ฉุดไม่อยู่! เศรษฐกิจไทยสุดร้อนแรง คลังประกาศขยับจีดีพีเพิ่มเป็น 4.5% จากคาดการณ์เดิมที่ 4.2% พร้อมฟุ้งมีลุ้นโตไปไกลถึง 5% รับอานิสงค์ปัจจัยขับเคลื่อนหนุนเต็มพิกัด ปลื้มส่งออก ใช้จ่ายลงทุนรัฐ-เอกชนยังแจ่ม รายได้เกษตรทยอยปรับเพิ่ม มองครึ่งปีโตไม่มีแผ่วที่ 4.5% น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 4.5% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 4.2-4.8% เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ 4.2% เนื่องจากการส่งออกขยายตัวได้ดี และการใช้จ่าย และการลงทุนภาครัฐยังเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ภาคธุรกิจและส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนภาคเอกชนในประเทศได้มากขึ้น สำหรับการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้คาดว่าจะขยายตัวที่ 3.8% จากเดิมที่ 3.5% ได้รับแรงสนับสนุนจากรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นตามการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ขณะที่รายได้เกษตรกรเริ่มทยอยปรับตัวดีขึ้น ขณะที่มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้งระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ยังคาดว่าจะมีส่วนช่วยสนับสนุนกำลังซื้อของครัวเรือนในระยะต่อไป โดยจากข้อมูลพบว่า ในช่วง 9 เดือนของปีงบประมาณ 2561 (ต.ค. 60-มิ.ย. 61) มีเม็ดเงินจากการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการหมุนเวียนในระบบสูงถึง 3.1 หมื่นล้านบาท “การปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2561 ครั้งนี้ ยังไม่ได้มีการพิจารณาแรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ที่รัฐบาลเริ่มทยอยออกมา โดยหากอยากให้เศรษฐกิจไทยโตได้เต็มเพดานที่ 4.8% ปัจจัยเสริมต่าง ๆ อาทิ ตัวเลขนักท่องเที่ยวต้องเติบโตได้ 40 ล้านคน อัตราแลกเปลี่ยนต้องอ่อนค่าลง การเบิกจ่ายของภาครัฐ และการลงทุนต่าง ๆ ต้องทำได้อย่างเต็มที่ แต่ก็ยอมรับว่าการที่จีดีพีปีนี้จะเติบโตถึง 5% ก็มีสิทธิที่จะเป็นไปได้ แต่สมมุติฐานทุกอย่างต้องเป็นไปตามทิศทางที่เราคาดการณ์ไว้ทั้งหมด ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ บางครั้งยังมีปัจจัยที่ผันผวนและเราควบคุมไม่ได้ นั่นคือ ปัจจัยภายนอก” น.ส.กุลยา กล่าว สำหรับมาตรการที่รัฐบาลเห็นชอบและยังไม่ได้นำมาคิดคำนวณการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2561 ประกอบด้วย โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS7 ของบรรษัทค้ำประกันสินเชื่อขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท จะทำให้มีผู้ประกอบการได้สินเชื่อ 4.3 หมื่นราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบ 2.4 แสนล้านบาท รวมถึงโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro Entrepreneur วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ทำให้มีผู้ได้สินเชื่อ 1.5 แสนล้านบาท จะทำให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีโครงการช่วยเหลือเกษตร อาทิ โครงการรักษาระดับราคาพืชผลทางการเกษตร ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มอีกจำนวนมาก ซึ่งยังไม่รวมกับมาตรการพักหนี้เกษตรกร และ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีแวต) ให้กับผู้มีรายได้น้อยที่มาลงทะเบียนภาครัฐ 11.4 ล้านคน ซึ่งยังไม่ได้ความเห็นชอบจาก ครม. ทำให้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและทำให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเท่าไร น.ส. กุลยา กล่าวว่า ในวันที่ 20 ส.ค. นี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จะรายงานตัวเลขการขยายตัวเศรษฐกิจไตรมาส 2 จากที่ไตรมาสแรกขยายตัวได้สูงถึง 4.8% คาดว่าไตรมาส 2 ยังขยายตัวได้สูง และทำให้ครึ่งปีแรกเศรษฐกิจขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 4.5%
ไทยมี 'กันชน' และ 'กระสุน' : แต่เราฝืนตลาดโลกไม่ได้! 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เวลา 07:58 น. เมื่อได้นั่งลงถาม-ตอบกับ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าฯแบ็งก์ชาติในหัวข้อสำคัญของเศรษฐกิจไทย...หนึ่งในคำถามใหญ่คือไทยจะรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมขณะที่ธนาคารกลางมะกันประกาศขยับทุกไตรมาสหรือถี่กว่านั้นได้จริง ๆ หรือ? คำตอบชัด ๆ คือ “เราฝืนตลาดโลกไม่ได้ครับ” เพราะระบบการเงินโลกมันเชื่อมโยงกัน ประโยคต่อไปน่าจะส่งสัญญาณอะไรบางอย่างได้ “ถึงแม้วันนี้เราจะยังไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่เราก็เริ่มเห็นอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของเราค่อย ๆ ปรับขึ้น สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินโลก...” เราสามารถซื้อเวลาได้ระยะหนึ่งก็เพราะ “กันชน” ด้านต่าง ๆ ที่ไทยได้สร้างเอาไว้ รวมถึง “การตุนกระสุน” เอาไว้เผื่อจะต้องใช้รักษาป้อมปราการเอาไว้ “กันชน” ที่ว่านี้มีอะไรบ้าง? อันแรกคือการใช้เงินจากต่างประเทศค่อนข้างน้อย พึ่งพาเงินตราจากข้างนอกไม่มาก หนี้ต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ ภาครัฐคืนนี้ต่างประเทศไปเยอะมากในช่วงที่ผ่านมาเพราะสภาพคล่องในประเทศสูง ภาคเอกชนมีหนี้ต่างประเทศอยู่บ้าง ส่วนใหญ่กู้มาเพื่อลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะธุรกิจยักษ์ของไทยที่ไปลงทุนข้างนอก สถานการณ์วันนี้จึงต่างจากช่วง “วิกฤตต้มยำกุ้ง”ที่ไทยไปกู้เงินต่างประเทศมาใช้กันมโหฬาร เกิดปัญหาความไม่สมดุลระหว่างสกุลเงินต่าง ๆ ตอนนี้สถานการณ์กลับกัน “กันชน” อีกด้านหนึ่งคือต่างชาติถือพันธบัตรรัฐบาลของไทยเพียงร้อยละ 10 ขณะที่ประเทศรอบบ้านเรา บางประเทศตัวเลขนี้สูงถึงร้อยละ 40 ด้วยเหตุนี้ หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ประเทศเหล่านั้นจะตกอยู่ในสภาพอ่อนไหวกว่าไทย “กันชน” อีกแถวหนึ่งที่สำคัญคือทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยวันนี้ค่อนข้างสูง เท่ากับ 3.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และหากเทียบกับหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหนี้ระยะสั้น ระยะยาว หนี้ทางการ หนี้ภาคเอกชน ไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงกว่าประมาณ 1.5 เท่า อีกกันชนหนึ่งที่ไม่ได้ค่อยได้พูดถึงกันคือการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่สูงมากใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ปีนี้คาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 9 ของจีดีพีหรือคิดเป็นเงินก็ประมาณ 40,000 ล้านเหรียญ เพราะเราได้จากการขายสินค้าออกไปและรายได้จากนักท่องเที่ยวเข้ามา เหตุนี้แหละที่ผู้ว่าธนาคารกลางไทยบอกว่าเมื่อมี “กันชน” ที่แข็งแกร่งก็ทำให้มีอิสระในการทำนโยบายการเงินเพื่อตอบโจทย์สถานะเศรษฐกิจในประเทศได้ แต่ถ้าอเมริกาขึ้นดอกเบี้ยถี่และต่อเนื่อง ก็ไม่แน่ ดร.วิรไทย้ำ “เราไม่มีทางฝืนตลาดเงินตลาดทุนโลกได้” แปลว่าแม้จะมี “กันชน” และ “กระสุน” ที่ช่วยเป็นเกราะกำบังได้ในช่วงนี้ อะไร ๆ ที่คาดไม่ถึงก็อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ จึงเป็นที่มาของคำเตือนว่า “ความเสี่ยงยังสูง คนไทยอย่าชะล่าใจ” เป็นอันขาด คำแนะนำก็คือแม้คนไทยจะคุ้นชินกับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็อย่าประมาท “อาศัยโอกาสที่ดอกเบี้ยยังถูกอยู่นี่ก็ล็อกซะ , ล็อกอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ทำให้ตราสารยาวขึ้น ก็ลดความเสี่ยงเวลาที่ต้องต่ออายุ เวลาที่ตราสารระยะสั้น ๆ ครบกำหนด เวลาที่ต้อง roll over ก็จะได้ไม่ค่อยมีปัญหา อัตราดอกเบี้ยต่ำไม่ได้แปลว่าไม่มีปัญหา “การที่อัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานานก็สร้างผลข้างเคียงหลายอย่าง...เรามีผู้ออกที่เราต้องดูแลด้วย ไม่ใช่มีแต่ผู้กู้อย่างเดียว คนไทยต้องมีความมั่นคงการเงิน เราจะเป็นสังคมผู้สูงวัย ดังนั้นเรื่องของผลตอบแทนจากการออมก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องดูแลให้สมดุล...” การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานานมาก ๆ ก็ทำให้เกิดพฤติกรรมที่มักจะประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร และพยายามมุ่งแต่จะหาผลตอบแทน ผลที่ตามมากมีปัญหาเช่นลักษณะ “กึ่ง ๆ ธนาคารเงา” เช่นกรณีที่มีคนถอนเงินฝากธนาคารไปฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ เขาเอาเงินไปทำอะไร ทำไมเขาถึงได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า อาจมีความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ และขณะเดียวกันเราก็เห็นกรณีของตราสาร ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เรียกว่า unrated bond ที่คนเข้าไปลงทุนกันเยอะในช่วงปีสองปีก่อนหน้านี้” นี่คือตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า search for yield หรือการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นโดยไ่ม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงอย่างรอบด้าน เรื่องของดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องของทุกคน ขึ้นก็กระทบบางกลุ่ม ลงก็กระเทือนอีกบางคน ท้ายที่สุดการ “บริหารความสมดุล” คือหัวใจของคนบริหารธนาคารกลางอย่าง ดร.วิรไทนี่แหละ ที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/14198
พี่ตู่บริหารประเทศแบบไม่ต้องเคลมผลงานคนอื่นเป็นของตัวเอง แบบไม่ต้องอ้างว่าตัวเองเป็นเทพเศรษฐกิจ เทพยกหางตัวเองยังทำไม่ได้เลยครัช ผมนี่ขอบอกพี่ตู่แค่ว่า อยู่ต่อเลยได้ไหม !!!
ของจริงตัวเลขดี ก็ว่า อวยกันเอง ของปลอม เอาผลงานคนอื่นมาเคลม ก็ว่า เทพเศรษฐกิจ อัศวินควายแดง สุดท้ายก็วนมา หนี้รัฐ นายทุนใหญ่ มโนกันเองครื้นเครงกันในกะลา ตัวเลขของจริงมี ไม่มาดู สงสัยเห็นแล้วปวดใจว่า พี่ตู่ผมของจริงดีจริง
นี่ถ้าไม่ต้องจ่ายค่าโกงข้าวหลายแสนล้านบาท ไม่ต้องจ่ายให้แม่ปูกี้แกเอาไปผลาญแด๊ะแด๋ทั่วโลก ไม่ต้องจ่ายค่าซ่อมแซมที่เผาไทยและลูกจ้างเผาบ้านเผาเมืองทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ไม่ต้องจ่ายที่ควายแดงที่ตายและบาดเจ็บเอาไปผลาญแบ่งกัน ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ป่านนี้เงินสำรองเราคงมีถึงล้านล้านดอลล่าร์แล้วมั้ง?
ใครจะเก่งเท่าพ่อแม้วของ Anurid ละคร้าบบบ แค่จำนำข้าวก็ห้าแสนล้านส่งผลถึงลุงตู่อีกสองแสนล้าน นี่ถ้าอยู่ต่อกู้นอกระบบสองล้าน ๆ เอามาใช้กับโครงการจำนำข้าวอย่างเดียวแน่นอนไม่ต้องเอาไปทำอะไรแล้ว ตะกูลพ่อแม้วของ Anurid รวยพุงแตกไม่ต้องเอื้อนายทุนใหญ่รายไหนเลย