ผมไม่เชื่อประวัติของฉินซีฮ่องเต้"บางส่วน"ที่เขียนโดยนักประวัติศาสตร์ฝั่งตะวันตกบางคน ที่เขียนให้โหดเกินจริง เช่นเรื่องคำสั่งประหารขันทีคนใกล้ชิดเกือบร้อยคน เพียงเพราะหาคนสารภาพผิดในคดีหนึ่งไม่ได้ เพราะถ้าเขาโหด+โง่ ขนาดนั้นจริง ป่านนี้เขาโดนโค่นก่อนจะเรืองอำนาจแน่ๆ...จริงอยู่เขาอาจโหดกับชาวบ้านธรรมดา นักโทษ หรือศัตรูได้ แต่กับคนใกล้ชิดที่เป็นฐานอำนาจสำคัญนั้น มันเสี่ยงมากเกินไป คิดตามหลักสังคมง่ายๆ ทั้งขันทีและคนใกล้ชิด 100 คนนั่น ย่อมมีเครือข่ายเชิงอำนาจต่อกัน ไม่ต่างกับชิมแปนซีเบอร์ 2 และ 3 ซึ่งเบอร์ 1 จำเป็นต้องพึ่งพา ถ้าไปทำให้พวกนั้นเกลียดชังเข้าพร้อมๆกันเมื่อไหร่จุดจบอยู่แค่เอื้อมแน่ๆ...เว้นแต่ฉินซีจะเป็นเฮอคิวลิสที่รบได้เองโดยไม่ต้องพึ่งลูกน้องเลยสักคน(แล้วถ้างั้นเขาจะรวบรวมกองทัพไปทำไม?)
(หนังสือของคุณหมอเอ้ว ชัชพล เกียรติขจรธาดา ชื่อเรื่อง 500 ล้านปีแห่งความรัก กับ เรื่องเล่าจากร่างกาย) ทำให้ผมได้ความรู้และแง่คิดที่เชื่อมโยงพฤติกรรมของมนุษย์ สัตว์ หรือแม้แต่พืช กับกลไกวิวัฒนาการและการคัดเลือกทางธรรมชาติได้
ในทางกลับกัน หัวหน้าแก๊งหรือหัวหน้าองค์กรเอง ก็ต้องวางตัวเองอยู่ภายใต้ระเบียบอย่างเข้มงวดเช่นกัน เพราะถ้าตัวเองรักษาระเบียบไม่ได้ สุดท้ายผู้ใกล้ชิดทั้งหลายก็อาจหมดความเชื่อถือและพร้อมใจกันแปรพักตร์ได้