ตุรกีแฉ ยุโรปส่งออก“มุสลิมหัวรุนแรง” คนยุโรปบินพร้อมอาก้าเข้าตุรกี

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย จูกัดขงเบ้ง, 27 Mar 2016

  1. จูกัดขงเบ้ง

    จูกัดขงเบ้ง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    11 Sep 2015
    คะแนนถูกใจ:
    394
    บรัสเซลส์ล้มเหลว!! ตุรกีแฉต่อ ยุโรปต้องการส่งออก “พวกมุสลิมหัวรุนแรงของตัวเอง” ไปซีเรีย หลังพบพลเมืองนอร์เวย์ถือ AK-47 เข้าอิสตันบุลเพื่อญิฮัด
    26 มีนาคม 2559 16:16 น. (แก้ไขล่าสุด 26 มีนาคม 2559 16:35 น.)
    เอเจนซีส์ - ตุรกีออกมาให้ข้อมูลล่าสุด จากเหตุเบลเยียมถูกโจมตีในการให้สัมภาษณ์พิเศษ ยุโรปล้มเหลวในการปกป้องพรมแดนจากก่อการร้าย ไม่ยอมร่วมมือทางด้านการข่าวกรองกับอังการา และยังจงใจมุสลิมหัวรุนแรงภายในประเทศของตัวเองไปยังซีเรีย เพราะไม่ต้องการให้คนพวกนี้อยู่ในทวีบยุโรปต่อไป

    เดอะการ์เดียน รายงานเมื่อวานนี้ (25 มี.ค) ว่า แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ตุรกีได้ให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับยุโรป และการต่อต้านก่อการร้าย ซึ่งมีความกังวลมากขึ้นหลังจากเกิดเหตุโจมตีบรัสเซลส์

    ซึ่งในการให้สัมภาษณ์ได้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของชาติสมาชิกยุโรป เกิดมาจากการที่นักรบญิฮัดต่างชาติสามารถเดินทางออกจากยุโรปได้โดยอาศัยหนังสือเดินทางของในชาติเหล่านั้น ทั้งๆ ที่หนังสือเดินทางของคนเหล่านี้อยู่ในรายชื่อกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังโดยตำรวจสากลอินเตอร์โพล และสามารถเดินทางกลับเข้ามายังสหภาพยุโรปด้วยกระเป๋าเดินทางที่มีอาวุธ และกระสุนบรรจุอยู่เต็มภายในที่สนามบิน และนอกจากนี้ คนเหล่านี้ยังได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระหลังจากถูกเนรเทศออกมาจากตุรกีแล้ว ซึ่งถึงแม้ว่ารัฐบาลชาติยุโรปจะได้รับการเตือนว่า คนเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายก่อการร้ายก็ตาม

    ซึ่งในการให้สัมภาษณ์พิเศษของแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ตุรกี สอดคล้องต่อในเหตุการณ์ล่าสุด ที่หนึ่งในมือระเบิดฆ่าตัวตาย อิบราฮิม เอล บัคเราวี (Ibraham el-Bakraoui) ถูกส่งตัวจากตุรกีมายังเบลเยียม จากการเปิดเผยในวันพุธ (23 มี.ค) ของประธานาธิบดีตุรกี เรเซป เทย์ยิป เออร์โดแกน ที่ชี้ว่า เอล บัคเราวี ถูกคุมขังในกาเซียนเทบ (Gaziantep) ในเดือนมิถุนายนปืที่ผ่านมา ซึ่งชายผู้นี้ถูกเนรเทศไปยังเนเธอร์แลนด์ ก่อนที่จะถูกส่งตัวกลับไปยังเบลเยียม

    โดยแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านความมั่นคงตุรกีกล่าวต่อเดอะการ์เดียน ว่า “เราสงสัยว่าที่พวกเขาต้องการให้คนเหล่านั้นเดินทางมา เพราะไม่ต้องการให้คนพวกนี้ยังคงอยู่ในประเทศ” นอกจากนี้ แหล่งข่าวตุรกียังกล่าวต่อด้วยว่า “คิดว่าพวกเขา (ยุโรป) คงเกียจคร้านเกินไป และไม่มีความพร้อม นอกจากนี้ ยังผัดวันประกันพรุ่งไม่ตรวจตราจนปล่อยให้กลายเป็นเรื่องใหญ่”

    เดอะการ์เดียน รายงานว่า การให้สัมภาษณ์พิเศษของแหล่งข่าวระดับสูงตุรกีมีขึ้นก่อนที่กลุ่มก่อการร้าย IS จะออกมาอ้างความรับผิดชอบในเหตุโจมตีสนามบินบรัสเซลส์ และสถานีรถไฟใต้ดินเมโทร ในเมืองเมื่อวันอังคาร (22 มี.ค) ที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ ในการตอบข้อกล่าวหาของชาติยุโรป และสหรัฐฯ ที่กล่าวหาว่า ตุรกีล้มเหลวในการทำให้พรมแดนมีความมั่นคง จากเหตุที่มีนักรบญิฮัดต่างชาติจากตะวันออกกลางจำนวนมากสามารถเล็ดลอดผ่านพรมแดนตุรกีเข้าไปสู้รบในซีเรียได้ และรวมไปถึงจากสถิติตัวเลขที่พบว่า มีนักรบญิฮัดต่างชาติจำนวนมากที่กำลังสู้รบในซีเรียในปัจจุบันนี้ ล้วนผ่านเข้าออกทางพรมแดนตุรกีทั้งสิ้น โดยแหล่งข่าวระดับสูงด้านความมั่นคงของตุรกีได้ตอบโต้ โดยเปิดเผยในหลายเหตุการณ์ที่รัฐบาลประเทศยุโรปได้ปล่อยให้คนเหล่านี้เดินทางเข้าไปยังตุรกี

    เป็นต้นว่า ในเดือนมิถุนายน 2014 เจ้าหน้าที่ความมั่นคงตุรกี ประจำสนามบินอิสตันบูล ได้รับการเปิดเผยจากพลเมืองชายชาวนอร์เวย์คนหนึ่งว่า ต้องการเดินทางเข้าตุรกีเพื่อเดินทางต่อไปยังซีเรียเพื่อ “ทำญิฮัด” ซึ่งในขณะนั้นกลุ่มก่อการร้าย IS กำลังอยู่ในระหว่างขยายอิทธิพลในอิรัก และสามารถเข้ายึดที่ราบไนเวห์( Nineveh) ไม่นานก่อนที่กลุ่มก่อการร้ายจะประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐอิสลามที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งในอิรัก และซีเรีย

    และในการตรวจค้นสัมภาระของผู้ต้องสงสัยพลเมืองนอร์เวย์ผู้นี้พบว่า ชายผู้นี้เดินทางออกจากกรุงออสโล ในสภาพที่มีชุดลายพรางอยู่ในกระเป๋าเดินทาง ชุมปฐมพยาบาล มีด แมกกาซีนปืน และบางส่วนของตัวปืนเอเค 47 ซึ่งสิ่งของทั้งหมดนี้สามารถหลุดลอดการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่จากยุโรปออกมาได้สำเร็จ

    และแหล่งข่าวระดับสูงตุรกียังให้ข้อมูลต่อว่า และ 2 เดือนหลังจากเหตุการณ์แรกได้เกิดขึ้นแล้ว มีชายชาวเยอรมันรายหนึ่งเดินทางมาถึงสนามบินตุรกี พร้อมสัมภาระที่มีเสื้อกันกระสุนอยู่ภายใน ชุดลายพรางของกองทัพ และกล้องสองทางไกล ซึ่งพบว่า ชายผู้นี้สามารถเล็ดลอดออกมาจากกรุงปารีสมาจนถึงตุรกีได้สำเร็จ

    นอกจากนี้ สื่ออังกฤษยังรายงานเพิ่มเติมว่า ยังมีการให้ชื่อ และเหตุการณ์ที่พลเมืองยุโรปสามารถหลุดลอดมายังตุรกีโดยอาศัยหนังสือเดินทางของพวกเขาเพื่อเข้าไปยังซีเรีย เป็นต้นว่า ในปี 2013 ฟาติช ข่าน (Fatih Khan) ชาย 2 สัญชาติตุรกี-เดนมาร์ก ได้พยายามเดินทางออกมาจากกรุงโคเปนเฮเกน เพื่อไปยังซีเรีย แต่ถูกจับกุมตัวได้ในระหว่างทางในการข้ามพรมแดนที่เมืองคิลิส (Kilis) ตุรกี และถูกเนรเทศกลับไปยังเดนมาร์ก และหลังจากนั้น ข่านได้หนังสือเดินทางเล่มใหม่จากรัฐบาลเดนมาร์ก และสามารถเดินทางเข้าไปยังซีเรียสำเร็จ

    ซึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้ตุรกีมีรายชื่อมากกว่า 38,000 รายชื่อของกลุ่มคนที่ถูกห้ามเข้าประเทศจากรัฐบาลอังการา และจากความร่วมมือล่าสุดระหว่างตุรกี และชาติสมาชิกยุโรปในระดับหนึ่งในการสอบสวนชาวต่างชาติที่เดินทางมายังตุรกี ทำให้อังการา เนรเทศคนเหล่านี้ออกไปแล้วถึง 3,200 คน

    นอกจากนี้ แหล่งข่าวระดับสูงของตุรกียังให้ข้อมูลเดอะการ์เดียน ต่อว่า และเมื่อไม่นานมานี้ อังการาติดต่อบรรดาชาติสมาชิกยุโรปในช่วงปลายปี 2012 พร้อมกับยื่นข้อเสนอแชร์รายชื่อร่วมกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่ทางอังการาประกาศว่า “คนเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในตุรกี” พร้อมกับให้เหตุผลประกอบว่า ทางตุรกีเกรงว่า หลังจากเกิดการอาหรับสปริงแล้ว อาจทำให้มีภาวะสุญญากาศทางอำนาจขึ้นหลังจากนั้น และจะนำไปสู่การเติบโตของกลุ่มก่อการร้าย เป็นต้นว่า กลุ่มอัลกออิดะห์ในซีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้กลับไม่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานข่าวกรองในบรรดาชาติยุโรปเกือบทั้งหมด

    ซึ่งแหล่งข่าวตุรกีกล่าวว่า “พวกเขารู้เกี่ยวกับคนเหล่านี้ แต่พวกเขาไม่สามารถหยุดคนเหล่านี้ได้ เพราะไม่มีอำนาจทางกฎหมายให้สามารถทำได้”

    นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการต่อต้านก่อการร้ายตุรกียังชี้ต่อว่า ทางตุรกีต้องการรายชื่อบุคคลต้องสงสัยเหล่านี้ เพราะทางตุรกีไม่สามารถเข้าไปตรวจตราป้องกันก่อการร้ายภายในตัวยุโรปได้ และต้องเป็นฝ่ายรอการติดต่อจากหน่วยงานการข่าวยุโรป แจ้งเตือนเกี่ยวกับการก่อการร้าย

    และแหล่งข่าวตุรกี ชี้ว่า เป็นเพราะเนื่องอังการาไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการข่าวกรองจากชาติยุโรป จึงทำให้อังการาได้เพียงแต่ลงโทษคนเหล่านั้นในข้อหาแอบลักลอบเข้าซีเรียผิดกฎหมาย และเนรเทศกลับออกไปยังยุโรป แต่ในหลายกรณีที่คนเหล่านี้ได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ และเดินทางกลับเข้าไปในตุรกีอีกครั้ง

    ซึ่งแหล่งข่าวตุรกีย้ำต่อเดอะการ์เดียนว่า “ยุโรปรู้อยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น แต่กลับยังเริ่มต้นเกมกล่าวโทษกันเอง โดยชี้ไปที่ปัญหาใหญ่คือ “พรมแดนตุรกี-ซีเรีย” ”

    และในการให้ข้อมูล แหล่งข่าวระดับสูงตุรกียังเสริมว่า “แต่ยุโรปไม่เคยรับผิดชอบอะไร ซึ่งปัญหาใหญ่ที่ทางยุโรปชี้คือ ปัญหาผู้อพยพ ยุโรปไม่ชอบเออร์โดแกน และรัฐบาลตุรกี เพราะเออร์โดแกน ผู้นำตุรกี เป็นสัญลักษณ์ของการเมืองแบบอิสลาม ดังนั้น เขาจึงสนับสนุนก่อการร้าย IS ตามความเห็นของคนเหล่านั้น”

    นอกจากนี้ ในการให้สัมภาษณ์ในตอนท้าย แหล่งข่าวระดับสูงตุรกียังเปิดเผยว่า “ตุรกีสมควรที่จะควบคุมพรมแดนให้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้…แต่ข้อผิดพลาดเดียวของตุรกีที่มีคือ การยอมเดินตามยุโรป และสหรัฐฯ ในปัญหาวิกฤตซีเรีย”

    http://www.thaiday.com/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000031394
     
    กีรเต้ และ ปู่ยง ถูกใจ.
  2. จูกัดขงเบ้ง

    จูกัดขงเบ้ง อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    11 Sep 2015
    คะแนนถูกใจ:
    394
    ความจริงเริ่มปรากฎ น่าสงสารคนบริสุทธิ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว ต้องมาตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองระหว่างประเทศ
     
    Anduril, อู๋ คาลบี้, กีรเต้ และอีก 1 คน ถูกใจ.
  3. Anduril

    Anduril อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    4 Jun 2015
    คะแนนถูกใจ:
    5,268
    คงเป็นเกมส์การเมืองระหว่างประเทศของตุรกีและยุโรป อเมริกา เพราะที่ผ่านมา ตุรกีโดนข้อหาพัวพันการค้าน้ำมันเถื่อนในซีเรีย ร่วมกับไอซิสแต่เพียงผู้เดียว
     
  4. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
    การเมือง ไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร ผลประโยชน์มาก่อนเสมอ
     

Share This Page