ตอนเด็กถามครูเมื่อ 25 ปีก่อนทำไมเมืองไทยไม่ผลิตรถเอง BY สมาชิกหมายเลข 2822837

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย por, 24 May 2016

  1. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    ตอนเด็กถามครูเมื่อ 25 ปีก่อนทำไมเมืองไทยไม่ผลิตรถเอง. และ 15 ปีที่แล้ว 10 ปีที่แล้ว และ5 ปีที่แล้ว..ก็ได้คำตอบเหมือนเดิม


    ตอนเด็กๆ ก็บอกว่า ถ้าทำได้เค้าทำไปแล้ว...

    ..


    เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ก็บอกว่า ทำทำไมมีบริษัทรถยนต์ผลิตในไทยเป็นล้านคันต่อไป


    10 ปีที่แล้ว.. ผู้ใหญ่ ก็บอกว่าทำไปก็ไม่คุ้ม... ซื้อเค้าง่ายกว่า


    5 ปี ที่แล้ว ผู้ใหญ่ก็บอกว่า... ถ้าทำต้องใช้เงินเท่าไหร่ ลงทุนวิจัยพัฒนาอีกเท่าไหร่

    ทำแล้วใครจะซื้อ คนไทยจะซื้อมั้ยย ก็คงซื้อโตโยต้า ซื้อเบนซ์ เลกซัส กันหมด



    __ อืมๆๆ ผู้ใหญ่ สมัยก่อนเค้าคิดแบบนี้ เลยนะ


    แล้วทำไม ผู้ใหญ่ในเกาหลีใต้ ในไต้หวัน เค้าไม่คิดอะไรฉลาดๆๆๆ แบบ ผู้ใหญ่ไทยในอดีตนะ ว่าทำไปทำไม ทำไม่คุ้ม


    ผู้ใหญ่ และคนวางนโยบาย และรัฐบาลเกาหลีใต่ ไต้หวันเค้าต้องโง่แน่ๆเลย ที่วางนโยบายลงทุนทำวิจัย

    จนเค้าผลิตสินค้าไฮเทคหลายอย่างเองได้


    เกาหลีใต้ประเทศกระจอกๆ ที่ ไทยเราต้องไปช่วยรบในสงครามเกาหลี ประเทศที่มีแต่ดินท้องนา และโสม

    ประเทสไม่เห็นมีอะเลย กระจอกจัง. เราเลยต้องไปจ้างเกาหลีใต้ต่อเรือรบซะหน่อย


    ประเทศเค้าแย่มากๆ ผู้ใหญ่และรัฐบาลเค้าโง่ที่ไปลงทุนวิจัยรถยนต์ ลอกแบบญี่ปุ่น จนเค้าสามารถ

    ผลิตเครื่องยนต์เองได้ และผลิตรถยนต์ส่งออกได้


    หรือแม้แต่จีน ประเทศง่อยๆๆ แห่งเอเซียในช่วงสงครามโลก2 แต่วันนี้ไทย เราที่ยิ่งใหญ่

    เลยช่วยจีนโดยการสั่ง ต่อเรือรบจากจีนตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน เรือรบหลวงชุดเจ้าพระยา และ ชั้นตากสิน

    และวันนี้ จีนผลิตเครื่องบินรบได้แล้ว



    ประเทศไทย นิฉลาดมากๆๆ ที่ไม่ไปเสียเงินลงทุนแบบประเทศพวกนั้น .. ทำให้เรายิ่งใหญ่ อย่างทุกวันนี้


    แถมจีนยังทำอะไรไม่รู้เช่น สร้างสถานีอวกาศ สงยานไปวงจันทร์

    ไม่รู้ทำไปทำไม


    สู้ประเทศไทยก็ไม่ได้ เรามีข้าวเต็มคลัง มีคนที่ทำการฉ้อโกงในระบบการเงินและไม่ต้องถูกจับ


    มี บริษัทมหาชน ฟิสเนส ที่โอนเงินออกนอกประเทศ 2000 กว่าล้าน โดนที่แบงค์ชาติไม่รู้ แต่เราจะโอนแค่ 5 แสน ตรวจยังกะเราไปปล้น

    แบงค์ มาซะงั้น


    สรุปประเทศเราฉลาดที่สุด. ไม่ไปลงทุนกับสิ่งต่างๆที่ไม่จำเป็น

    รับจ้างประกอบแบบนี้ดีแล้ว ต่างชาติย้ายฐานไปหมดเมื่อไหร่ ก็ ไปปลูกข้าวกินกันเอง


    แต่จะมีคนบอกว่า เป็นไปไม่ได้เราคือจุดศูนย์กลางของแถวนี้

    ทุกประเทศใครๆก็อย่ากจะมา่ลงทุนมาตั้งฐานการผลิตที่เรา เพราะเราเส้นทางขนส่งไปได้ทั่วทิศ

    ทุกประเทศจะค้าขายต้องขนสินค้าผ่านเรา แค่เราขวางอยู่ตรงกลางประเทศอื่นก็เป็นง่อยละ

    เราคือประเทศที่สำคัญมากๆ ทำเลดี เสียอย่างเดียวที่มี................... ..




    ___ ต่อไปนี้เราเด็กรุ่นใหม่ต้องคิดอะไร ที่มุ่งไปให้ประเทศพัฒนาให้ได้ มีขีดความสามารถสูงขึ้น

    ต้องเกาะกระแสการเติบโตของโลก และสินค้าที่จะเป็น มูลค่าในอนาคต ต้องคิดว่าประเทศจะผลิตสิ่งนั้นได้หรือไม่

    เพื่อเพิ่ม GDP ให้ประเทศของเรา ให้ประเทศเราเติบโตได้พอๆ กับรอบๆนี้ ไม่ใช่รั้งท้าย แล้วบอกว่า เศรษฐกิจโลกไม่ดี

    โตแค่นี้ก็พอละ..

    http://pantip.com/topic/35177252



    เป็นกระทู้เจ็บแสบแต่แอบมีสาระ
     
  2. Maratiraj

    Maratiraj อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    11 พ.ย. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    986
    ผลิตได้
    แต่ทำไปคนไทยก็ไม่ซื้อ
    มันไม่คุ้มสำหรับผู้ผลิต

    ผลิตชิ้นส่วนส่งขายให้พวก บริษัทยานยนต์ยัง ok กว่าเลย
     
  3. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    ไทยเราก็แตะตัดขาไอ้ยุ่นด้วยการปล่อยน้ำท่วมโรงงานมันซะเลย
    ให้มันต้องวิ่งแจ้นหาที่ทำโรงงานใหม่
    ให้มันเสียเงินสร้างโรงงานใหม่
    ใจร้ายจริงๆ
     
  4. annykun

    annykun อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,591
    อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่สมัยก่อนเลยครับ ผู้ใหญ่สมัยนี้ก็ไม่ต่างกัน อย่างในกระทู้พันทิป ห้องเศรษฐกิจยังตอบไม่คุ้มซื้อเอาง่ายกว่า กันเป็นทิวแถว ส่วนจะหวังพึงเด็กรุ่นใหม่กันหรอ? มันเบ้ปาก บอกของไทยกากๆ
     
    Last edited: 24 May 2016
    ปู่ยง likes this.
  5. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    แต่เราก็มีเทคโนโลยีการผลิตรถเพื่อการเกษตรกรรมใช้เองและขายในแถบ southeast นะครับ
    นำโดย กลุ่มบริษ้ทเกษตรรุ่งเรื่อง จำกัด
    คุณภาพดีและเหมาะสมกว่าเครื่องจักรจากฝั่งเมกาและยุโรป
    เพราะวิ่งใน พท ลุ่มเป็นโคลนได้
    ไอ้จ้อนเดียร์มันวิ่งแล้วติดหล่มครับ
     
  6. นอกคอก

    นอกคอก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    12 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    5,396
    ก็เพราะคนไทยเก่งแต่ พูด คิด วิจารณ์ ด่า ติ แล้วก็บอกว่าเอ็งต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ตัวเองก็ไม่ได้ทำอะไร ชอบเหยียบย่ำคนอื่นให้ตัวเองดูสูงขึ้น เก่งขึ้น ผมไม่ได้หมายความว่าจะให้คนในกระทู้ตัวอย่างนั้นไปสร้างรถ แต่ควรเปลี่ยนจากการเหยียบเป็นการส่งเสริม ผลักดัน จะงามกว่ามั๊ย?
     
    ต้นหอม, Anduril, อู๋ คาลบี้ และอีก 4 คน ถูกใจ
  7. yoshikiryuichiro

    yoshikiryuichiro อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    472
    ถ้ามองในอีกมุมนึง ก็หมายความว่า พวกตัวเป้งๆที่มีหน้าที่วางแผนด้านนี้อมพะนำอยู่ เพราะผลประโยชน์จากพวกบ.ตะวันตกที่คอยขัดขวางการพัฒนา เพราะกลัวเราจะโตจนควบคุมไม่ได้ จนอาจกลายเป็นหอกข้างแคร่ของพวกมัน
     
    Anduril, อู๋ คาลบี้, conservative และอีก 3 คน ถูกใจ
  8. กีรเต้

    กีรเต้ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    11,917
    Location:
    เชียงใหม่
  9. por

    por อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    10 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    2,397
    จริงครับ ทุกวันนี้ยกเมกาแทบเป็นเทพประชาธิปไตย เทคโนโลยี แต่ถามว่าเราได้อะไร???
     
    Alamos, อู๋ คาลบี้, ปู่ยง และอีก 1 คน ถูกใจ.
  10. ปู่ยง

    ปู่ยง อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,820
    ได้มากดดัน คสช. ให้พ่อแม้ว แม่ปู สบายใจเล็กๆน้อยๆ
     
  11. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่คนพูดความจริงมักจะไปนิพพาน ชิตังเม โป้ง ค่ะ รวย:devil::devil::devil::devil:
     
    ปู่ยง likes this.
  12. Surawong

    Surawong อำมาตย์ฝึกงาน

    สมัคร:
    22 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    1,544
    ผมว่าที่เขาวิพากษ์วิจารณ์มานั้นมันเป็นเรื่องการวิจัยการพัฒนาทางธุรกิจนะ มันไม่เกี่ยวอะไรกับรัฐบาล รัฐบาลเมื่อ 25 ปีที่แล้วหรือจะกี่ปีก็แล้วแต่ คงไม่มีรัฐบาลไหนหรอกที่จะไปห้ามนักธุรกิจ นักลงทุน ที่จะลงทุนทำการวิจัยพัฒนาอะไรขึ้นมา มีแต่จะส่งเสริม แต่ปัญหามันก็คือ ไม่มีนักธุรกิจหรือนักลงทุนสนใจที่จะทำเรื่องนี้ เหตุผลก็คงอย่างที่เขาบอกนั่นแหละคือไม่คุ้ม ซื้อเขาดีกว่า แล้วจะไปบังคับให้เขาได้ไหมล่ะ และเรื่องพวกนี้มันก็ไม่ได้เป็นตัวหลักที่จะทำให้ GDP ของประเทศเติบโตอะไรหรอก ดูอย่างญี่ปุ่น สหรัฐ ซี วิจัยพัฒนาร้อยแปด แต่เศรษฐกิจของประเทศก็เซไปเซมา เหมือนกัน มันก็เป็นเพราะเศรษฐกิจโลกอย่างที่เขาว่านั่นแหละ อย่าไปบิดอะไรให้มันมากมายเลย

    รัฐบาลเองก็มีการลงทุนวิจัยพัฒนาเหมือนกัน ไม่ได้กระจอกอย่างที่คนเขียนคิดหรอก เพียงแต่เขาเลือกทำการวิจัยพัฒนาในเรื่องที่เห็นว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่โดยตรง เช่นการวิจัยทางการแพทย์ การศึกษาวิจัยทางธุรกิจก็มี แต่เมื่อศึกษาวิจัยออกมาแล้ว มันต้องมีผู้นำไปต่อยอดลงทุนและพัฒนาต่อ ซึ่งเมืองไทยนักธุรกิจประเภทนี้รู้สึกว่าจะหายาก ไอ้ที่ทำเองวิจัยพัฒนาเองก็มี อย่างซีพีไง ทำไปถูกด่าไป เรื่องจริงบ้างไม่จริงบ้าง ก็ว่ากันไป

    อย่าไปมองว่าการวิจัยพัฒนามันมีแต่เรื่องสินค้าไฮเทคอย่างเดียว เพราะเราไม่มีการวิจัยด้านนั้นแต่เราก็มีการวิจัยด้านอื่นอยู่ แต่ที่สำคัญก็คือ ต้นทุนการวิจัยไม่ว่าด้านไหน มันค่อนข้างสูง จะให้รัฐบาลไปลงทุนทุกเรื่องมันคงเป็นไปไม่ได้ ขนาดวิจัยพัฒนาแค่เรื่องที่เห็นว่าจำเป็น แล้วมันไม่ประสบความสำเร็จ ก็ถูกด่ากันขรมแล้ว ว่าเอาเงินไปละลายเล่น

    ผมว่า ถ้าอยากเจริญเหมือนประเทศต่าง ๆ ที่คนเขียนชื่นชม เราต้องทำตัวให้เหมือนคนของประเทศนั้น ๆ ด้วยนะ
     
    Anduril และ อู๋ คาลบี้ ถูกใจ.
  13. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ความรู้สึกเมื่ออ่านบทความนี้ คือ เบื่อครับ

    มีใครจำเครื่องใช้ไฟฟ้า "ธานินท์" ได้บ้าง
    มีใครจำรถจักรยานยนต์ "ไทเกอร์" ได้บ้าง
    มีใครจำรถกระบะ "วีเอ็มซี" ได้บ้าง

    ก่อนจะตั้งคำถามแบบนี้ ลองสรุปบทเรียนจาก 3 กรณีศึกษาข้างต้นหน่อยดีไหม
    จุดจบของ 3 แบรนด์ข้างต้นคืออะไร และทำไมถึงต้องมีจุดจบแบบนั้น
    ถ้าตอบคำถามนี้ไม่ได้ ก็อย่าถามคำถามแบบนี้มาให้หัวเราะเล่นเถอะครับ

    ถ้าไม่อยากเพ้อฝันมาก ขอแนะนำกรุณากลับไปศึกษาเส้นทางการเติบโตของ CP และ TU เถอะ
    หรือถ้าอยากจะดูสเกลแบบเล็กลงมาหน่อยก็แนะนำ SVI
    แล้วจะรู้ว่าการไปสู่ระดับโลกของธุรกิจไทยนะ มันเป็นไปได้ แต่ต้องใช้ปัญญา ไม่ใช่ความเพ้อฝัน
     
    Last edited: 24 May 2016
    puggi, Anduril, temp และอีก 1 คน ถูกใจ.
  14. โยธกา

    โยธกา อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    20 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,727
    เทคโนโลยีใหม่ๆก็น่าสนใจครับ
    เล็กแต่มีประสิทธิภาพ
    เช่น มอเตอร์ไซค์อากาศ โดรนไร้คนขับ
    มหาวิทยาลัยไทยน่าจะมีวิจัยกันแล้ว
    แต่ใครจะกล้ามาทำเชิงพาณิชย์
    กลุ่มยานยนต์ที่ร่วมพัฒนากะมหาลัยน่าจะมีที่
    พระนครเหนือวิทยาเขตปราจีนบุรี
    กะจุฬา
    ลาดกระบังนี่เค้าทำรถไฟฟ้าตั้งแต่สมัยผมเรียน ก็ 30 ปีแระ
    ปัจจุบันไม่รู้ว่าทำถึงไหน
    ก่อนจบเค้ากะลังวิจัยเรื่องจรวดนำวิถึ
    ยิงกันทั้งวัน
     
  15. เผด็จการที่รัก

    เผด็จการที่รัก อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    9,076
    คนเยอรมันใช้แต่รถเยอรมัน
    คนญี่ปุ่นใช้แต่รถญี่ปุ่น
    คนเกาหลีใช้แต่รถเกาหลี

    คนไทย ... ด่าชาติตัวเอง เชิดชูคนชาติอื่น

    #เท่าที่สังเกตุ
     
    puggi, Anduril, temp และอีก 5 คน ถูกใจ
  16. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    app16810729_l-696x380.jpg
    เรื่องที่คนไทยควรให้ความสนใจในเวลานี้ก็คือ รัฐบาลประกาศทิศทางของประเทศไทยในอนาคตแล้ว และเรียกว่า “ประเทศไทย 4.0” ตอนนี้อาจจะยังไม่คุ้น แต่ต่อไปเชื่อว่าคนไทยจะต้องคุ้นกับ “ประเทศไทย 4.0” แน่ๆ ปัญหาก็คือว่า ความหมายของ “เวอร์ชัน”ใหม่ของไทยเป็นอย่างไร
    เรื่องนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติเฉพาะกิจออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559 ความว่า … “คงต้องย้อนกลับไป 1.0 ก่อน คือประเทศไทยมีการพัฒนาตามหลัก 3 ยุค มาแล้ว สังคมแรก ๆ สมัยก่อน ๆ นี้ หลายสิบปีมาแล้วเป็นสังคมเกษตรกรรม บ้านเมืองเป็นเกษตรกรรม แล้วใช้แรงงานอย่างเดียวยังไง ใช้เกษตรกรออกแรง ทำไร่ทำนาอะไรทำนองนี้พอ Thailand 2.0 เริ่มมีภาคอุตสาหกรรมเข้ามาแล้ว เข้ามาอาจจะเป็นอุตสาหกรรมเบาบ้าง อะไรบ้าง อันนี้ก็เอาเครื่องจักรมาช่วยงาน มาช่วยงานเกษตรกร หรือแรงงาน พอมาอีกช่วงหนึ่ง Thailand 3.0 ไปสู่การมีอุตสาหกรรมหนักเข้ามา มีการลงทุนจากต่างประเทศบ้างอะไรบ้าง
    วันนี้เจริญเติบโตมาสักเท่าไรล่ะ ถ้าพูดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ อยู่ระยะนี้มานานพอสมควร ประมาณสัก 20 ปี ไม่ได้ปรับ ไม่ได้เตรียมมาตรการลดความเสี่ยงจากภายนอก ที่มีเศรษฐกิจโลกตกต่ำอะไรทำนองนี้ เรายังเข้มแข็งไม่พอ เพราะเรายังติดอยู่ตรง 3.0 เพราะฉะนั้นเราต้องก้าวไปสู่ 4.0 ให้ได้ 3.0 นั้นเกิดปัญหาอะไรก็คือว่า เราไปเน้นการพัฒนามิติเศรษฐกิจ มิติสังคมหายไป เสียสมดุล เสียเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ป่าถูกบุกรุกอะไรแบบนี้ เอามาคิดใหม่ทั้งหมดถึงได้ออกมาเป็น 4.0 คือ ยุคต่อไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ทำอย่างไรประเทศจะพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง อย่างแท้จริง คำว่าปานกลางคือทั้งหมดต้องขึ้น ปานกลางขึ้นมาเฉพาะตรงข้างบน ตรงข้างล่างค่อนข้างจะต่ำอยู่ ผู้มีรายได้น้อย ไปติดกับดักอะไรอีก ความเหลื่อมล้ำ ความไม่สมดุลของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนต่างๆ เกิดขึ้นเร็ว แล้วพังบ้าง อะไรบ้าง ล้มบ้าง ต้องสร้างความเข้มแข็งทุกอันตอนนี้ เพราะฉะนั้นวันนี้ต้องพัฒนารูปแบบของการลงทุน โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยใหม่ ที่เรียกว่า New Economy Model เศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ก็คือเราต้องใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือทำอะไรก็ตาม ต้องมีเหตุมีผล มีพอประมาณแล้วมีภูมิคุ้มกันที่ดีภายใต้เงื่อนไข ความรู้ และคุณธรรม คงเข้าใจแล้ว พูดหลายครั้งแล้ว ทำอะไรต้องมีสติ พูดง่าย ๆ ต้องระมัดระวัง ในการลงทุน ในการใช้จ่ายเงินอะไรทำนองนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องประหยัด ไม่ใช้เงินกันเลย ไม่ใช่คนละเรื่องกัน นั่นคือหลักการเรื่องประหยัด เรื่องออม อันนี้เป็นเรื่องของการใช้จ่ายพอตัว เราใช้หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมานำในการทำงานในวันนี้
    เพราะฉะนั้นกระบวนการพัฒนาประเทศไทยภายใต้”ประเทศไทย 4.0″( Thailand 4.0) จะต้องสอดรับกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นี่คือความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะต้องพัฒนา 20 ปีต่อไปแล้ว ที่ผ่านมาเราใช้ 1-2-3 มา 10 ปี 20 ปี มาจากอดีต ย้อนมา วันนี้เราติดอยู่ตรง 3 วันนี้เราต้องคิดว่า 4 จะต้องอยู่อีก 20 ปีต่อไป เพราะไม่ใช่ง่าย ๆ เราเริ่มวันนี้แล้ว ความสำคัญยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แล้วก็แผนการขับเคลื่อนและการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เราใช้แนวทางประชารัฐ ที่ผ่านมารัฐก็เป็นผู้ให้ส่วนใหญ่ ประชาชนก็ไม่ค่อยเข้มแข็ง เพราะว่าเขาเคยชินกับการช่วยเหลือ
    http://www.thansettakij.com/2016/04/30/48324
     
  17. กระต่ายในจันทร์

    กระต่ายในจันทร์ อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    3,710
    ‘โมเดลประเทศไทย4.0’ ผลึกความคิด ‘สุวิทย์ เมษินทรีย์’
    appmp39-3083-a-696x380.jpg


    1mp39-3083-a.jpg
    ในงาน “สปช.รายงานประชาชน:เปลี่ยนประเทศไทยกับสปช.” จัดโดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ สรุปผลงานและส่งมอบวาระการปฏิรูป 37 ประเด็น และ 6 วาระพัฒนาแก่รัฐบาล ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 นั้น
    ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญจัดทำวิสัยทัศน์และออกแบบอนาคตประเทศไทย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ขณะนั้นกล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบเพียงครั้งเดียว ในสมัยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 หลังจากนั้นก็ขาดการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ เมื่อพัฒนาได้ถึงระดับหนึ่ง ประเทศไทยต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ขนาดปานกลาง เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมลํ้า ทุจริตคอร์รัปชัน กำลังเผชิญกับความขัดแย้งที่รุนแรงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หากปราศจาก “การปฏิรูปใหญ่ครั้งที่ 2” ประเทศไทยอาจกลายเป็นประเทศที่ล้าหลัง เป็นรัฐที่ล้มเหลวในที่สุด แต่ถ้าหากดำเนินการปฏิรูปครั้งใหญ่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยการผนึกกำลังของทุกภาคส่วน ก็อาจเป็นไปได้ว่า ประเทศไทยจะสามารถปรับเปลี่ยน กลายเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง เป็นประเทศที่มีความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน เฉกเช่นเดียวกับอารยประเทศอื่นในประชาคมโลก
    จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี “วิสัยทัศน์” เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับประเด็นท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยยึด “ผลประโยชน์ชาติ” เป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยังต้องกำหนด “กรอบยุทธศาสตร์ชาติ” เพื่อเป็นแนวทางขับเคลื่อนประเทศเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ได้
    ในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมดิจิตอลในศตวรรษที่ 21 หลายประเทศได้ดำเนินการปฏิรูปขนานใหญ่อย่างเป็นระบบ เพื่อรับมือกับชุดของโอกาส ความเสี่ยง และภัยคุกคามชุดใหม่ ทำการรื้อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสังคม โครงสร้างพื้นฐาน ปรับเปลี่ยนระบบคุณค่าและวัฒนธรรมการดำรงชีวิต การทำงาน และการเรียนรู้ โดยการยกระดับคุณภาพในทุกภาคส่วนและปรับเปลี่ยนให้เป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง ฉะนั้น เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของประเทศไทย ก็คือ การพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศในโลกที่หนึ่งภายในปี 2575 (หรือในวาระครบ 100 ปีการอภิวัฒน์การปกครอง-บ.ก.)
    การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งในบริบทของประเทศไทยมีคุณลักษณะ 6 ประการด้วยกัน คือ
    1. มีความภาคภูมิใจในความเป็นชาติและวัฒนธรรมของตน
    2.พัฒนาคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
    3. มีสังคมที่มีคุณภาพ
    4. มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่
    5. มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
    6. การมีบทบาทสำคัญในเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลก
    กลไกขับเคลื่อนความมั่งคั่งของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยเกษตรกรรม พัฒนาไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนักตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 จะต้องเปลี่ยนผ่านจากโมเดลประเทศไทย 3.0 เป็น “โมเดลประเทศไทย 4.0” เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง ปรับเปลี่ยนจากประเทศ “รายได้ปานกลาง” เป็นประเทศ “รายได้สูง” ปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย “ประสิทธิภาพ” เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย“นวัตกรรม”
    โมเดลประเทศไทย 4.0 ประกอบด้วย “กลไกการขับเคลื่อน” ชุดใหม่ (New Growth Engine) 3 กลไกสำคัญ คือ 1. กลไกขับเคลื่อนผ่านการสร้างและยกระดับผลิตภาพ (Productive Growth Engine) 2. กลไกขับเคลื่อนที่คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง (Inclusive Growth Engine) และ 3. กลไกการขับเคลื่อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Green Growth Engine)

    ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 4.0” จำเป็นจะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ จากเดิมที่มี “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” ให้มี “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน” เพื่อเปลี่ยนจากโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “เพิ่มมูลค่า” ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “สร้างมูลค่า” ซึ่งประกอบด้วย 5 กลุ่มหลักๆคือ 1. กลุ่มอุตสาหกรรมทางชีวภาพ 2. กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน 3. กลุ่มอุตสาหกรรมด้านวิศวกรรมและการออกแบบ 4. กลุ่มอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิต และ5. กลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์

    ทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้ตั้งอยู่บนฐานของความได้เปรียบเชิง “ธรรมชาติ” และความได้เปรียบเชิง “วัฒนธรรม” ที่ประเทศไทยมีอยู่เดิม และต่อยอดด้วยการบริหารจัดการ องค์ความรู้สมัยใหม่ เทคโนโลยี มิเพียงเท่านั้น ทั้ง 5 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่นี้ จะสอดรับกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในประชาคมโลก ที่กำลังค่อยๆ เปลี่ยนผ่านจากยุคของสังคมที่เน้น “องค์ความรู้” มาสู่ยุคของสังคมที่เน้นการยกระดับ “คุณภาพชีวิต” มากขึ้น
    ในอดีตประเทศไทยมุ่งเน้นการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยขาดการพัฒนาในมิติอื่นให้มีความสอดคล้องกันโมเดลประเทศไทย 4.0 จึงเน้นการ “พัฒนาที่สมดุล” ใน 4 มิติ กล่าวคือ มีความสมดุลในความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีสังคมที่อยู่ดีมีสุข และการเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์ โดยการพัฒนาที่สมดุลตั้งอยู่บนฐานคิดของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” หลักการสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีอยู่ว่า “เมื่อพร่อง ต้องรู้จักเติม เมื่อพอ ต้องรู้จักหยุด เมื่อเกินต้องรู้จักปัน”

    ในระดับจุลภาคการ “รู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน” จะทำให้ประชาชนมีหลักประกันในด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม เกิดสังคมที่เกื้อกูลและแบ่งปัน ก่อให้เกิดการสร้างเสริมพลังทางสังคม และการสร้างความเป็นปึกแผ่นของคนในสังคมตามมา ในระดับมหภาค “การรู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน” จะทำให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพลวัตโลก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการผนึกกำลังของทุกภาคส่วน การรู้จักเติม รู้จักพอ รู้จักปัน จึงเป็น “ระบบคุณค่าใหม่” ที่จะสามารถนำพาประเทศไทยไปสู่ความมั่งคั่ง ความมั่นคง และความยั่งยืนในโลกที่หนึ่งได้ในที่สุด
    การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งได้นั้นจำเป็นต้องมีความพร้อมในทุกด้านแต่ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสภาวการณ์ที่ไม่เป็นปกติและไม่มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งดังที่คาดหวังไว้เนื่องจากยังคงประสบกับปัญหาที่สะสมเรื้อรังในหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความขัดแย้งรุนแรงปัญหาความเหลื่อมลํ้าของคนในสังคมและปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน

    ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีภารกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งอยู่ 2 วาระ ได้แก่ 1. วาระการปฏิรูป (Reform Agenda) คือ การปฏิรูปประเทศในประเด็นปัญหาที่สะสมเรื้อรังมานาน เพื่อทำให้ประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และ 2. วาระการปรับเปลี่ยน (Transformation Agenda) คือการปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมความพร้อมและเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการพัฒนาเป็นประเทศในโลกที่หนึ่ง
    วาระการปฏิรูปและวาระการปรับเปลี่ยนจะมีลักษณะงานที่แตกต่างกันกล่าวคือ “วาระการปฏิรูป” จะมีลักษณะงานเป็นการปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ระบบ รวมถึงการปรับเปลี่ยนเชิงพฤติกรรม ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้มีการพิจารณาศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ จนได้ข้อเสนอวาระการปฏิรูปจำนวน 37 วาระด้วยกัน อาทิ ระบบงบประมาณ กระบวนการยุติธรรม การปฏิรูปที่ดิน การปรับโครงสร้างภาษี การจัดตั้งสมัชชาคุณธรรม เป็นต้น ส่วน “วาระการปรับเปลี่ยน” จะเป็นภารกิจใหม่ที่จะต้องดำเนินการ เพื่อตระเตรียมและเติมเต็มประเทศให้มีขีดความสามารถในการพัฒนาต่อไป เช่น กลไกการขับเคลื่อนประเทศชุดใหม่ การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ ระบบบริหารจัดการ นํ้าการปรับเปลี่ยนสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิตอล และการบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นต้น
    ด้วยสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันยังคงต้องเผชิญกับปัญหารุมเร้าหลายประการด้วยเหตุนี้ในระยะแรก จำเป็นต้องเน้นการขับเคลื่อนวาระการปฏิรูปเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายให้ประเทศกลับคืนสู่สภาวะปกติ ซึ่งเมื่อปัญหาสำคัญหลายประการได้รับการแก้ไขจนประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว จุดเน้นจะขยับไปสู่การขับเคลื่อนวาระการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถเพียงพอต่อการพัฒนาเป็นประเทศในโลกที่หนึ่งต่อไป
    จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3083 วันที่ 30 สิงหาคม – 2 กันยายน พ.ศ. 2558
    http://www.thansettakij.com/2015/08/31/9309
     
    Anduril และ Alamos ถูกใจ.
  18. AlbertEinsteins

    AlbertEinsteins อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    13 Dec 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,479
    สิ่งที่ขาดหายคือวิสัยทัศน์ทางธุรกิจแบบยั่งยืน
    นักธุรกิจเน้นขาดทุนกำไรในรูปเงิน สินทรัพย์ การครอบงำ มากเกินไป
    ถ้าใครจำได้หรือไปค้นข้อมูล
    ลองไปดูนักโทษหนีคดีหนีคุกทักษิณที่ควายแดงยกย่อง
    ให้สัมภาษณ์เรื่องการลงทุน R&D ดูสิ :rofl::rofl::rofl:

    ค่าย CP ผมว่าเขาสร้างนวตกรรมดีๆทางการเกษตรดีนะ
    วิสัยทัศน์ผมว่าดีมากเลย
    แต่สร้างมาแล้วเน้นผูกขาดมากเกินไป
    กินรวบคนเดียว มันก็ไม่ได้ยกระดับกันทั้งหมด
     
    Alamos, temp, ชายน้ำ และอีก 1 คน ถูกใจ.
  19. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ถ้าวางแนวทางถูก อนาคตก็มีโอกาส นโยบายแบบส่งเสริม Value added แบบนี้ละ ถือว่ามาถูกทางแล้ว
    ใส่ R&D เข้าไป ก็ช่วยเพิ่มมูลค่าในตัวมันเอง
    ทางออกของประเทศไทยคือ ตั้งเป้าเป็นศูนย์วิจัยของทั้งบริษัทไทยเองและบริษัทต่างประเทศเพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในขั้นสูงไปเรื่อยๆ
    ถ้าเอาแต่ค่าแรงเข้าสู้ ไม่พัฒนาแรงงานและการวิจัย สุดท้ายก็โดนหุ่นยนต์ไล่แทนที่เข้าซักวันตามข่าวล่างสุดนั้นละ
    *********************************************


    ประเทศไทยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ในช่วงระยะแรก (พ.ศ.2500-2536) เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 7-8% ต่อปี อย่างไรก็ตามในช่วงระยะถัดมา (พ.ศ.2537-ปัจจุบัน) เศรษฐกิจไทยเริ่มมีการเติบโตในระดับเพียง 3-4% ต่อปีเท่านั้น สอดคล้องกับการจัดอันดับ ความสามารถในการแข่งขันโดย World Economic Forum ให้ประเทศไทยอยู่อันดับ 32 ของโลก น้อยกว่า สิงคโปร์ และมาเลเซีย ทำให้เป็นที่มาของนโยบาย ที่มีชื่อว่า ประเทศไทย 4.0

    ก่อนจะทราบที่มาของ Thailand 4.0 หรือประเทศไทย 4.0 คงต้องทำความเข้าใจแนวทางการพัฒนาประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา

    “ประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร “ประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่โมเดลปัจจุบัน “ประเทศไทย 3.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก แต่กำลังเผชิญกับดักรายได้ปานกลาง ที่ไม่อาจนำพาประเทศพัฒนาไปมากกว่านี้ จึงเป็นประเด็นที่รัฐบาลต้องสร้างโมเดลใหม่ขึ้นมาเพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศและนำพาประชาชนทั้งประเทศไปสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” ให้ได้ภายใต้ 3-5 ปีนี้

    “ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาล ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบัน ยังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก” นั่นหมายถึงการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยใน 3 มิติสำคัญ คือ

    1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”
    2. เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
    3. เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

    ทั้งนี้ 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

    1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ
    2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
    3. กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
    4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
    5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง



    รัฐบาลมองว่า หากต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศไทย ขับเคลื่อนไปตามยุทธศาสตร์ ของชาติ อย่างมั่นคง และยั่งยืน จำเป็นต้องพยายามหาความแตกต่าง และทำให้ธุรกิจ ขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม จึงเป็นที่มาของการผลักดันให้ Startup ประสบความสำเร็จ

    ทั้งนี้ Startup ที่ทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทย สามารถจัดกลุ่มได้ 8 สาขา ได้แก่ เกษตรและอาหาร อสังหาริมทรัพย์ ไลฟ์สไตล์ อีคอมเมิร์ซและโลจิสติกส์ การเงิน บริการภาครัฐ สุขภาพ และอุตสาหกรรมผลิต

    ซึ่งแนวคิด Startup นักรบพันธ์ใหม่ ซึ่งผู้ร่วมก่อตั้งบอกว่า จะมาปฏิวัติวงการจัดงาน event และจะช่วยส่งเสริมให้ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ลดต้นทุนและเวลาในการจัดการงาน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ในทางอ้อม



    งาน Startup Thailand 2016 เป็นเวทีเปิดตัวธุรกิจผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ที่มาร่วมแสดงศักยภาพของแต่ละธุรกิจ สร้างเครือข่ายสตาร์ทอัพให้เข้มแข็ง พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับอีก 11 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งรวมถึง C asean ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญและจำเป็นในการพัฒนา ศักยภาพของเหล่านักรบพันธ์ใหม่ ผลักดันให้สตาร์ทอัพไทยไปเติบโตได้ในตลาดโลก เพื่ออนาคตของประเทศไทย



    "หัวเว่ย" ยักษ์ใหญ่ธุรกิจโทรคมนาคมของจีน และใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก เลือกไทยเป็นที่ตั้ง ของสำนักงานใหญ่ และศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของภูมิภาคอาเซียน

    โดยในวันนี้ ก่อนการเปิดงานดิจิตอลไทยแลนด์ นางเฉิน ลี่ฟาง รองประธานอาวุโส บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งหัวเว่ยได้เลือกไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของภูมิภาคอาเซียน

    โดยสำนักงานในไทย จะเป็นทั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา และศูนย์แสดงนวัตกรรม รวมถึงการสัมมนา ที่จะมีผู้ให้ความสนใจทั่วโลกเดินทางมาประชุม และศึกษาดูงานของบริษัทฯ หัวเว่ยยังพร้อมร่วมพัฒนาระบบ Broadband และ Data Center ในไทย รวมถึงการพัฒนาบุคลากร และพร้อมที่สนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ Start-up ของไทยอย่างเต็มที่ด้วย



    นายกฯขอนักธุรกิจต่างประเทศเชื่อมั่นรัฐบาลไทย จะก้าวสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ในปีนี้ ย้ำต้องใช้สื่อโซเชียลฯให้เป็นประโยชน์มากขึ้น

    วันนี้ (26พ.ค.59) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนาและแสดงนิทรรศการนานาชาติ ดิจิทัลไทยแลนด์ 2016 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งยืนยันว่า รัฐบาลนี้ไม่มีผลประโยชน์ และขอให้อดีตเป็นอดีต ปัจจุบันก็ต้องมีการแก้ไขและพัฒนา ขออย่ากล่าวหาว่ารัฐบาลไม่ทำอะไร ให้ไปดูในแอพลิเคชั่นของรัฐบาลที่จะบ่งบอกการจัดซื้อจัดจ้างการลงทุนทั้งหมดให้ได้ตรวจสอบหากประชาชนมีข้อสงสัยเพราะวันนี้ยังมี พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร เป็นช่องทาง แต่ขอให้มาในทางที่ถูกต้อง

    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้ต้องทำให้การใช้โทรศัพท์มือถือการเล่นเฟซบุ๊กเป็นประโยชน์มากขึ้น สื่อโซเชียลมีเดีย ดิจิตอลอีโคโนมีมาเป็นเครื่องมือในการให้ความรู้กับประชาชนเปิดช่องทางการค้าการลงทุน มากกว่าเรื่องบันเทิงซึ่งตนไม่ว่าหากต้องการผ่อนคลาย และขอโทษหาการพูดในวันศุกร์กินเวลาของประชาชน ส่วนสื่อโซเชียลวันนี้ยังมีเรื่องการเมืองที่จะรักจะชอบเกลียดตนห้ามไม่ได้ แต่ทุกคนต้องมีภูมิคุ้มกันตามแนวทางพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรี ต้องการให้ประชาชนเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวการทำงานของรัฐบาลที่ได้จัดทำขึ้น เช่น แอพพลิเคชั่น Agri-Map (อะกริแมพ) ที่ให้เกษตรกรสามารถตรวจสอบสภาพอากาศ ปริมาณน้ำในพื้นที่ของตัวเอง รวมถึงพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและหาตลาดจำหน่ายให้กับเกษตรกร เพื่อเข้าสู่แนวทางสมาร์ทฟาร์มเมอร์ในอนาคต ซึ่งรัฐบาลเป็นห่วงในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ที่วันนี้ต้องแก้ไขปัญหาให้เกิดเป็นรูปธรรมจึงได้เร่งรัดให้มีการจดทะเบียน

    1.png

    https://www.techtalkthai.com/foxconn-cuts-60000-jobs-and-uses-robots-with-ai-instead/
     
    Last edited: 27 May 2016
    Anduril likes this.
  20. ridkun_user

    ridkun_user อำมาตย์น้อย Staff Member

    สมัคร:
    1 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,648
    ถ้าทำตอนนี้ พอผ่านไปสองสามปี ก็จะมีฝ่ายประชาติ๊บไตยบอกว่าขาดทุน ๆๆ แน่นอนครับ แล้วฝ่ายประชาติ๊บไตยเขาไม่สนเทคโนโลยีหรือยุทธศาสตร์ชาติหรอก เขาสนแค่ว่าในกระเป๋าตัวเองมีเงินมั้ย
     
    por, temp และ อู๋ คาลบี้ ถูกใจ
  21. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ตามไปดูบทเรียนในโลกแห่งความเป็นจริงกันบ้างนะครับ
    มาเลเซียที่เริ่มผลิตรถยนต์เองเมื่อ 30 ปีก่อน แล้วผลลงเอยมันเป็นยังไงกันบ้าง
    ******************************************


    รัฐบาลมาเลเซีย ประกาศเลิกให้การสนับสนุนค่ายรถยนต์แห่งชาติ "โปรตอน" ที่กำลังประสบปัญหา และอ้างว่าธุรกิจค่ายรถแห่งนี้ทรุดหนักเพราะถูกการเมืองแทรกแซง

    นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ของมาเลเซีย กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดตัวรถยนต์เก๋งรุ่นใหม่ เพอร์ดานา เจเนอเรชั่นที่ 4 ของโปรตอน บริษัทรถยนต์แห่งชาติ ที่เมืองหลวงราชการปุตราจายา เมื่อวันอังคารว่า บริษัทรถยนต์แห่งชาติโปรตอน ที่กำลังประสบปัญหา ไม่สามารถพึ่งพาความช่วยเหลือแบบไม่จำกัดจากรัฐบาลได้อีกต่อไป พร้อมทั้งย้ำว่า โปรตอนต้องจัดการกับข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง ในรูปแบบธุรกิจของบริษัท

    นอกจากนี้ นายนาจิบยังกล่าวโจมตีคู่ปรับทางการเมือง คืออดีตนายกรัฐมนตรีดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ด้วยการประกาศว่ายุคแห่งการแทรกแซงทางการเมืองต่อโปรตอนของมหาเธร์ สิ้นสุดลงแล้ว และว่า ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือบริษัทโปรตอน 14,000 ล้านริงกิต แต่ปัจจุบัน ส่วนแบ่งตลาดในประเทศของบริษัทลดลงเหลือ 15% จาก 74% เมื่อปี 2536 และ โรงงานผลิต 2 แห่งของโปรตอน สามารถผลิตรถยนต์ได้ปีละ 400,000 คัน แต่สามารถขายได้เพียงแค่ 102,000 คัน เท่านั้นเมื่อปีที่แล้ว

    ทั้งนี้ โปรตอน โฮลดิ้งส เบอร์ฮัด ก่อตั้งโดยอดีตนายกรัฐมนตรีดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด เมื่อปี 2526 มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองชาห์ อลาม รัฐเซลังงอร์ เป็นผู้ผลิตรถยนต์แห่งชาติของมาเลเซียบริษัทแรก จนกระทั่งปี 2536 จึงมีการก่อตั้งเปอโรดัว เป็นบริษัทรถยนต์แห่งชาติรายที่ 2

    เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา รัฐบาลมาเลเซีย อนุมัติเงินกู้จำนวน 1,500 ล้านริงกิต หรือประมาณ 13,495 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบริษัทโปรตอนที่กำลังประสบปัญหาหนี้สิน
     
    Alamos, Anduril และ นอกคอก ถูกใจ
  22. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    ไปฟังแผนพัฒนาประเทศระยะต่อไปกันดีกว่า
    ********************************


    กรุงเทพฯ 15 มิ.ย. – “Exclusive Talk” วันนี้ คุณโศภณ นวรัตนาพงษ์ ไปพูดคุยกับ ดร.ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เกี่ยวกับการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งกำลังจะประกาศใช้ในเดือนตุลาคมนี้ การร่างแผนฯ เพื่อวางอนาคตของประเทศ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในยุคปัจจุบัน มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปติดตามพร้อมกัน. – สำนักข่าวไทย



    "สมคิด" ชูการขับเคลื่อนงานใน 4 มิติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
     
    Last edited: 17 Jul 2016

Share This Page