เอเจนซีส์ - ผลประชามติที่พบว่าประชาชนชาวกรีซเกินครึ่งพร้อมใจกันโหวต “โน” ปฏิเสธเจ้าหนี้ต่างชาติ ทำให้ยุโรปเดินมาถึงจุดที่จะต้องตัดสินใจเลือก “เจ็บแบบไหน” ระหว่างการให้โอกาสสุดท้ายแก่กรีซ หรือจะยอมปล่อยกรีซหลุดออกจากกลุ่มยูโรโซนซึ่งอาจสร้างความปั่นป่วนครั้งใหญ่ต่อตลาดการเงินโลก นักวิเคราะห์เผย ผลการนับคะแนนที่เสร็จสิ้นไปแล้วพบว่า จำนวนผู้ใช้สิทธิที่โหวต “โน” สูงถึง 61% ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์สำหรับนายกรัฐมนตรี อเล็กซิส ซีปราส ซึ่งมองว่ากรีซจะมีอำนาจต่อรองกับเจ้าหนี้มากขึ้นในการทำข้อตกลงเงินกู้ใหม่และขอปรับโครงสร้างหนี้เดิม ขณะที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี และประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ได้สั่งเรียกประชุมซัมมิตผู้นำยุโรปเป็นการด่วนในวันพรุ่งนี้ (7 ก.ค.) และชี้ว่าทุกฝ่ายต้องเคารพการตัดสินใจของชาวกรีซ ที่ใจกลางกรุงเอเธนส์ ประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลต่างส่งเสียงเชียร์และสวมกอดกันและกันเมื่อทราบผลประชามติ ทว่า ชาวกรีซบางคนยังแสดงท่าทีสงสัยว่าซีปราสจะทำตามคำมั่นสัญญาได้จริงหรือไม่ ผลการนับคะแนนที่ประกาศโดยกระทรวงมหาดไทยกรีซระบุว่า ประชาชนร้อยละ 61.31 โหวต “โน” ไม่รับเงื่อนไขเจ้าหนี้ ส่วนผู้ที่โหวต “เยส” มีเพียงร้อยละ 38.69 โดยมีจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ์ทำประชามติร้อยละ 62.5 เบอร์ลิน ปารีส และบรัสเซลส์ ต่างแถลงเตือนก่อนที่จะมีการลงประชามติวานนี้ (5 ก.ค.) ว่า หากกรีซโหวต “โน” ต่อเงื่อนไขปฏิรูปของสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ก็เท่ากับโหวต “โน” ต่อการร่วมใช้สกุลเงินยูโร และจะต้องกลับไปใช้เงินสกุลดรักมาตามเดิม นักวิเคราะห์บางคนมองว่า ความเสี่ยงที่กรีซจะต้องหลุดจากกลุ่ม 19 ประเทศยูโรโซน หรือ “Grexit” อาจทำให้ผู้นำยุโรปบางคนหันมาเอออวยกับนายกรัฐมนตรี อเล็กซิส ซีปราส ในประเด็นที่ว่า ผลประชามติ “โน” ไม่ได้หมายความว่ากรีซจะต้องแตกหักกับยุโรปเสียทีเดียว “สมาชิกอียูอาจยอมให้โอกาสสุดท้ายแก้กรีซ แต่เวลาก็มีน้อยมาก และคงจะเป็นโอกาสสุดท้ายจริงๆ” นิโคลัส เวรอน นักวิเคราะห์จากสถาบันบรูเกลในกรุงบรัสเซลส์ ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี พร้อมเตือนว่า ภาวะ Grexit อาจเกิดขึ้นเร็วมาก หากผู้นำอียูไม่มีมาตรการตอบสนองอย่างทันท่วงที ผลประชามติในกรีซทำให้องค์กรเจ้าหนี้ต้องเลือกระหว่างการอ่อนข้อให้เอเธนส์เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางการเมืองจากการสูญเสียประเทศเก่าแก่ในยุโรปออกจากกลุ่มยูโรโซน หรือจะยังคงจุดยืนเข้มงวดต่อไป พรรคฝ่ายซ้ายไซรีซาของนายกรัฐมนตรีซีปราส ซึ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศเมื่อเดือนมกราคม ยืนกรานปฏิเสธเงื่อนไขรัดเข็มขัดเข้มงวดของเจ้าหนี้มาโดยตลอด และสัปดาห์ที่แล้วการเจรจาก็เริ่มเข้าสู่ทางตัน เมื่อยูโรโซนไม่ยอมต่ออายุข้อตกลงเงินกู้กรีซเกินกว่าวันที่ 30 มิ.ย. การประชุมฉุกเฉินผู้นำอียูที่กรุงบรัสเซลส์ในวันพรุ่งนี้(7) ซึ่งอาจเป็นความพยายามเฮือกสุดท้ายที่จะผลักดันข้อตกลงทางออก ก่อนที่ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) จะตัดโครงการช่วยเหลือสภาพคล่องฉุกเฉิน (อีแอลเอ) ที่ให้แก่ธนาคารกรีซ ปีเตอร์ คาซีมีร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งสโลวาเกีย ชี้ว่า “ฝันร้ายของยูโรโซนที่สมาชิกชาติใดชาติหนึ่งจะต้องออกจากกลุ่ม ดูใกล้ความเป็นจริงที่สุด หลังจากชาวกรีซตัดสินใจโหวตโนในวันนี้” ปีเตอร์ เคลปเป นักวิเคราะห์จากสถาบัน โอเพน ยุโรป ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “ผมคิดว่าปรากฏการณ์เช่นนี้จะทำให้กรีซต้องออกจากยูโรโซนในที่สุด... อียูไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นผู้ลั่นไกสังหาร... ผมมองว่าหากเวลานี้รัฐบาลกรีซไม่เตรียมตัวกลับไปใช้สกุลเงินดรักมา ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ว่าโอกาสเจรจากับรัฐมนตรีคลังยูโรโซนได้สำเร็จแทบจะเป็นไปไม่ได้ ก็ออกจะเป็นแนวคิดที่ไม่รับผิดชอบ” “ผมคิดว่าคงยาก (ที่จะหาทางออก) เพราะฉะนั้นจะมัวเสแสร้งให้เสียเวลาอันมีค่าไปทำไม ทั้งๆ ที่คุณกำลังเสี่ยงจะต้องเผชิญความปั่นป่วนทางสังคมครั้งใหญ่” เขาย้ำว่า หากไม่ได้เงินช่วยเหลือสภาพคล่องจากอีซีบี “กรีซก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะหาสกุลเงินใหม่มาใช้” ยานิส วารูฟากิส รัฐมนตรีคลังกรีซ ยืนยันเมื่อค่ำวานนี้ (5) ว่า การกลับไปใช้สกุลเงินดรักมาไม่อยู่ในแผนทางเลือก และเอเธนส์จะสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ได้ในที่สุด แต่นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่าเป็นเรื่องยากเต็มทน แอนน์ ลอเร เดอลัตเต นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส ระบุว่า พลเมืองยุโรปคงไม่ต้องการให้รัฐบาลนำเงินภาษีไปช่วยอุ้มระบบการคลังของกรีซที่เป็นเสมือน “หลุมดำ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกลุ่มบอลติก ฟินแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ “ภาวะความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น และแรงกดดันจากฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งไม่ต้องการให้เกิดวิกฤตการเงินโลกซ้ำอีก อาจจะเป็นผลดีต่อกรีซอยู่บ้าง... แต่ในขณะเดียวกันก็มีแนวคิดที่ว่ายูโรโซนคงจะเข้มแข็งกว่านี้ถ้าไม่มีกรีซเป็นตัวถ่วง และแรงกดดันจากพลเมืองยุโรป” ปล แปลเป็นภาษาคนง่ายๆว่า เรายอมออกจาก ยูโรโซน แต่ไม่ยอม รัดเข็มขัดแน่นอน...
ประชานิยม - เราจะเอา ยูโรโซน - เราจะอยู่(ถ้าเขายอมนะ ไม่ยอมก็ออกแม่ม555+) หนี้เน่า - เราไม่เข้าแผน = เราไม่จ่าย เหอๆ เฮ้ ฮ้ ฮ้ ฮ้ เย้.......... มีไรป่ะ
รู้สึกเหมือนแสดงประชามติไม่ให้สุนัขรับประทานอุจจาระ ข้อเท็จจริงสุนัขไม่สนหรอกครับว่าประชามติคืออะไร ว่ายังไง ไม่ว่าสุนัขแพงหรือถูกก็รับประทานกันทุกตัว
ชัยชนะของประชาธิปไตยในความพ่ายแพ้ของประเทศ ถ้าต้องกลับไปใช้เงินสกุลเก่านี่เงินเฟ้อกระจาย ค่าเงินเติมศูนย์ไปข้างหลังอีกไม่รู้กี่ตัว พิมพ์เงินเพิ่มจนเป็นเศษกระดาษแบบประเทศแถบแอฟริกา นี่ยังไม่พูดถึงว่าจะทำมาค้าขายนอกจากต่างประเทศจะไม่รับเครดิตแล้วคงจะไม่เสี่ยงเอาเงินสกุลแดรกม่าแน่ๆ
เคยดูรายการอะไรสักอย่างเนี้ยแหละ พาไปเที่ยวไซปรัสกรีซ กับไซปรัสตรุกี จริงๆก็เกาะเดียวกันนะครับ แต่ถูกแบ่งกัน แล้วเค้าคุยกับคนขับแท็กซี่ แกบอกว่าไม่ค่อยชอบคนไซปรัสกรีซ เพราะพวกนี้เป็นคนขี้เกียจ ตอนนั้นฟังก็นึกว่า แค่เขารู้สึกไม่ดีกันเฉยๆ เลยพูดอะไรแบบนั้นออกมา มาถึงตอนนี้ สงสัยตอนนี้มันคงจะจริงแล้วมั้ง
มีคนบอกว่า หากกรีซยอมก้มหน้าก้มตาเป็นทาสใช้หนี้ที่ไม่มีวันหมดไปชั่วลูกชั่วหลาน กรีซคงเป็นประเทศสุดโลกสวย แต่ในความจริงโลกมันโหดร้าย กรีซไม่ใช่ประเทศโลกสวย และกรีซพร้อมทำทุกอย่างเพื่อทางรอดของตนเอง แม้จะต้องเป็นคนเลว พาเพื่อนไปตายด้วยก็ตาม หากยอมรับเงื่อนไขของเจ้าหนี้ กรีซ จะไม่มีวันลืมตาอ้าปากได้ ตลอดระยะเวลา อย่างน้อย 50 ปีแน่นอน แต่หากไม่ยอมรับ มันคือการไปตายเอาดาบหน้า มีความหวังว่าจะรอด แม้เพียงน้อยนิดแทบเรียกปาฎิหารก็ตาม แต่ชาวกรีซบางคนก็คิดว่าพร้อมจะสู้ ยอมลำบาก ยอมเลว ยอมไม่มีใครคบ เพื่อเกิดใหม่ ดีกว่าเป็นทาสไปชั่วกาลนาน แน่นอนว่า เค้าอาจคิดผิดก็ได้ เป็นทาสอย่างน้อยก็ไม่อดตาย แม้ยาวนาน ลูกหลานอาจปลดแอกได้ซักวัน แต่ ถ้าเลือกแบบนี้ ทำไม่ได้ มีแต่ตายกับตาย อนาคตลูกหลานก็ไม่มีทางได้เห็น แต่ชาวกรีซ ก็ได้เลือกทางไปแล้ว ทางที่ไม่อาจหวนคืนได้อีก
จำไว้ครับเสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่ามติมหาชน หาก EU กับ IMF ยังดื้อแพ่งไม่ยอมทำตาม นั่นเท่ากับเป็นปฏิปักษ์ต่อความถูกต้อง เสียงส่วนใหญ่ และระบอบประชาธิปไตย!
ต้องเอาโหวต Yes/No มารวมกันแล้วนับคะแนนสู้กันครับ ระบอบประชาธิปไตยทุกอย่างต้องตัดสินด้วยเสียงส่วนใหญ่เท่านั้น
เห็นด้วยมากครับ ผมว่ากรีซจะเดือดร้อนแสนสาหัส ถ้าเงินกรีซไม่มีมูลค่าในตลาดโลก เพราะไม่มีใครเชื่อถือและคบค้า กลายเป็นการทำการค้าขายในตลาดโลกไม่ได้ สุดท้ายสินทรัพย์ที่มีอยู่เสื่อมค่าลงจนแทบหมดค่า ยกเว้นทรัพยากร เช่น สินแร่ ทอง ป่าไม้ แรงงาน ผมเชื่อว่าการเมืองต้องการเสียงโหวตโน เพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการเจรจากับเจ้าหนี้ เพราะเชื่อว่าเจ้าหนี้ไม่อยากให้หนี้สูญ อยากได้หนี้คือก็ต่อรอง ไม่มีไม่หนีไม่จ่าย เลยเอาประชาชนมาพิง เป็นยันต์กันผี แต่ผมคิดว่าเป็นวิธีคิดที่ผิดมากมาก สุดท้ายประชาชนชาวกรีซเองจะทนไม่ได้ เนื่องจากเศรษฐกิจหายนะ ไม่มีจะกิน ไม่มีไม่หนีไม่จ่ายเหมือนกัน และจะไม่เห็นทางสว่างที่จะกลับมา นอกจากขุดเจอทองโกโบริ
เห็นนักข่าวกรีซรายงาน OXI ที่โหวตกันนี่ คือไม่รับมาตรการรัดเข็มขัด แต่ว่าไม่ให้ออกจากอียู ไม่ได้หมายความว่าไม่รัดแล้วจะออก อีรุงตุงนังมากๆคนกรีซตอนนี้
ความจริงคือ คนกรีซขี้เกียจมากนะฮะ และเสพติดประชานิยมมากๆด้วย เช่น ถึงเวลาเลิกงาน ไม่ว่าทำอะไรค้างอยู่เขาจะทิ้งงานทันที แถมเจ้านายไม่มีสิทธิ์ไล่ออกด้วยเพราะกฎหมายแรงงานคุ้มครอง และบางครั้งไม่มีงานทำยังได้เงินสวัสดิการมากกว่าไปทำงานด้วยซ้ำไป คือต่อให้เจ้าหนี้ยกหนี้ให้ทั้งหมด กรีซก็จะกลับมามีปัญหาเดิมๆอีกในเวลาไม่ถึง10ปี
หมูที่ถูกเลี้ยง มันไม่หาอาหารกิน หน้าที่มันกินอย่างเดียว ต่อให้ย้อนเวลากลับไป ทั้งเจ้านี้ลูกหนี้ มันก็จะทำอย่างนี้อีก ก็ถึงขั้นประชามติ ต่อให้ไทยก็ด้วย มันก็จะเอาอีกเหมือนเดิม จำนำหมื่นห้า รถคันแรก ชั่วร์
เสนอให้กรีก เก็บลิขสิทธิ์ ระบอบประชาธิปไตย จากทุกประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย "ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์ http://www.bbc.co.uk/history/ancient/greeks/greekdemocracy_01.shtml https://th.wikipedia.org/wiki/ประชาธิปไตย
ล่าสุด สหภาพยุโรป เริ่มเดินหน้าบีบกรีซ นำโดยเยอรมันและฝรั่งเศส เยอรมนี-ฝรั่งเศสเดินหน้าบีบกรีซประนอมหนี้ | เดลินิวส์ „เยอรมนี-ฝรั่งเศสเดินหน้าบีบกรีซประนอมหนี้ เยอรมนีและฝรั่งเศสซึ่งเป็น 2 ประเทศมหาอำนาจของยูโรโซน เรียกร้องให้กรีซยื่นข้อเสนอฟื้นฟูเศรษฐกิจที่มี "ความจริงจัง" หลังเสียงส่วนใหญ่ของชาวกรีกไม่ต้องการมาตรการรัดเข็มขัดอีกต่อไป วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม 2558 เวลา 7:50 น. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ว่านายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ผู้นำเยอรมนี แถลงเมื่อวันจันทร์ หลังเสร็จสิ้นการประชุมร่วมกับประธานาธิบดีฟรงอซัวส์ ออลลองด์ ที่กรุงปารีส ว่ายังไม่มีการหารือเกี่ยวกับเงื่อนไขใหม่สำหรับโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจของกรีซ เนื่องจากเป็นสิ่งที่รัฐบาลเอเธนส์ต้องเป็นฝ่ายตั้งประเด็นขึ้นเองเพื่อให้หน่วยงานเกี่ยวข้องพิจารณาว่า ข้อเสนอเหล่านั้นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของชาวกรีกเป็นสำคัญหรือไม่ ขณะที่ผู้นำฝรั่งเศสกล่าวว่า ข้อเสนอของกรีซต้องมี "ความจริงจัง" มากกว่าในอดีต และยืนยันความพร้อมของยูโรโซนในการเจรจากับรัฐบาลเอเธนส์ เพื่อร่วมกันหาทางออกจากวิกฤติครั้งนี้ โดยผู้นำ 19 ประเทศสมาชิกยูโรโซนมีกำหนดประชุมฉุกเฉินร่วมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้ เพื่อพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหม่ของนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ผู้นำกรีซ หลังผลการลงประชามติของชาวกรีกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ปรากฏว่าร้อยละ 61.3 ไม่ต้องการปฏิบัติตามมาตรการรัดเข็มขัดอีกต่อไป ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( ไอเอ็มเอฟ ) หนึ่งในเจ้าหนี้กลุ่ม "ทรอยกา" ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป ( อีซี ) และธนาคารกลางยุโรป ( อีซีบี ) ออกแถลงการณ์เรื่องการมอบความสนับสนุนแก่กรีซตามหลักการ แต่ปฏิเสธเรื่องการพิจารณามอบเงินช่วยเหลืองวดใหม่ในเวลานี้ เนื่องจากรัฐบาลเอเธนส์ไม่สามารถชำระหนี้งวดล่าสุดมูลค่า 1,500 ล้านยูโร ( ราว 56,400 ล้านบาท ) คืนให้แก่ไอเอ็มเอฟภายในกำหนด คือวันที่ 30 มิ.ย. ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎระเบียบในการกู้ยืม ส่วนที่ประชุมของอีซีบีออกแถลงการณ์ในเวลาไล่เลี่ยกัน ปฏิเสธขยายเพดานเงินกู้ในกองทุนช่วยเหลือสภาพคล่องฉุกเฉิน ( อีแอลเอ ) สำหรับภาคธนาคารของกรีซ หมายความว่ายังเป็นการคงระดับเดิมที่ใช้มาตั้งแต่วันที่ 26 มิ.ย. คือ 89,000 ล้านยูโร ( ราว 3.34 ล้านล้านบาท ) และทำให้ธนาคารในกรีซยังคงต้องปิดบริการต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 8 ก.ค. เป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ อีซีบี หน่วยงานซึ่งรัฐบาลเอเธนส์ค้างชำระอยู่ 144,600 ล้านยูโร ( ราว 5.43 ล้านล้านบาท ) ออกแถลงการณ์ให้กรีซเข้าสู่สถานะผิดนัดชำระหนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันศุกร์ที่แล้วด้วย“ อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/foreign/333109
รบ.กรีซตั้งซาคาโลตอสขึ้นนั่งรมต.คลังคนใหม่ ข่าวต่างประเทศ วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2558 8:22น. "ยูคลิด ซาคาโลตอส" ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังคนใหม่ของประเทศ โดยรัฐบาลกรีซหวังช่วยลดทอนความไม่พอใจของผู้นำยูโรโซน สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ทำเนียบประธานาธิบดีระบุในถ้อยแถลงว่า นายยูคลิด ซาคาโลตอส สาบานตนเข้ารับตำแหน่งตอนเวลา 17.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเมืองไทย เวลาประมาณ 24.00 น. ทั้งนี้ นาย ซาคาโลตอส คือหัวหน้าคณะเจรจาความช่วยเหลือกับเหล่าเจ้าหนี้ระหว่างประเทศและเป็นนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ที่พูดจานุ่มนวล ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นตามหลังการลาออกจากตำแหน่งก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันของ นายยานิส วารูฟากิส อดีตรัฐมนตรีคลังกรีซ ที่สร้างความไม่พอใจให้เพื่อนชาติสมาชิกในยูโรโซน ด้วยการเจรจาที่ไม่เดินไปตามกรอบตามแบบแผน รวมทั้งรณรงค์เรียกร้องให้ประชาชนชาวกรีซโหวตโน ในการลงประชามติ โดยกล่าวหาว่าพวกเจ้าหนี้ของกรีซเป็นผู้ก่อการร้าย ทั้งนี้ นายซาคาโลตอส วัย 55 ปี เกิดที่รอตเตอร์ดัมและจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด เคยศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเคนท์ในสหราชอาณาจักรระหว่างปี 1990 ถึง 1993 ก่อนกลับไปใช้ชีวิตในเอเธนส์ ทั้งนี้เขากลายเป็นแกนหลักของกรีซในการเจรจากับอียูและไอเอ็มเอฟในเดือนเมษายน หลังจาก นายวารูฟากิส สร้างความไม่พอใจระหว่างการติดต่อประสานงานกับเหล่ารัฐมนตรีต่างประเทศยูโรโซนคนอื่นๆ ที่มา http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=630047
ที่กรีซมาถึงวันนี้ก็เพราะ รัฐบาลมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ตอนนี้ยังไม่รู้สำนึกไม่ยอมรัดเข็มขัด คิดว่าอีกไม่ถึงปีรัฐก็ไม่มีแม้กระทั่งเงินเดือนข้าราชการ ตอนนั้นรับรองเกิดจราจลปล้น จี้ เผา แน่ ๆ หลังประชามติออกมาแบบนี้ พวกคนรวยที่พอมีทางไปคงยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินบางส่วนออกนอกประเทศแน่
เท่าที่ดูข่าว คนที่พอมีเงินนี่แลกเงินเป็นดอลล่าห์ไปไว้ต่างประเทศหมดตั้งแต่ก่อนมีเจรจารอบสุดท้ายด้วยครับ ที่ซวยคือชนชั้นกลางที่มีเงินเก็บนิดหน่อยแต่ไม่ได้มากขนาดแลกเอาไปไว้ต่างประเทศได้ คนระดับนี้เจ็บหนักสุดๆเพราะจะไปไหนก็ไม่ได้เลย พอเจรจารอบสุดท้ายล่ม ธนาคารปิดแล้วบังคับให้ถอนเงินวันนึงได้ไม่เกิน 60 ยูโรต่อคนนี่ยิ่งแย่ -.-*
กำลังอ่านเพลิน ๆ เจอความเห็นของท่านหงส์เข้า ไอเดียเจ่มสุด ๆ เลย กรีกมันมีดีตรงนี้เอง เก็บค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร อะไรก็ว่าไป ถ้าผมเป็นคนกรีกนะ แล้วพิสูจน์ได้ว่าสืบเชื้อสาย DNA มาจากคนกรีกโบราณ งานนี้มีเฮ