รอยเตอร์ – เงิน “หยวน” ของจีนติดอันดับสกุลเงินตราที่ถูกใช้เพื่อการชำระหนี้ต่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยมีมูลค่าการทำธุรกรรมข้ามประเทศเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในปี 2014 สมาคมสื่อสารการเงินระหว่างธนาคารนานาชาติ (SWIFT) ประกาศวันนี้(28) รัฐบาลจีนต้องการส่งเสริมให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินที่ใช้ชำระหนี้ระหว่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานะของจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก แต่ขณะเดียวกัน ปักกิ่งก็ยังมีนโยบายควบคุมค่าเงินอย่างเข้มงวด หยวน หรือ “เหรินหมินปี้” (RMB) ขยับแซงดอลลาร์แคนาดาและดอลลาร์ออสเตรเลียขึ้นมาอยู่ใน Top 5 ของสกุลเงินที่มีการใช้ชำระหนี้แพร่หลายที่สุดในโลกเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยไต่สูงขึ้นถึง 8 อันดับในช่วงเวลาไม่ถึง 2 ปี จากที่เคยอยู่อันดับ 13 ของโลก เมื่อเดือนมกราคม ปี 2013 SWIFT แถลงว่า สัดส่วนการชำระหนี้ด้วยเงินหยวนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.17 ในเดือนธันวาคม และมีแนวโน้มที่จะแซงหน้าเงินเยนญี่ปุ่นซึ่งมีส่วนแบ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.69 โดยภาพรวมแล้ว การชำระหนี้ต่างประเทศผ่านสกุลเงินหยวนเพิ่มขึ้นถึง 102 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าพุ่งแรงที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของสกุลเงินอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นเพียง 4.4 เปอร์เซ็นต์ นักวิเคราะห์บางคนถึงกับทำนายว่า เงินหยวนจะกลายมาเป็นคู่แข่งกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในเวทีการเงินโลกได้ในอีกไม่ช้า “นี่คือบทพิสูจน์ที่ยอดเยี่ยมในความเป็นสากลของเหรินหมินปี้ และยืนยันว่าเงินหยวนกำลังจะเปลี่ยนจากการเป็นสกุลเงินที่เริ่มเติบโต (emerging) ไปสู่การเป็นสกุลเงินเพื่อการชำระหนี้ทางธุรกิจตามปกติ (business as usual)” วิม เรย์แมเกอร์ส หัวหน้าแผนกตลาดธนาคารของ SWIFT ระบุในถ้อยแถลง ดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงเป็นสกุลเงินที่ใช้ชำระหนี้ต่างประเทศมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.64 ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ส่วนอันดับสองได้แก่ ยูโร (ร้อยละ 28) และปอนด์สเตอร์ลิง (ร้อยละ 7.92) รัฐบาลจีนได้จัดทำระบบหักบัญชีผ่านสกุลเงินหยวนใน 10 ประเทศและภูมิภาค และยังมีข้อตกลงสว็อปเงินตราต่างประเทศกับธนาคารกลางอีก 28 แห่ง สัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงพาณิชย์จีนแถลงว่า จะเริ่มประกาศตัวเลขการลงทุนทั้งขาเข้าและขาออกเป็นสกุลเงินหยวนเท่านั้น และยกเลิกการแจ้งสถิติด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทางกระทรวงฯ ยอมรับว่า นโยบายนี้เป็นอีกหนึ่งความพยายามของจีนที่จะส่งเสริมบทบาทของเงินหยวนในเวทีการเงินโลก ปล ระหว่างที่ตะวันตก ตะวันออกกลาง ฟัดกันนัว อาเสี่ยเราก็ตั้งหน้าตั้งตา เก็บเงินเก็บทองอย่างเมามัน 555
นาทีนี้เป็นสกุลเงินที่แกร่งที่สุดในโลก ไม่ใช่เพียงเศรษฐกิจของจีนน่าลงทุนที่สุดแล้ว ยังก้มหน้าก้มตาทำมาค้าขายอย่างเดียว ต่างจากอเมริกาความมั่งคั่งของประเทศ มาจากธุรกิจน้ำมันกับค้าอาวุธสงคราม
BRICS : อิฐห้าก้อนที่จะก่อเป็นกำแพงยักษ์ อะไรคือก้อนอิฐห้าก้อน? BRICS เป็นตัวอักษรห้าตัวที่แทนชื่อประเทศ 5 ประเทศ อันได้แก่ B : Brazil R : Russia I : India C : China S : South Africa 5 ประเทศข้างต้นคือใครบ้าง ผมคิดว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่ก็คงพอจะทราบอยู่บ้าง โดยเฉพาะจีน อินเดีย และรัสเซีย สำหรับบราซิลและแอฟริกาใต้นั้น ไม่น่าจะเป็นที่รู้จักมาก ฉะนั้นผมจะหาโอกาสขยายความเกี่ยวกับ 2 ประเทศนี้ให้ท่านผู้อ่านรับทราบในจังหวะที่เหมาะสมต่อไป แต่สำหรับสัปดาห์นี้ ผมจะขออนุญาตนำท่านผู้อ่านเข้าสู่การประชุมสุดยอดกลุ่มห้ายักษ์เกิดใหม่ที่เรียกว่า Fifth BRICS Summit ที่เมือง Durban ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 26-27 มีนาคม 2556 เพื่อรับรู้ว่าก้อนอิฐห้าก้อนกำลังทำอะไรกัน และคิดอ่านจะทำอะไรต่อไปในอนาคต อิฐห้าก้อนสามารถก่อเป็นกำแพงยักษ์ ก่อนจะรู้ว่าพวกเขาจะทำอะไรกัน ลองมารู้จักอิฐทั้งห้าก้อนกันดูสักนิด ว่าพวกเขาหน้าตาเป็นอย่างไร ลำหักลำโค่นขนาดไหน ในแง่ขีดความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการในปัจจุบัน (2012) จีนผลิตสินค้าและบริการได้ปีละประมาณ 7.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับสองคือบราซิลประมาณ 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อินเดียกับรัสเซียพอๆ กัน คือผลิตได้ประมาณ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนน้องนุชสุดท้อง คือแอฟริกาใต้ผลิตได้เพียงประมาณ 0.4 ล้านล้านดอลลาร์ (ใหญ่กว่าประเทศไทยเล็กน้อย) เมื่อรวมทั้งกลุ่ม (อิฐห้าก้อน) ผลผลิตประชาชาติรวมกันจะเท่ากับประมาณ 14 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเท่ากับประมาณ “หนึ่งในสี่” ของ GDP โลก ซึ่งก็คือตัวเลขเดียวกับ GDP ของสหรัฐอเมริกานั่นเอง แต่ถ้าดู “อัตราการเติบโต” จะเห็นว่า BRICS โตเร็วกว่าสหรัฐถึงสองสามเท่า ซึ่งนั่นแปลว่าในอีกไม่ถึงสิบปี กลุ่ม BRICS จะมีขนาด GDP เป็นสองเท่าของสหรัฐ พูดภาษาชาวบ้านก็คือ อีกไม่นานก็รู้แล้วว่า “ใครใหญ่?” นี่พูดในแง่ของ “ความสามารถในการผลิต” แต่ในแง่ของ “ตลาดที่จะรองรับผลผลิต” ก็ต้องบอกว่า “อิฐห้าก้อน” ของผมเป็นตลาดที่มหึมาที่สุด เพราะตัวเลขล่าสุด BRICS มีประชากรรวมกันทั้งสิ้นเกือบ 43% ของประชากรโลก หรือกว่า 3,000,000,000 คน (สามพันล้านคน) ในปัจจุบัน ซึ่งหากรวมประชากรในทวีปแอฟริกาที่กลุ่ม BRICS กำลังเกี้ยวพาราสีอยู่ ตลาดก็จะขยายไปครอบคลุมประชากรโลกกว่า 4,000,000,000 คน เรียกว่าค้าขายกันเองในกลุ่มก็ครอบคลุมตลาดเกินครึ่งโลกแล้ว และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่การประชุม “ซัมมิต” ของกลุ่มในปีนี้จัดที่เมืองเดอร์บาน ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีประเทศแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ และท่านผู้อ่านจะยิ่งเข้าใจเกมมากขึ้นถ้ารู้ว่าเดิม “BRICS” นั้นมีเพียง BRIC ไม่มี “S” คือประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเพิ่งได้รับเชิญเข้าร่วมกลุ่มเมื่อเดือนกันยายน ปี ค.ศ.2010 คือเมื่อสองปีกว่าๆ ที่ผ่านมานี้เอง ส่วน BRIC เดิมนั้นเป็น Strategic Cluster ที่ Goldman Sachs นำเสนอขึ้นเมื่อปี 2001 เพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้มใหญ่ของพัฒนาการเศรษฐกิจของโลกในอีก 20-30 ปีข้างหน้า โดยเชื่อว่า “ตัวขับเคลื่อน” เศรษฐกิจโลกในยุคหน้าประกอบด้วย “จีนกับอินเดีย” ในทวีปเอเชีย ส่วนในทวีปอเมริกาก็คือ “บราซิล” ส่วนยุโรปก็คือ “รัสเซีย” ต่อมาได้เพิ่ม “แอฟริกาใต้” เพื่อเป็นตัวแทนของทวีปแอฟริกา 10 ปีที่ผ่านมา ความเป็นจริงได้พิสูจน์แล้วว่า BRICS เป็นก้อนอิฐที่ไม่ธรรมดา ทั้งแข็งแกร่งทั้งเติบใหญ่อย่างรวดเร็ว และดูเหมือนจะเกาะกลุ่มกันได้ดีพอสมควร ซัมมิตครั้งที่ 5 : และแล้วประเทศด้อยพัฒนาก็มีธนาคารเพื่อการพัฒนาของตนเอง เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา 5 ประเทศกำลังพัฒนาภายใต้ชื่อ BRICS ได้ตกลงที่จะร่วมกันจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่ง BRICS ขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ นอกเหนือจากธนาคารพัฒนาที่มีอยู่เดิมเช่น “ธนาคารโลก” “ไอเอ็มเอฟ” และ “ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย” (ADB) เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ เป็นการประกาศอย่างเปิดเผยต่อประเทศในซีกโลกตะวันตกว่า “วัน เวลา” แห่งความเป็นอิสระทางการเงินกำลังใกล้เข้ามาแล้ว การจัดตั้ง “ธนาคารเพื่อการพัฒนา” สำหรับกลุ่ม BRICS ในสไตล์เดียวกับธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟ เท่ากับเป็นการท้าทายอย่างซึ่งหน้า เพราะสำหรับระบบทุนนิยมแล้ว “ทุนธนาคาร” คือศูนย์กลางแห่งอำนาจ และเป็นตัวแทนอำนาจสูงสุดของระบบ การที่ BRICS จะจัดตั้งธนาคารเพื่อดูแลการพัฒนาเศรษฐกิจกันเอง ย่อมแสดงถึงความแข็งแกร่ง และความพร้อมที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนเพื่อการพัฒนาจากธนาคารโลกอีกต่อไป โต้โผใหญ่ในงานนี้หนีไม่พ้น “จีน” ครับ เพราะจีนมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากกว่า 3,000,000,000,000 (3 ล้านล้าน) ดอลลาร์สหรัฐ และจีนรู้ดีว่าหลาย 10 ปีก่อน สหรัฐได้ใช้ธนาคารโลกเป็นเครื่องมือในการแผ่ขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ (และการเมืองด้วย) ครอบงำแทบทุกจุดในโลกและได้ผลอย่างดียิ่ง มาวันนี้จีนก็เพียงเจริญรอยตามรุ่นพี่ (สหรัฐอเมริกา) ใช้ “เงินทุน” เป็นตัวล่อในการบุกและรุกเข้าครอบงำเศรษฐกิจในแอฟริกาได้อย่างขั้นเทพ เป็นที่ต้อนรับอย่างอบอุ่นในทุกที่ที่เข้าไป หมดยุคแล้วครับสำหรับการใช้ลัทธิอุดมการณ์ (เช่นมาร์กซ์-เลนิน และความคิดเหมาเจ๋อตง) เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่อิทธิพลเข้าครอบงำประเทศในโลกที่สาม ยุคนี้ต้องทุนและอินเทอร์เน็ตครับ. วีระ มานะคงตรีชีพ 1 เมษายน 2556 ไม่รู้ว่าเกี่ยวกันหรือเปล่า แต่อยากให้อ่านและพิจารณากัน แต่สำหรับผมแล้ว ถือว่าเรื่องนี้มีผลมาจากการรวมตัวของ กลุ่มประเทศBRICS แน่นอน และอยากถามต่อว่าในอนาคต ไทยเข้าร่วมกับBRICS จะมีผลอะไรเกิดขึ้นบ้าง อยากรู้จัง
5 ประเทศหลัก ไม่ว่าจะจำนวนประชากร ทรัพยากร พื้นที่ ขนาดเศรษฐกิจ ถือเป็นประเทศยักษ์ของแต่ละภูมิภาค แค่ไทยประเทศเดียว ศักยภาพอาจยังไม่เพียงพอครับ แต่ถ้าสามารถชักชวนทั้งประชาคมอาเซียนไปด้วย รับรอง BRICS อ้าแขนรับเลย
เดี๋ยวดอลล่าล์ก้อจะกลายเป็นกระดาษเช็ดตูดไปในบัดดล.......ยิ่งเสือกเรื่องชาวบ้านเค้าไปทั่ว เชื่อสิ เวลานั้นจะเข้ามาถึงเร็วขึ้น.......กรั่ก กรั่ก กรั่ก
เป็นเรื่องที่น่าหวั่นใจเพราะลำพัง10ประเทศในกลุ่มยังร่วมตัวกันเองไม่ติดเลย จะมีปฏิสัมพันธ์เฉพาะเรื่องผลประโยช์นต่างต่างตอบแทนเท่านั้น แต่ยังไม่ต้องการถึงขั้นที่จะเปิดประเทศเพื่อแชร์ทรัพยากรกับประเทศอื่นๆ บางประเทศเกาะUSA บางประเทศเกาะจีน บางประเทศไปเกาะโลกอาหรับ
ช่วย อธิบายเรื่อง ทองคำ สำรองหน่อยครับ กรณี รัสเซีย หรือตั้งกระทู้ใหม่ ยิ่งดี อยากอ่าน อาจมีเพื่อนๆ สนใจ กับเงิน กระดาษ ของ USD จริงหรือไม่ ขอบพระคุณล่วงหน้า
หันมาคบจีนให้มากขึ้น ลดด้านไอ้กันลงมั่งก็ดีเหมือนกันนะ ยังไงก็หัวดำด้วยกัน ไอ้กันมันมองไม่เห็นหัวพวกเอเชีย