ทำไมทหารทำอะไรไม่ได้ สตง. สั่งสอบการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมา คนจะเป็นผู้ว่าเลยอดใหญ่เลย

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย Kop16, 25 Jan 2015

  1. Kop16

    Kop16 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    5 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,461
    “สตง.”สั่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสัญญาที่ 2 หลัง รฟม.ส่งข้อมูลพบว่าเกิดความเสียหาย 290 ล้านบาท โดยมี “สราวุธ เบญจกุล”เป็นประธาน


    นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้ส่งหนังสือถึงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) พิจารณาทบทวนการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย สัญญาที่ 2 ช่วงสนามไชย-ท่าพระ ให้เป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบและข้อกำหนดในสัญญา ว่า ทางรฟม.ได้ทำหนังสือชี้แจงมายัง สตง.แล้ว โดยการเปลี่ยนแปลงการผลิต ติดตั้งและก่อสร้าง ในเรื่องความแตกต่างจากข้อมูลชั้นดินในระหว่างการประกวดราคา ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการบรรเทาความเสี่ยงจากวิธีการลดระดับน้ำ(Dewatering) มาเป็นวิธีการเพิ่มเสถียรภาพของชั้นดิน(Grout Blenket) ที่ทางผู้รับเหมาและบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการนั้น ถือว่าไม่เป็นไปตามสัญญา และส่งผลให้ รฟม. เกิดความเสียหายจากที่ต้องมีการเพิ่มมูลค่างานถึงจำนวน 290 ล้านบาท และจะต้องมีการขยายระยะเวลาในการก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาอีก 90 วัน


    “สตง.พิจารณาแล้ว เห็นควรให้ รฟม. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว หากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า การดำเนินการดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฏหมาย ระเบียบและข้อกำหนดในสัญญา ขอให้ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามกฏหมายหรือระเบียบที่กำหนดไว้ต่อไปด้วย”นายพิศิษฐ์ กล่าว


    รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แจ้งว่า รฟม.ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวแล้ว โดยคณะกรรมการประกอบไปด้วย นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นประธาน คณะกรรมการประกอบด้วย ร่นชัยยศ ปัญจบุตรชัย นายสุชิน ศศิประภากุล และมีผู้อำนวยการกองคดีและวินัยฝ่ายกฏหมาย รฟม. เป็นเลขานุการ โดยหากพบว่ามีผู้กระทำผิด ผู้ร่วมกระทำผิดหรือสนับสนุนการกระทำผิดทางวินัยบให้คณะกรรมการรายงานผลสอบข้อเท็จจรองมาเพื่อพิจารณาด้วย

    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1421932771

    ต่อมาตั้ง กรรมการสอบวินัยเลย

    ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง “ว่าที่ผู้ว่าการ รฟม.” หลังสตง.ชี้ เอื้อประโยชน์เอกชนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สัญญาที่ 2 ทำให้รัฐเกิดความเสียหาย 290 ล้านบาทและต้องขยายเวลาก่อสร้างไปอีก 90 วัน



    รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม หลังจากที่ สตง. ได้มีการตรวจพบว่า มีผู้บริหารของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อสัญญาในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สัญญาที่ 2 ช่วงสนามไชย-ท่าพระ ส่งผลให้ รฟม. เกิดความเสียหายจากการที่ต้องเพิ่มมูลค่างานถึงวงเงิน 290 ล้านบาท และต้องมีการขยายระยะเวลาในการก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาอีก 90 วัน



    ข่าวแจ้งว่า หลังจากที่รฟม. ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีนายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นประธาน โดยมีข้อสรุปว่า ข้อมูลตามที่ สตง.ได้มีการระบุว่า รฟม. ได้มีการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับเหมานั้น เป็นความจริง



    “สำหรับเรื่องการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงงานนั้น ผู้ว่าการ รฟม. ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการ รฟม. ได้มีการแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่โครงการสำหรับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการโครงการ รองผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างด้านบริหารงานก่อสร้าง และผู้จัดการโครงการสัญญาที่ 2 ซึ่งมีอำนาจในการควบคุมการปฏิบัติการทั้งหมดให้เป็นไปตามสัญญาว่าจ้างและสัญญาสัมปทาน แต่กลับทำให้ รฟม. เกิดความเสียหาย วงเงิน 290 ล้านบาทและขยายระยะเวลาก่อสร้างอีก 90 วัน ถือเป็นการกระทำโดยประมาทต่อหน้าที่และผิดวินัยตามข้อบังคับของรฟม.”



    ข่าวแจ้งว่า ดังนั้น รฟม. จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง ในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในโครงการดังกล่าว โดย 1 ในผู้ที่ถูกตั้งกรรมการวอบวินัยร้ายแรกงได้แก่ นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและโยธา) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการ โดยคณะกรรมการสอบวินัยรายแรงประกอบด้วย นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ อดีตอธิบดีกรมที่ดิน เป็นประธาน และกรรมการประกอบด้วย นายพินัย อนันตพงศ์ ศาตราจารย์ ดร.ประกอบ วิโรจนกูฎ โดยมีผู้อำนวยการกองนิติการ ฝ่ายกฏหมาย รฟม. เป็นเลขานุการ โดยให้เสนอผลการสอบสวน พร้อมทั้งกำหนดโทษที่ผู้กระทำผิดสมควรได้รับต่อผู้ว่าการ รฟม.พิจารณาสั่งการต่อไป



    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพีระยุทธ เพิ่งจะผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ รฟม. ให้เป็นผู้ว่าการ รฟม. คนใหม่ เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาผลตอบแทนกับทางกระทรวงการคลัง ก่อนที่จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ให้ความเห็นชอบต่อไป


    http://m.matichon.co.th/readnews.php?newsid=1422179333

    ทหารทำอะไรบ้างดิ
     
  2. Kop16

    Kop16 อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    5 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,461

    “สตง.” สั่ง”รฟม.” ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน หลังพบมีการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมาอย่างน้อย 290 ล้านบาท สั่งชี้แจงด่วน


    14218398421421839859l.jpg

    รายงานข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) แจ้งว่า เมื่อเร็วๆนี้ สตง.ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ในสัญญาที่ 2 ช่วงสนามไชย-ท่าพระ โดย สตง. ได้รับทราบข้อมูลว่าระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ชั้นดินบริเวณสถานีสนามไชยมีความแตกต่างจากข้อมูลชั้นดินในระหว่างการประกวดราคา ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการบรรเทาความเสี่ยงจากวิธีการลดระดับน้ำ(Dewatering) มาเป็นวิธีการเพิ่มเสถียรภาพของชั้นดิน(Grout Blenket) โดยที่ปรึกษาโครงการได้พิจารณาร่วมกับผู้รับจ้างและเห็นชอบในหลักการดังกล่าว และได้มีการเสนอต่อคณะอนุกรรมการบริหารโครงการก่อสร้างขออนุมัติหลักการด้านเทคนิคและเสนอต่อคณะกรรมการ รฟม. เพื่อขอเปลี่ยนแปลงงาน โดยอาศัยเงื่อนไขสัญญาจ้างข้อที่ 17 ที่มีสาระเป็นการเปลี่ยนแปลงการผลิต ติดตั้งและก่อสร้าง ทำให้ผู้รับจ้างสามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มได้

    ข่าวแจ้งว่า สตง.ยังระบุว่า การเรียกร้องตามสัญญาข้อที่ 17 ทำให้มูลค่างานที่รฟม.ต้องจ่ายให้ผู้รับจ้างเพิ่มขึ้น 290 ล้านบาท และยังต้องมีการขยายเวลาการก่อสร้างไปอีก 90 วัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวขัดกับหลักการในสัญญาข้อที่ 13 ที่กำหนดให้ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องสำรวจพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด และผู้รับจ้างต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงเอง ดังนั้น เหตุใดๆที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาในสัญญาข้อที่ 13 ที่เกิดขึ้นภายหลังการลงนามสัญญา ถือว่าผู้รับจ้างได้รับรู้แล้ว โดยต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงเอง จะอ้างว่าเป็นข้อมูลที่เพิ่งทราบไม่ได้ เพราะข้อสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาได้รับทราบแล้วและห้ามเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือขยายเวลาโดยปราศจากข้ออ้างใดๆ ที่จะเป็นเหตุเรียกร้องได้

    "สตง.เห็นว่า หากข้อมูลที่ได้รับมีมูลดังกล่าว การที่รฟม.มีการเปลี่ยนแปลงงาน ทำให้มีมูลค่างานเพิ่มขึ้น 290 ล้านบาทและขยายเวลาการก่อสร้างอีก 90 วัน ซึ่งหากก่อสร้างไม่เป็นไปตามกำหนด ผู้รับจ้างจะต้องเสียค่าปรับประมาณวันละ 7 ล้านบาท ทั้งที่สัญญาข้อที่ 13 กำหนดชัดเจนว่าผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องสำรวจพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดและต้องรับความเสี่ยงเอง ดังนั้นเรื่องนี้อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการได้ ดังนั้น จึงให้ รฟม.ทบทวนการดำเนินการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบและข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว และต้องแจ้งผลการพิจารณาพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกลับมายังสตง.ภายใน 15 วัน"

    ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า สำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ในสัญญาที่ 2 ช่วงสนามไชย-ท่าพระนั้น เป็นงานก่อสร้างงานอุโมงค์ใต้ดิน โดยตามกำหนดการคาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 3 กันยายน 2559 โดยขณะนี้มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างประมาณ 70%

    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1421839842
     
    kokkai likes this.

Share This Page