เผยแพร่ พรฎ.เก็บภาษี โรงเรียนกวดวิชา มีผล 11 ก.ค.58 ยกเหตุ ที่ผ่านมาประกอบธุรกิจเพื่อแสวงหากําไรมากกว่า เพื่อจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดความเสมอภาค เป็นธรรม มีผล 11 ก.ค.58 ราชกิจจานุเบกษาวันนี้ ( 10 ก.ค.58) เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๘๘) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีเนื้อหาสาระสำคัญคือ “มาตรา ๓ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวล รัษฎากร สําหรับเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังต่อไปนี้ (๑) กําไรสุทธิที่ได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่ไม่รวมถึง กําไรสุทธิที่ได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ตอนท้ายระบุหมายเหตุว่า เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการดําเนินกิจการของโรงเรียน นอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนบางประเภท มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจเพื่อแสวงหากําไรมากกว่า เพื่อจัดการศึกษา ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคลสําหรับกิจการโรงเรียนเอกชนที่มุ่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้าร่วมพัฒนาการศึกษา สมควรปรับปรุง การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สําหรับกําไรสุทธิที่ได้รับจากการประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือกิจการสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเสียใหม่ โดยไม่รวมถึงกําไรสุทธิและเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกําไรที่ได้รับจากการประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน นอกระบบประเภทกวดวิชาที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/061/4.PDF http://www.isranews.org/isra-news/item/39819-isranews_39819.html#.VZ_VYDwoN-E.facebook .................................................................................. ข้อดีของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง คือไม่ต้องกังวลเรื่องคะแนนเสียง ................................................................. ว่าไปแล้วมีความพยายามจาก ป.ป.ช. มาตั้งแต่ปี 2554 โดยมองว่าโรงเรียน/สถาบันกวดวิชาเริ่มแรกจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ให้เด็ก จึงได้รับการยกเว้นภาษี แต่ต่อมากลายเป็นธุรกิจ ใช้ชื่อครูดังๆ เพียงคนเดียวตั้งโรงเรียนกวดวิชาทั่วประเทศ โดยให้เรียนกับวิดีโอเทป ธุรกิจมีกำไรอย่างมาก จึงไม่ควรได้รับการยกเว้นภาษีอีกต่อไป ประกอบกับขณะนั้นได้รับการร้องเรียนว่าข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ที่ดูแลใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน/สถาบันกวดวิชา น่าจะมีการรับอามิสสินจ้างหรือไม่ เนื่องจากอนุญาตให้เปิดกันมาก แต่ไม่มีการดูแล อย่างไรก็ดี การผลักดันเรื่องนี้ ไม่เคยสำเร็จสักรัฐบาล ด้วยเกรงว่าโรงเรียน/สถาบันกวดวิชาจะผลักต้นทุนค่าใช้จ่ายไปให้ผู้ปกครอง http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=39766&Key=hotnews ...................................................................................
ต่อไปก็คงจะมีคนโวยเรื่อง ค่าใช้จ่ายในการกวดวิชา แน่นอน........... บางทีก็คิดว่า ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา บ่งบอกถึงปัญหาของการศึกษาในระบบอยู่เหมือนกัน
สมควรโดน ***หากำไรจากเด็ก มานานมากแล้ว ***หากำไรจากความรัก ที่พ่อแม่มีต่อลูกหลาน ***ทำธุรกิจแบบค้ากำไรเกินควรอีกด้วย
เห็นด้วยเต็มที่ เพราะเดี๋ยวนี้ ขนาดเรียนอนุบาลยังต้องเรียนพิเศษ เด็กแทบไม่มีเวลาได้เล่นสนุก ให้ตรงตามวัย "ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา บ่งบอกถึงปัญหาของการศึกษาในระบบอยู่เหมือนกัน"
ลองอ่านคำสัมภาษณ์ เจ้าของกวดวิชาเมื่อต้นปีสิครับ นายธเนศ เอื้ออภิธร ผู้อำนวยการและผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันโรงเรียนกวดวิชาสอนภาษาอังกฤษ Enconcept-E-Academy กล่าวว่า รายได้โรงเรียนกวดวิชาที่จดทะเบียนถูกต้อง น่าจะอยู่ที่หลักพันล้านบาท เพราะไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชาทุกแห่งจะประสบความสำเร็จ เนื่องจากปัจจุบันเปิดเยอะมาก เช่น กลุ่มนักเรียนทุนรัฐ นักเรียนโอลิมปิกวิชาการก็มาเปิด การเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา เป็นการมองปัญหาไม่ตรงประเด็น ด้านหนึ่งบอกว่าต้องการแก้ปัญหาคุณภาพการเรียน แต่อีกด้านก็มองเรื่องรายได้จากภาษี ทั้งหมดนี้อยากให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างโรงเรียนกวดวิชากับกระทรวงการคลังและ ป.ป.ช. ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการพูดคุยกัน นายอนุสรณ์ ศิวะกุล นายกสมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนกวดวิชา และผู้บริหารโรงเรียนกวดวิชาวรรณสรณ์ หรือเคมี อาจารย์อุ๊ กล่าวว่า ประเด็นนี้กลุ่มโรงเรียนกวดวิชาที่จดทะเบียนถูกต้องได้พูดคุยกันก่อนหน้านี้ว่าการเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาที่เป็นลักษณะการประกอบธุรกิจ จะเป็นปัญหากับโรงเรียนกวดวิชา เช่น การจัดทำระบบบัญชี เพราะในส่วนของสาขาไม่ได้สนับสนุนให้จัดเก็บภาษี เพราะไม่ได้เปิดในรูปบริษัท และส่วนใหญ่จะทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบพื้นๆ ใบเสร็จที่ย้อนไปในอดีตไม่ได้เก็บไว้ เพราะไม่ได้กำหนดให้สำแดงในการเสียภาษี เป็นต้น การจัดเก็บภาษีดังกล่าว ภาระต้องตกไปอยู่ที่ผู้บริโภคแน่นอน เพราะโรงเรียนกวดวิชาต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนของการเสียภาษี และต้นทุนส่วนอื่นๆ เช่น ต้นทุนการตรวจสอบบัญชี เป็นต้น ประเมินแล้วน่าจะปรับค่าเล่าเรียนขึ้นคอร์สละ 7-8% ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนกวดวิชาได้รับการยกเว้นภาษี แต่ สช. ได้กำหนดไว้ในระเบียบว่าเมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้ว จะต้องมีกำไรไม่เกิน 20% ต่อปี ทั้งนี้ ปัจจุบันมีโรงเรียนกวดวิชาทั่วประเทศกว่า 1 หมื่นแห่ง แต่ที่ขออนุญาตถูกต้องมีประมาณ 3 พันแห่ง ที่เหลือไม่ได้ขออนุญาตจัดตั้ง http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=39766&Key=hotnews ...................................................................................... สุดท้ายก็ปัดภาระให้ผู้บริโภค
แค่กำไรลดลง แต่ไม่อยากให้กำไรลดลงก็ปัดภาระให้ลูกค้าจ่ายเพิ่มแทน อย่าอ้างกำไรไม่เกิน 20% ผมมีคนรู้จักอยู่วงการนี้เป็นติวเตอร์ชื่อดัง ปีนึงมีรายได้หลายสิบล้านบาท เอาง่ายๆบางคนที่เคยเป็นข่าวจบหมอยังเลือกที่จะเป็นติวเตอร์มากกว่าหมอ เพราะรายได้ที่ดีมากมาก ต้นทุนแค่คนสอน ค่าเอกสารจิ๊บจ๊อยมาก แถมบางที่สอนอัดวิดีโอเอาไปวนสอนต่างจังหวัดหรือสอนวันอื่นกะลูกค้าคนอื่น บางที่จ้างคนมาสอนก็ให้เขาไม่กี่ตัง ค้ากำไรกันมากมาย