ้านเมือง”

    นี่คือการโกหกคำโตของคณะราษฏร์

    คณะราษฏร์ มันคือปาหี่คณะใหญ่ที่เล่นแหกตาคนไทย
    เป็นขบวนจอมตลบแตลงบิดเบือนโดยสิ้นเชิง
    สามสี่คนในขบวนการต่างหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันขึ้นมามีอำนาจ

    ลองหาบันทึกเก่าหลายที่เอามาประมวลรวมกัน คนพวกนี้มันแค่โจรปล้นชาติเท่านั้น
    แต่พยายามสร้างภาพว่าเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่อยากรู้พวกมันไปรบกับใครมาถึงสมควรได้รับเกียรตินั้น
    คนกลุ่มนี้สร้างชาติตรงใหนนอกจากรวมหัวกับต่างชาติปล้นชาติตัวเอง

    ช่างน่าสมเพชกับประวัติศาสตร์จอมปลอม
     
    Last edited: 1 พ.ย. 2016
    conservative, nueng93, อู๋ คาลบี้ และอีก 4 คน ถูกใจ
  28. ParaDon

    ParaDon อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    2 Aug 2015
    คะแนนถูกใจ:
    3,168
    Location:
    Thai
    นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
    นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 จอมพล ป. พิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)
    นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 พันตรี ควง อภัยวงศ์ (หลวงโกวิทอภัยวงศ์)
    นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ทวี บุณยเกตุ

    นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ปรีดี พนมยงค์(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)

    https://th.wikipedia.org/wiki/รายนามนายกรัฐมนตรีไทย

    คณะราษฎรสายพลเรือนพบปะกันที่กรุงปารีส เมื่อ พ.ศ. 2468 สมาชิกคณะราษฎรประกอบด้วยราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน จำนวน 102 คน โดยแบ่งออกเป็น คณะราษฎรสายทหารบก 34 นาย คณะราษฎรสายทหารเรือ 18 นาย และคณะราษฎรสายพลเรือน 50 นาย ดังนี้
    หัวหน้าคณะราษฎร 4 ทหารเสือ
    1 พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
    2.พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)
    3.พันเอก พระยาฤทธิ์อัคเณย์ (สละ เอมะศิริ)
    4.พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)
    คณะราษฎรสายทหารบก 34 นาย
    1 พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) หัวหน้าคณะปฎิวัติฝ่ายทหาร
    2.พ.อ.พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)
    3.พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
    4.พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)
    5.พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)
    6.พ.ต.หลวงสฤษฎิ์ยุทธศิลป์ (เพียร พิริยะโยธิน)
    7.พ.ต.หลวงอำนวยสงคราม (ถม เกษะโกมล)
    8.พ.ต.หลวงวิจักรกลยุทธ (เศียร สู่ศิลป์)
    9.ร.อ.หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รยะนันท์)
    10.ร.อ.หลวงกาจสงคราม (เทียน เก่งระดมยิง)
    11.ร.อ.หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (ค้วน จิตตะคุณ)
    12.ร.อ.หลวงชาญสงคราม (พาน ชาลีจันทร์)
    13.ร.อ.หลวงเชวงศักดิ์สงคราม (ช่วง ขวัญเชิด)
    14.ร.อ.หลวงทัศนัยนิยมศึก (ทัศนัย มิตรภักดี)
    15.ร.อ.หลวงพรหมโยธี (มังกร ผลโยธิน)
    16.ร.อ.หลวงรณสิทธิพิชัย (เจือ กาญจนพินทุ)
    17.ร.อ.หลวงสวัสดิ์รณรงค์ (สวัสด์ ดาระสวัสดิ์)
    18.ร.อ.หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล)
    19.ร.อ.หลวงอดุลเดชจรัส (บัตร พึ่งพระคุณ)
    20.ร.ท.ขุนสุจริตรณการ (ผ่อง นาคะนุช)
    21.ร.ท.ขุนจำนงภูมิเวท (จำนง ศิวะแพทย์)
    22.ร.ท.ขุนนิรันดรชัย (สเหวก นีลัญชัย)
    23.ร.ท.ขุนพิพัฒน์สรการ (เท้ง พัฒนศิริ)
    24.ร.ท.ขุนปลดปรปักษ์ (ปลด ภานุสะวะ)
    25.ร.ท.ขุนเรืองวีรยุทธ (บุญเรือง วีระหงส์)
    26.ร.ท.ขุนวิมลสรกิจ (วิมล เก่งเรียน)
    27.ร.ท.ขุนศรีศรากร (ชะลอ ศรีธนากร)
    28.ร.ท.ไชย ประทีปะเสน
    29.ร.ท.ทวน วิชัยขัทคะ
    30.ร.ท.น้อม เกตุนุติ
    31.ร.ต.จำรูญ จิตรลักษ์
    32.ร.ต.สมาน เทพหัสดิน ณ อยุธยา
    33.ร.ต.อุดม พุทธิเกษตริน
    34.นายดาบจำรัส สุวรรณชีพ
    คณะราษฎรสายทหารเรือ 18 นาย
    1 น.ต.หลวงสินธุสงครามชัย ร.น. (สินธุ์ กมลนาวิน) หัวหน้าคณะราษฎรสายทหารเรือ
    2.น.ต. หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย)
    3.ร.อ. หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ร.น. (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)
    4.ร.อ. หลวงนาวาวิจิตร ร.น. (ผัน อำไภวัลย์)
    5.ร.อ. หลวงนิเทศกลกิจ ร.น. (กลาง โรจนเสนา)
    6.ร.อ. หลวงสังวรยุทธกิจ ร.น. (สังวรณ์ สุวรรณชีพ)
    7.ร.อ.สงบ จรูญพร ร.น.
    8.ร.อ.ชลิต กุลกำม์ธร ร.น.
    9.ร.อ.สงวน รุจิราภา ร.น.
    10.ร.ท.จิบ ศิริไพบูลย์ ร.น.
    11.ร.ท.ทองหล่อ (ทหาร) ขำหิรัญ ร.น.
    12.ร.ท.ทิพย์ ประสานสุข ร.น.
    13.ร.ท.ประเสริฐ สุขสมัย ร.น.
    14.ร.ท.วัน รุยาพร ร.น.
    15.ร.ท.ชลี สินธุโสภณ ร.น.
    16.ร.ต.กุหลาบ กาญจนสกุล ร.น.
    17.ร.ต.ชั้น รัศมิทัต ร.น.
    18.ร.ต.ทองดี ระงับภัย ร.น.
    คณะราษฎรสายพลเรือน 50 นาย
    1 อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) หัวหน้าคณะราษฎรสายพลเรือน
    2.อำมาตย์ตรี หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี)
    3.รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์)
    4.เสวกตรี หลวงนฤเบศร์มานิต (สงวน จูฑะเตมีย์)
    5.รองอำมาตย์เอก หลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี)
    6.รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร)
    7.รองอำมาตย์เอก หลวงอรรถกิติกำจร (กลึง พนมยงค์)
    8.รองอำมาตย์เอก หลวงสุนทรเทพหัสดิน (สพรั่ง เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา)
    9.รองอำมาตย์เอก หลวงเดชาติวงศ์วราวัฒน์ (ม.ล.กรี เดชาติวงศ์)
    10.รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม
    11.รองอำมาตย์เอก ประจวบ บุนนาค
    12.รองอำมาตย์เอก ม.ล.อุดม สนิทวงศ์
    13.นายแนบ พหลโยธิน
    14.รองอำมาตย์โท ทวี บุณยเกตุ
    15.ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี
    16.นายวิลาส โอสถานนท์
    17.รองอำมาตย์โท จรูญ สืบแสง
    18.นายเล้ง ศรีสมวงศ์
    19.นายดิเรก ชัยนาม
    20.นายวิเชียร สุวรรณทัต
    21.รองอำมาตย์โท ชุณห์ ปิณฑานนท์
    22.นายสวัสดิ์ โสตถิทัต
    23.นายจิตตะเสน ปัญจะ
    24.นายยง พลบุล
    25.นายเอก สุภโปฎก
    26.นายสุรินทร์ ชิโนทัย
    27.นายศิริ ชาตินันท์
    28.นายเฉลียว ปทุมรส
    29.นายบรรจง ศรีจรูญ
    30.นายประเสริฐ ศรีจรูญ
    31.นายแช่ม มุสตาฟา
    32.นายการิม ศรีจรูญ
    33.นายสงวน ตุลารักษ์
    34.นายซิม วีระไวทยะ
    35.นายหงวน ทองประเสริฐ
    36.นายปราโมท พึ่งสุนทร
    37.นายเจริญ ปัณฑโร
    38.นายทองเปลว ชลภูมิ
    39.นายเผดิม อังศุวัฒน์
    40.นายชุบ ศาลยาชีวิน
    41.นายกลิ่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา
    42.นายสอน บุญจูง
    43.นายยล สมานนนท์
    44.นายยิน สมานนท์
    45.ร.ต.ท.เชย กลัญชัย
    46.ร.ต.ท.เที่ยง เฉลิมศักดิ์
    47.นายจำนง บูรวิเชท
    48.นายผูก ปาลธรรมี
    49.นายประวัติ ศรีจรูญ
    50.นายวนิช ปานะนนท์


    ตัดมาบางตอน....
    การปฏิวัติดังกล่าวสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงถูกจำกัดพระราชอำนาจ และเอกสิทธิ์ที่มีมาแต่โบราณ

    แม้ว่าจะทรงได้รับถ้อยคำที่อบอุ่นและเป็นมิตร แต่พระองค์ก็ยังทรงอยู่ในความหวาดกลัว และทรงวิกตกว่าการเผชิญหน้าระหว่างพระองค์กับคณะราษฎรในภายภาคหน้าจะทำให้พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีจะทรงได้รับอันตราย

    เมื่อปลายปี พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระนัดดา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เกียวกับการตัดสินพระทัยเสด็จกลับกรุงเทพมหานครว่า

    "... เราทั้งหมดต่างก็ค่อนข้างรู้ดีว่าเราอาจกำลังจะตาย"

    http://www.photoontour.com/Misc_HTML/news/page/172.htm


    นายกรัฐมนตรีทั้ง 5 เป็นคณะราษฏร์ใช่หรือไม่ความจริงต้อง6คนเพราะนายควงเป็น2สมัย
    คนพวกนี้พากันวนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเถลิงอยู่บนอำนาจ
    ลองเอารายชื่อคนพวกนี้แต่ละคนไปค้นหาประวัติในกูเกิ้ลดูสิมาเพราะอำนาจทั้งนั้น

    นี่หรือคณะราษฏร์ที่ประวัติศาสตร์เขียนเชิดชู เอาสถาบันเป็นตัวประกันอำนาจของตนเพื่อข่มขู่คนไทย
    มิหนำซํ้ายังให้ร้ายสถาบันฯและบิดเบือนความจริงมาตลอด
     
    Last edited: 1 พ.ย. 2016
    conservative, nueng93, อู๋ คาลบี้ และอีก 3 คน ถูกใจ
  29. apollo

    apollo อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Mar 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,703
    ปุกาด ๆ ถ้าถึง 30 ธ.ค. นี้แร้ว ยังมะมีผู้ใดสำแดงตนเป็นเจ้าของ

    เมพมนตรีจะขุดออกแร้วนะจ๊ะ


    26.jpg
     
  30. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
    ประยุทธ์สั่งนำผลงานของรัฐบาลต่างๆ ไปฉายที่สนามหลวง หวังให้ความรู้
    Wed, 2016-11-02 14:49
    เมื่อวันที่ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสวบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า หลายเรื่องที่รัฐบาลได้นำสู่การแก้ไข ต่อจากนี้ไปขอให้ไปติดตามทางช่อง 11 และสถานที่อื่นๆ ตนได้สั่งการให้ไปแทรกเป็นข้อมูลเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล สอดคล้องกับศาสตร์พระราชา รวมทั้งเรื่องของงานจัดงานพระบรมศพ รวมทั้งพระราชกรณียกิจ ซึ่งทุกช่องควรมีการนำเสนอ รวมทั้งผลการดำเนินนโยบายของรัฐบาลต่างๆ ทั้งรถไฟรางคู่ การบริหารจัดการน้ำ ตนได้สั่งการให้นำไปฉายที่สนามหลวงด้วย เพราะบางคนอาจไม่ได้ดูทางช่อง 11 ซึ่งถ้าไม่รู้และถูกบิดเบือนก็จะทำให้การทำงานล่าช้า เพราะคนเข้าใจผิด สิ่งที่ไม่ค่อยสบายใจอีกอย่างคือมีการกล่าวหาว่าตนไปเอื้อประโยชน์กับบริษัทห้างร้าน ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง

    "ผมได้สั่งการให้นำไปฉายที่สนามหลวงด้วย เพราะบางคนอาจไม่ได้ดูทางช่อง 11 ซึ่งถ้าไม่รู้และถูกบิดเบือนก็จะทำให้การทำงานล่าช้า เพราะคนเข้าใจผิด สิ่งที่ไม่ค่อยสบายใจอีกอย่างคือมีการกล่าวหาว่าตนไปเอื้อประโยชน์กับบริษัทห้างร้าน ยืนยันไม่เป็นความจริง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า ไม่ค่อยสบายใจเรื่องที่บอกว่าไปเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ถามว่าตนไปเอื้อใคร เอื้อทำไม แล้วจะได้อะไร แต่ต้องไปดูว่าสิ่งที่ได้กลับมาคืออะไร การเอาบริษัท ห้างร้านเข้ามาช่วย เป็นเรื่องที่ประชาชนจะเป็นผู้เลือกเองว่าจะขายให้ใครจะขายให้ประชารัฐ หรือจะขายเอง ก็เรื่องของเขา ตรงนี้เป็นทางเลือกเท่านั้นเอง

    "ตรงนี้เป็นกรณีทีมีคนมาช่วยการทำงานของรัฐบาล ไม่ได้เอาอะไรจากเขา แล้วเขาก็ไม่อะไรจากผม เพราะผมไม่ได้อำนวยอะไรให้เขาเลย เป็นเรื่องที่เขามาช่วย เป็นเรื่องของการต่างตอบแทน แต่จะทำอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรม
    ก็เป็นเรื่องการแก้ปัญหาของเรา เช่น ต้องดูเรื่องโควตา ดูเรื่องมาตรการ ดูเรื่องภาษี ข้าวโพดราคาตกก็ให้บริษัทใหญ่มารับซื้อไป ไม่ใช่ให้เอาไปขึ้นทะเบียนกับเขา เขามาซื้อไปแล้วก็จบ วันหน้าเขาไม่ต้องซื้อก็ได้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ตรงนี้เป็นทางเลือกให้ประชาชนว่าจะขายเองหรือจะขายให้ประชารัฐ หรือจะขายให้บริษัทใหญ่ รัฐบาลนี้มีหน้าที่สร้างทางเลือกให้ประชาชนเข้มแข็งด้วยตัวเขาเอง นอกจากจะมีการช่วยอย่างนี้แล้ว ก็ยังมีในส่วนของกรมวิชาการเกษตร ไปผลิตเมล็ดพันธุ์พืชให้มากกว่า 8 แสนตัน ได้สั่งไปแล้ว ต้องทำเป็นล้านตัน ก็ไม่พอ เพราะต้องใช้ถึง 6-7 ล้านตัน ต่อไปก็ขยายให้ชาวนาแต่ละกลุ่ม เช่นแปลงนี้ไม่ต้องขายเป็นข้าว แต่ให้ขายเป็นเมล็ดพันธุ์ ผมคิดตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ใช่ใครเสนออะไรมาก็รับหมด เงินมีหรือเปล่าก็ช่างมัน ผิดกฎหมายหรือเปล่าไม่รู้ก็ช่างมัน ไม่ใช่อย่างนั้น เป็นนายกฯแบบนั้นไม่ได้
     
    Anduril likes this.
  31. นายพลตัดแปะ

    นายพลตัดแปะ อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    18 Jul 2015
    คะแนนถูกใจ:
    81
  32. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  33. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    ไอ้ตัดแปะ อย่ากวนteeน
    จะโพสต์อะไรให้อยู่ในประเด็น
    กูไม่ได้ด่าเสื้อแดง กูไม่ได้ด่าไอ้แม้ว
    ถ้าคนอย่างมึงไม่มีข้อมูลอะไรมาโต้แย้ง
    อย่าเสือk อยู่นิ่งๆอุเบกขาอย่างผู้มีอารยะเป็นไหม ไอ้buffalo
     
    Last edited: 7 พ.ย. 2016
    suraphan07, gaiser, อู๋ คาลบี้ และอีก 5 คน ถูกใจ
  34. อู๋ คาลบี้

    อู๋ คาลบี้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    15 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    12,204
    สมาชิกคณะราษฎรสายทหารเรือ น.ต. หลวงศุภชลาศัย ร.น. (บุง ศุภชลาศัย) อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา ที่มีคนนำราชทินนามไปตั้งเป็นสนามกีฬามาตรฐานแห่งแรกของไทยย่านปทุมวัน โดยรื้อวังวินเซอร์เป็นพื้นที่ก่อสร้าง

    สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน นายแนบ พหลโยธิน เป็นหลานอาของพระยาพหลพลฯ หัวหน้าคณะราษฎร์
    ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี คนที่รับเจ้าฟ้าบริพัตรฯ(เจ้าคุณปู่ของคุณชายสุขุมพันธุ์) ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม
    ซึ่งเกิดจุดเริ่มต้นของบทสนทนา อันสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้ราชวงศ์
     
  35. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวลหัวหิน ได้เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติขึ้นในรุ่งเช้า ของวันที่ 24 มิ.ย. 2475 ณ ลานพระที่นั่งอนันตสมาคม หัวหน้าคณะปฏิวัตินำโดย พ.อ.พหลพยุหเสนา ซึ่งอ้างว่าสาเหตุ ที่ทำการปฏิวัติ เนื่องจากกษัตริย์ไม่สามารถปกครองประเทศให้ราษฎรมีความร่มเย็นได้ ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจในทางทุจริต และ มีการกดขี่ข่มเหงราษฎร ดังนั้น คณะราษฎรจึงได้ยึดอำนาจ เพื่อที่จะจัดการปกครองแบบใหม่ โดยมีสภาผู้แทนราษฎร
    บุคคลสำคัญฝ่ายทหารของคณะราษฎรคือ พ.อ.พระยาพหลฯ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ และพ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ
    บุคคลสำคัญฝ่่ายพลเรือนคือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(ปรีดี พนมยงค์)
    เมื่อยึดอำนาจแล้ว คณะราษฎร์ได้แต่งตั้งสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 นาย ได้จัดให้มีประชุมครั้งแรกเมื่อ 28 มิ.ย.2475 มีมติเลือกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานสภาฯ และเลือกพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็น นรม.

    หลังจากนั้นประมาณ 4 เดือนก็เกิดเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่ความแตกแยกของคณะราษฎร์ 2 เหตุการณ์ ได้แก่
    ความขัดแย้งระหว่างพระยามโนปกรณ์ฯ นรม. กับ นายปรีดี พนมยงค์ เรื่องการจัดตั้งคณะบุคคลทางการเมือง ว่าควรจะให้มีหรือไม่ให้มี
    การเสนอโครงร่างทางเศรษฐกิจแห่งชาติ(สมุดปกเหลือง) ของนายปรีดีฯ ซึ่งเป็นแนวทางสังคมนิยมที่ได้สร้างความตื่นตระหนกและมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ตัวอย่างโครงร่างเช่น ด้านการเกษตรกรรม รัฐบาลจะออกพันธบัตรซื้อที่ดินทั่วประเทศ ยกเว้น ที่อยู่อาศัย แล้วให้ชาวนาชาวไร่มีฐานะเป็นลูกจ้างของรัฐบาล ซึ่งจะได้รับเงินเดือนประจำ โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมกิจการค้าภาคเกษตรทั่งหมด ทั้งการผลิตและการขาย ซึ่งต่อมาโครงการนี้ก็ตกในการประชุมคณะรัฐมนตรี

    ต่อมาเมื่อ 20 มิ.ย. 2476 พ.อ.พระยาพหลฯกับพวกได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจ ตั้งตนเองเป็น นรม.คนที่สอง และพระยามโนปกรณ์ฯถูกขับไล่ออกไปอยู่ที่ปีนัง
    จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏบวรเดช เมื่อ 11 ต.ค.2476 โดยฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชฯฝพ่ายแพ้ รัฐบาลได้ดำเนินการกวาดล้างจับกุมฝ่ายกบฏหลายร้อยคนนำมาลงโทษทั้งจำคุกและประหารชีวิตจำนวนหลายคน เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความหวาดระแวง มีการกล่าวหาว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงเอนเอียงเข้ากับฝ่ายกบฏ ทั้งที่ไม่มีหลักฐานแต่อย่างใด เป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างพระเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาล ในที่สุดเมื่อถูกกดดันอย่างหนักพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงตัดสินพระราชหฤทัยเสด็จไปยังประเทศอังกฤษในวันที่ 12 ม.ค.2477 เหตุการณ์ครั้งนั้นมีเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์หวั่นเกรงความปลอดภัยพากันเดินทางออกนอกประเทศจำนวนมาก รวมทั้งหม่อมสังวาลย์ มหิดล พร้อมด้วยพระโอรส พระธิดา คือพระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนา พระองค์เจ้าอานันทมหิดล และ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จไปประทับ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปประทับ ณ ประเทศอังกฤษแล้ว แต่ก็ยังได้รับการกดดันจากคณะราษฎรที่ไม่ยอมรับฟังคำแนะนำทักท้วงในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะร่างกฎหมายที่ส่งมาให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์จึงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2477

    (ตัดตอนจากหนังสือเอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ โดย วิมลพรรณ ปิตธวัชชัย)
    ยังมองไม่เห็นเลยว่าตั้งแต่ปฏิวัติ 24 มิ.ย.2475 จนถึงปัจจุบัน พวกนักการเมือง โดยเฉพาะที่ชอบอ้างคำว่าประชาธิปไตยได้ทำอะไรที่ทำให้ราษฎรอยู่ร่มเย็นเป็นสุขตามที่คณะราษฎรกล่าวอ้างไว้ บางคนตั้งแต่คณะราษฎร์จนมาถึงนักการเมืองในปัจจุบันกลับร่ำรวยผิดปกติเสียด้วยซ้ำไป แน่จริงช่วยทำประวัติการเงินส่วนตัวให้ดูหน่อยว่าได้เงินมาจากอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ถึงได้มีเงินเป็นพันล้าน หมื่นล้าน
    วันนี้มีพวกที่ อยากเป็นกากเดนของคณะปฏิวัติ 24 มิ.ย. 75 ออกมาเคลื่อนไหว เขาบอกว่าคณะปฏิวัติยังทำไม่สำเร็จต้องการมารำลึกและสานต่อ พวกเขาออกมาแสดงพลังนอกสภาเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อต้องการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ร่าง พรบ.ปรองดองประสพผลสำเร็จ นี่หรือคือประชาธิปไตย วาทะกรรมที่ชอบนำมาอ้างกับประชาชนอยู่เสมอ
    กลุ่มบุคคลที่ต้องการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงแม้จะไม่มากนักแต่ก็ไว้วางใจไม่ได้ พวกนี้เจ้าเล่ห์เพทุบายเก่งกาจ ที่หนีไปต่างประเทศแล้วก็มี ที่เป็นนักวิชาการตามมหาวิทยาลัยก็มี ที่เป็นแกนนำอยู่ในมวลชนจัดตั้งก็มี ที่เป็นอีแอบคอยให้การสนับสนุนทั้งด้านแนวความคิด และ ด้านการเงินก็มี วันใดที่กลุ่มบุคคลเหล่านี้ได้เป็นใหญ่มีอำนาจในบ้านเมือง หรือ สามารถที่จะชี้นำให้รัฐบาลใดก็แล้วแต่ ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ วันนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์ จะล่อแหลมที่สุด ต่อการถูกล้มล้างไปจากประเทศไทย
    น่าเสียดายแม้แต่สื่อมวลชนที่เคยได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพ มีความเป็นกลาง อยู่ในระดับแนวหน้า วันนี้ก็เปลี่ยนแปลงไป เพราะผลประโยชน์ตัวเดียว จึงทำให้ละทิ้งอุดมการณ์ที่เคยสะสมเอาไว้ยาวนานในอดีต กลายร่างเป็นปีศาจร้ายอย่างไม่น่าเชื่อ
    ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/freedommind/2012/06/25/entry-1
     
    อู๋ คาลบี้ และ nueng93 ถูกใจ.
  36. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    ปปร บ้านโนล แครนลี ประเทศอังกฤษ
    เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลังทหาร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีหนังสืออัญเชิญข้าพเจ้าให้ดำรงในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญนั้นเพราะเข้าใจว่าพระยาพหล ฯ และพวกจะสถาปนารัฐธรรมนูญตามแบบอย่างประเทศทั้งหลาย ซึ่งใช้ในการปกครองตามหลักนั้นเพื่อให้ประชาราษฎรได้มีสิทธิที่จะออกเสียงในวิธีดำเนินการปกครองประเทศและนโยบายต่าง ๆ อันจะเป็นผลได้เสียแก่ประชาชนทั่วไป ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใส ในวิธีการเช่นนั้นอยู่แล้ว และกำลังดำริจะจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสยามให้เป็นไปตามรูปแบบนั้น โดยมิให้มีการกระทบกระเทือนอันร้ายแรง เมื่อมามีเหตุรุนแรงขึ้นเสียก่อน และเมื่อผู้ก่อการรุนแรงนั้นอ้างว่ามีความประสงค์จะสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นเท่านั้น ก็เป็นอันไม่ผิดกับหลักการที่ข้าพเจ้ามีความประสงค์อยู่เหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงเห็นควรโน้มตามความประสงค์ของผู้ก่อการยึดอำนาจนั้นได้ เพื่อหวังความสงบราบคาบในประเทศ
    ข้าพเจ้าได้พยายามช่วยเหลือในการที่จะรักษาความสงบราบคาบเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงอันสำคัญนั้นเป็นไปโดยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นได้ แต่ความพยายามของข้าพเจ้าไร้ผล โดยเหตุที่ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองหาได้กระทำให้บังเกิดมีความเสรีภาพในการเมืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นไม่ และมิได้ฟังความคิดเห็นของราษฎรโดยแท้จริงและจากรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ จึงพึงเห็นได้ว่า อำนาจที่จะดำเนินนโยบายต่างๆ นั้น จะตกอยู่แก่คณะผู้ก่อการและผู้ที่สนับสนุนเป็นพวกพ้องเท่านั้น มิได้ตกอยู่แก่ผู้แทนซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือก เช่น ในฉบับชั่วคราวแสดงให้เห็นว่าถ้าผู้ใดไม่ได้รับความเห็นชอบของผู้ก่อการจะไม่ให้เป็นผู้แทนราษฎรเลย ฉบับถาวรได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นตามคำร้องขอของข้าพเจ้า แต่ก็ยังให้มีสมาชิกซึ่งตนเลือกเองอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรถึงครึ่งหนึ่ง
    การที่ข้าพเจ้าได้ยินยอมให้มีสมาชิกสองประเภท ก็โดยหวังว่าสมาชิกประเภทที่ 2 ซึ่งข้าพเจ้าตั้งนั้น จะเลือกจากบุคคลที่รอบรู้การงานและชำนาญในวิธีดำเนินการปกครองประเทศโดยทั่ว ๆไป ไม่จำกัดว่าเป็นพวกใดคณะใด เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือนำทางให้แก่สมาชิกซึ่งราษฎรตั้งขึ้นมา แต่ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้น ข้าพเจ้ามิได้มีโอกาสแนะนำในการเลือกเลย และคณะรัฐบาลก็เลือกเอาแต่เฉพาะที่เป็นพวกของตนเกือบทั้งหมด มิได้คำนึงถึงความชำนาญ นองจากนี้คณะผู้ก่อการบางส่วนได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโครงการเศรษฐกิจของประเทศอย่างใหญ่หลวง จึงเกิดแตกร้าวกันขึ้นเองในคณะผู้ก่อการและพวกพ้องจนต้องมีการปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยคำแนะนำของคณะรัฐบาลซึ่งถือตำแหน่งอยู่ในเวลานั้น ทั้งนี้เป็นเหตุให้มีการปั่นป่วนในการเมือง ต่อมาพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกก็กลับเข้าทำการยึดอำนาจโดยกำลังทหารเป็นครั้งที่ 2 และแต่นั้นมา ความหวังที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลต่าง ๆเป็นไปโดยราบรื่นก็ลดน้อยลง
    เนื่องจากเหตุที่คณะผู้ก่อการมิได้ทำการให้มีเสรีภาพในการเมืองอันแท้จริงและประชาชนไม่ได้มีโอกาสออกเสียงก่อนที่จะดำเนินการนโยบายอันสำคัญต่าง ๆจึงเป็นเหตุให้มีกบฏขึ้นถึงกับต้องต่อสู้ฆ่าฟันกันเองระหว่างคนไทย
    เมื่อข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญเสียให้เข้ารูปประชาธิปไตยอันแท้จริง เพื่อให้เป็นที่พอใจแก่ประชาชน คณะรัฐบาลและพวกซึ่งกุมอำนาจอยู่บริบูรณ์ในเวลานี้ไม่ยินยอม ข้าพเจ้าได้ร้องขอให้ราษฎรได้มีโอกาสออกเสียงก่อนที่จะเปลี่ยนหลักการและนโยบายอันสำคัญมีผลได้เสียแก่พลเมือง รัฐบาลก็ไม่ยินยอมและแม้แต่การประชุมในสภาผู้แทนราษฎรในเรื่องสำคัญ เช่น เรื่องคำร้องขอต่าง ๆ ของข้าพเจ้า สมาชิกก็มิได้มีโอกาสพิจารณาเรื่องโดยถ่องแท้และละเอียดลออเสียก่อน เพราะถูกเร่งรัดให้ลงมติอย่างรีบด่วนภายในวาระประชุมเดียว นอกจากนี้รัฐบาลได้ออกกฎหมายปราบปรามบุคคล ซึ่งถูกหาว่าทำความผิดทางการเมืองในทางที่ผิดยุติธรรมของโลก คือ ไม่ให้โอกาสต่อสู้คดีในศาล มีการชำระโดยคณะกรรมการอย่างลับไม่เปิดเผย ซึ่งเป็นวิธีการที่ข้าพเจ้าไม่เคยใช้ในเมื่ออำนาจสิทธิขาดยังอยู่ในมือของข้าพเจ้าเองและข้าพเจ้าได้ร้องขอให้เลิกใช้วิธีนี้รัฐบาลก็ไม่ยอม
    ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้องใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้

    ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใดคณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร

    บัดนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า ความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้สิทธิออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแกประชาชนได้ต่อไปแล้ ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าขอสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมาก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันติวงศ์
    ข้าพเจ้าไม่มีประสงค์ที่จะบ่งนามผู้ใดให้เป็นผู้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป ตามที่ข้าพเจ้ามีสิทธิจะทำได้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์
    อนึ่ง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะให้ผู้ก่อการไม่สงบขึ้นในประเทศเพื่อประโยชน์ของข้าพเจ้า ถ้าหากมีใครอ้างใช้นามของข้าพเจ้าพึงเข้าใจว่ามิได้เป็นไปโดยความยินยอมเห็นชอบหรือความสนับสนุนของข้าพเจ้า
    ข้าพเจ้ามีความเสียใจเป็นอย่ายิ่ง ที่ไม่สามารถจะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติของข้าพเจ้าต่อไปได้ตามความตั้งใจและความหวัง ซึ่งรับสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังได้แต่สัตย์อธิษฐานขอให้ประเทศสยามจงได้ประสบความเจริญ และขอประชาชนชาวสยามจงได้มีความสุขสบาย

    (พระปรมาภิไธย) ประชาธิปก ปร.

    วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

    เวลา 13นาฬิกา 45 นาที
    ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/freedommind/2012/06/25/entry-1
     

Share This Page