สื่ออินโดฯถาม 'ทักษิณ' ไม่ผิดแล้วหนีทำไม 15 พ.ย. 56 (11:16 น.) เปิดอ่าน 122,424 ความคิดเห็น337 พิมพ์หน้านี้ 918 ถูกแชร์ทั้งหมด แชร์เรื่องนี้ 918ทวีตเรื่องนี้ 0 สื่ออินโดฯถาม 'ทักษิณ' ไม่ผิดแล้วหนีทำไม สนับสนุนเนื้อหา บทความสื่ออินโดฯ ถาม "ทักษิณ" มั่นใจว่าไม่ผิด ทำไมไม่สู้คดี เหน็บ "ยิ่งลักษณ์" เดินเกมผิด หรือไร้เดียงสา เร่งช่วยพี่ชายจนถูกต้านเกือบล้มทั้งกระดาน จาการ์ตา โพสต์ สื่อดังของอินโดนีเซีย เล่นแรง เขียนบทบรรณาธิการชื่อ "A dangerous sister's love" โดยระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย เดินเกมผิดพลาด หรือ ไร้เดียงสา จากการพยายามหาทางช่วยพี่ชาย (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) กลับประเทศ ในเวลานี้ด้วยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม จนนำมาซึ่งการประท้วงต่อต้านครั้งรุนแรงตามท้องถนน บทบรรณาธิการของจาการ์ตา โพสต์ ระบุด้วยว่า "ยิ่งลักษณ์" อาจจะต้องจ่ายค่าตอบแทนของบทเรียนราคาที่สูงลิ่ว จากความผิดพลาดในครั้งนี้ แม้ว่ากองทัพ ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการขับไล่รัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้งยังคงนิ่งเฉยในเรื่องดังกล่าว แต่ก็จะประมาทไม่ได้ เพราะครั้งก่อน กองทัพ เคยใช้ข้ออ้างเรื่องความมั่นคงในการปฏิวัติ "ทักษิณ" มาแล้ว และซ้ำร้าย จะยิ่งไปกันใหญ่ หากทหารได้รับอนุญาต อีกครั้ง เพื่อฆ่าประชาธิปไตย ในนามของการรักษาความปลอดภัย และความมั่นคง เหมือนปี 2010 ที่ทหาร ปราบปรามผู้สนับสนุนของ "ทักษิณ" จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 90 ราย จาการ์ตาร์โพสต์ ยังระบุอีกด้วยว่า "ทักษิณ" คือต้นเหตุความแตกแยกในประเทศไทย ได้รับความนิยมสูงจากเกษตรกร และประชาชนในชนบท แต่เป็นศัตรูหมายเลข 1 ของชนชั้นกลาง ในเขตเมือง ชนชั้นสูง ทางการ เมือง ทหาร และที่สำคัญที่สุดคือ พระราชวงศ์ ถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาคอร์รัปชั่น ต้องติดคุก 2 ปี และยึดทรัพย์จำนวนมาก ซึ่งจากความผิดดังกล่าว ทำให้น้องสาวต้องออกกฎหมายนิรโทษกรรม จนนำมาซึ่งความ วุ่นวายจนต้องยอมถอย และถอนกฎหมายออกจากสภา แต่ผู้ประท้วงยังไม่ยอมหยุด แม้ว่า "ยิ่งลักษณ์" จะร้องขอให้ยุติการชุมนุมก็ตาม ทั้งนี้ บทบรรณาธิการของจาการ์ตา โพสต์ ทิ้งท้ายว่า ทักษิณ อาจจะไม่สามารถกลับมาเหยียบประเทศไทยได้อีกครั้ง แม้ว่าขณะนี้จะเป็นนายกรัฐมนตรีโดยพฤตินัยก็ตาม จึงตั้งคำถามกลับไปว่าหาก "ทักษิณ" มีความมั่นใจ ในความบริสุทธิ์ของตน ทำไมไม่เผชิญหน้ากับความยุติธรรมโดยตรง และคำถามนี้ "ทักษิณ" เพียงคนเดียวที่สามารถตอบได้ http://news.sanook.com/1308862/
เหอๆๆ... ตรรกะบ้าๆ จากนายใหญ่สู่ชาวไพร่ ขี้ข้า... --------------------------------- ---------------------------------
ชาวเสรีไทยข้องใจ ชิมิ ทักษิณหากไม่ผิดจริงจะหนีไปต่างประเทศทำไม .....ได้เลย ผมจะมาให้ความรู้ ขอเวลาเขียนและขัดเกลาสำนวนภาษาให้มัน ฟังแล้วได้ความรู้แตกฉาน ฟังแล้วความรู้มันจิ๊ดๆ สามารถทะลุเข้าสมองหนาเตอะได้ จนชาวเสรีไทยหายสงสัย ไม่กล้าถามไม่อยากถาม "ไม่ผิดหนีทำไม" อีกเลยล่ะ เดี๋ยวรู้ เดี๋ยวรู้เลย
ผมว่าไม่ต้องนะครับ เพราะคุ้นๆว่าจะเคยอ่านมาแล้ว อย่าเสียเวลาเลยครับ เดี๋ยวจะเจ็บตัวเปล่าๆ โดยเฉพาะ ผัวเซ็น เมียซื้อ จริงๆผมถามให้ใหม่ก็ได้ว่า หากทักษิณไม่ผิดจริง ทำไมทนายต้องทิ้งถุงขนม
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1224599666 องค์คณะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คตส.มีอำนาจตรวจสอบดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองและมีการร้องทุกข์โดยชอบถูกต้องตามกฎหมาย โดยศาลฎีกาฯมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (1) และ (2) คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 อนุ 1 หรือไม่ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่ากองทุนฯไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกำกับควบคุมดูแลกองทุนฯ ศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 4 ไม่ได้บัญญัติคำว่าหน่วยงานของรัฐไว้เป็นการเฉพาะ แต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 มาตรา 3 บัญญัติว่าหน่วยงานรัฐ คือกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นใดที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ในการป้องกันการใช้อำนาจรัฐกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ และกฎหมายทั้งสองฉบับตราขึ้นในปีเดียวกัน ดังนั้น คำว่าหน่วยงานของรัฐจึงมีความหมายเป็นไปทำนองเดียวกัน จากการไต่สวนได้ความว่ากองทุนถูกตั้งขึ้น ตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 29 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจดูแลและพิจารณาส่งเงินเข้าสนับสนุนเป็นครั้งๆ ดังนั้น องค์คณะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่ากองทุนฯเป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 อนุ 1 ที่จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับควบคุมดูแลกองทุนฯนั้น ศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ และรัฐมนตรี ซึ่งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกฯ มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน และตาม พ.ร.บ.บริหารระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกฯมีอำนาจบริหารราชการ 3 ส่วน คือส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น โดย มาตรา 11 กำหนดให้นายกฯเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปทั้ง 3 ส่วนราชการ มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการทั้งในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย และมาตรา 40 กำหนดให้แต่ละกระทรวงมีรัฐมนตรีดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา จึงมีอำนาจการบริหารเหนืออำนาจข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ขณะที่กองทุนฯก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธปท.กองทุนฯจึงเป็นหน่วยงานของรัฐ แม้กรรมการจัดการกองทุน จะมีอิสระ แต่ก็มีผู้ว่าการ ธปท.เป็นประธาน และปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธานล้วนมีความเกี่ยวข้องที่จะให้คุณให้โทษได้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากคำเบิกความของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ธปท.และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เบิกความว่า กองทุนมีหนี้จำนวนมาก ซึ่งในยุครัฐบาลของนายชวน หลีกภัย นั้นนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขณะนั้น ได้เสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอออกพันธบัตรจำนวน 5 แสนล้านบาท เพื่อล้างหนี้ให้กองทุนฯ นอกจากนี้ พยานยังเคยเสนอรัฐบาลออกพันธบัตร 7.8 แสนล้านบาทอีกด้วย ขณะที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เบิกความว่า เงินที่สนับสนุนกองทุนฯได้มาจากการอุดหนุนของรัฐบาล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังมีอำนาจเข้ามากำกับดูแลผ่านปลัดกระทรวงการคลังที่เป็นรองประธานกรรมการกองทุนฯ จากคำเบิกความของพยานโจทก์แสดงให้เห็นว่า ในทางปฏิบัติ นายกฯจะใช้อำนาจกำกับดูแลกองทุนได้โดยผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังตามลำดับชั้น ดังนั้น องค์คณะจึงมีมติ 6 ต่อ 3 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับควบคุมดูแลกองทุนฯ ข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองจึงฟังไม่ขึ้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่า การทำสัญญาซื้อขายของจำเลยที่ 1 เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 อนุ 1 หรือไม่ ศาลเห็นว่า เหตุที่ต้องตั้งกองทุนฯเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจ หากปล่อยให้สถาบันการเงินล้มจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน จึงจำเป็นต้องนำเงินส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือ อาทิ นำเงินไปซื้อที่ดินหรือทรัพย์สินซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริงเพื่อให้สถาบันการเงินได้กำไร นำเงินไปชำระหนี้ ให้ดำรงอยู่ได้ ซึ่งที่ดินพิพาทคดีนี้กองทุนฯซื้อมาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณ ทรัสต์ จำนวน 13 โฉนด เนื้อที่ 35 ไร่เศษ มูลค่า 2,140 ล้านบาทเศษ และอีกหนึ่งแปลงซึ่งอยู่บริเวณศูนย์วัฒนธรรม มูลค่า 2,749 ล้านบาทเศษ เมื่อปี 2538 ต่อมาปี 2544 กองทุนฯปรับมูลค่าหนี้ให้ลดน้อยลง เพื่อให้เกิดสภาพคล่องโดยลดราคาที่ดินเหลือ 700 กว่าล้านบาท ต่อมากองทุนฯนำที่ดินออกประมูลทางอินเตอร์เน็ตตั้งราคาขั้นต่ำ 870 ล้านบาท กำหนดวางมัดจำ 10 ล้านบาท เมื่อถึงเวลาไม่มีการเสนอราคาจึงเลิกประมูล แล้วเปิดประมูลใหม่โดยไม่กำหนดราคาขั้นต่ำ และเพิ่มวางมัดจำเป็น 100 ล้านบาท อันเป็นการกีดกันทำให้มีผู้เข้าประมูลน้อยลง จำเลยที่ 2 เข้าร่วมประมูลด้วย แม้ว่าจะมีอีก 2 บริษัท คือบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์และบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนต์ ร่วมเสนอ แต่รู้ว่า ต้องแข่งขันกับภริยานายกฯ จึงไม่กล้าสู้ราคา แม้กองทุนฯจะเห็นว่าราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอ 772 ล้านบาทเป็นราคาสูงสุด แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาขั้นต่ำในการประมูลครั้งแรกซึ่งอาจจะขายได้ราคาที่สูงและเหมาะสมกว่า อีกทั้งขณะนั้นจำเลยที่ 1 เป็นนายกฯมีอำนาจบารมีเหนือรัฐมนตรีและมีอำนาจทางการเมืองสูงอีกทั้งฐานะการเงินมั่งคั่ง ตามหลักธรรมาภิบาลนายกรัฐมนตรี ภริยา หรือบุตรไม่สมควรเข้าไปประมูลซื้อเพราะการซื้อได้ราคาต่ำก็เป็นผลทำให้กองทุนฯมีรายได้น้อยลง ขณะที่จำเลยที่ 2 (คุณหญิงพจมาน)มีผู้รู้จักจำนวนมาก ประกอบกับข้าราชการมีค่านิยมจำนนต่อผู้มีบารมีสูง นอกจากนั้น ยังอาจให้คุณให้โทษทางราชการได้ เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ให้บัตรประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลงนามยินยอมให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินย่อมถือได้ว่า เป็นการเข้าทำสัญญาด้วยตัวเอง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 (1) วรรคสาม ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าการลงชื่อยินยอมเป็นเพียงทำตามระเบียบราชการ แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการซื้อขาย องค์คณะจึงมีมติ 5 ต่อ 4 เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 (1) วรรคสาม และต้องรับโทษตาม มาตรา 122 ขอต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ส่วนจำเลยที่ 2 องค์คณะมีมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 (1) วรรคสาม ไม่ต้องรับโทษตาม มาตรา 122 เพราะ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 ไม่ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับคู่สมรสที่กระทำความผิด มีแต่บทลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงต้องมีการตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามหลักกฎหมายอาญา เมื่อไม่มีกฎหมายให้ลงโทษศาลจึงไม่อาจลงโทษได้ สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152,157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและผู้สนับสนุนเข้ามีส่วนได้เสียกับหน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์ตน องค์คณะ 8 ต่อ 1 เห็นว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด เพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่ดูแลกองทุนฯ แต่จำเลยดำเนินการในฐานะคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอมทำสัญญาซื้อขายที่ดินอันผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. จึงไม่ผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 มาตรา157 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ส่วนที่โจทก์ขอให้ริบทรัพย์สินซึ่งเป็นที่ดินและเงินซื้อที่ดินจำนวน 772 ล้านบาท องค์คณะมีมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงมิใช่ทรัพย์อันพึงริบตามประมวลฎหมายอาญามาตรา 33 (1) (2) เมื่อพยานหลักฐานรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นนายกฯ ได้รับมอบหมายให้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและประชาชน แต่จำเลยที่ 1 กลับฝ่าฝืนกฎหมายทั้งที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล ต้องกระทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ประพฤติตนในสิ่งที่ดีงามตามจริยธรรมของนักการเมืองให้เหมาะสมกับที่ได้รับความไว้วางใจในตำแหน่งหน้าที่อันสำคัญยิ่ง จึงไม่สมควรรอการลงโทษ พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 100 (1) วรรคสาม และมาตรา 122 วรรคหนึ่งให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่นและคำขออื่นให้ยกฟ้อง เนื่องจากจำเลยที่ 1 หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาจึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับจำเลยที่ 1 เพื่อมาปฏิบัติตามคำพิพากษาต่อไป ส่วนจำเลยที่ 2 พิพากษายกฟ้องจึงให้เพิกถอนหมายจับเฉพาะคดีนี้
มาตรา 100 กฎหมายปราบโกง | เดลินิวส์ „มาตรา 100 แห่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เป็นบทบัญญัติที่อยู่ใน หมวด 9 ว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและส่วนรวม สาระสำคัญของมาตรา 100 มี 4 เรื่องใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ 1. ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี 2. ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญา กับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ 3. ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับ 4. ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงาน หรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุมหรือตรวจสอบหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ.“ อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/305351
มันมาสู้คดีนี่ แต่แพ้ไม่ใช่เหรอ เห็นท่าไม่ดี เลยขอนายพลถั่งเช่าสร้างเรื่อง ขอไปดูโอลิมปิค แล้วหนี ส่วนคดีอื่นหนี เพราะกลับมาติดคุก 555
ขนาดเสียของ ควายแดงดิ้นกันเป็นแถบเลยนะ ก๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เจอร่างปราบโกงเข้าไปเหมือนผีโดนของขลัง ร้อนกันเป็นแถบ
คำตอบของคำถามนี้มีข้อเดียว และเป็นสิ่งที่เจ้าตัวทำเป็นประจำอยู่แล้วซะด้วย คือ คนๆนี้จะเล่นในเกมที่ตัวเองได้เปรียบเท่านั้น แต่หากใครจะลากลงไปเล่นในเกมที่เสียเปรียบหรือเท่าเทียมกัน คนๆนี้จะอ้างสารพัดอย่างเพื่อที่จะไม่ลงไปเหยียบในเกมที่ไม่ได้เปรียบอีกฝ่าย พูดง่ายๆคือ ถ้าก็ได้กูเล่น ถ้ากูไม่ได้กูเผ่น