บอกตรงๆว่าไม่สันทัดเรื่อง"รถคันแรก" สมัยรัฐบาลปูเป๋อ ว่ารัฐบาลต้องรับผิดชอบอะไรบ้างกับผู้ซื้อรถ เพราะเห็นมีผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกว่าโครงการนี้มันดี รัฐแทบไม่ต้องควักเงิน แถมได้เงินจากภาษีอีกต่างหาก แต่พอเศรษฐกิจตกต่ำ นักลงทุนก็หนีไปที่อื่นหมด หนทางแก้ไขปัญหาก็คือ "...จึงอยากเรียกร้องให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างเร่งด่วน เพื่อดึงความมั่นใจจากต่างประเทศกลับมา และ ม.44 อาจเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนจากต่างประเทศได้." http://www.thairath.co.th/content/490324 ท่านใดมีความรู้เรื่อง"รถคันแรก" กรุณาให้ความรู้หน่อยครับ ว่า"รัฐบาล" ไม่ต้องควักเงินจริงหรือ???
สส เผาไทย นี่มันชอบหลอกตัวเองและหลอกพวกควายแดงจริงๆ นะ ไม่สนความจริงจะเป็นอย่างไร โครงการเน่าแค่ไหนมันก็ชมว่าเป็นผลงานที่ดีได้
คือตามความเข้าใจผมนะ รถคันแรก นี่รัฐบาล จะคืนภาษีสรรพสามิต ที่เก็บจากการซื้อรถยนต์คันแรก (ต้องเป็นคันแรก ของคนซื้อ) โดยตั้งเกณฑ์ไว้ไม่เกิน 1 แสนบาท โดยปกติ รัฐบาลจะเก็บภาษีสรรพสามิต จากรถยนต์ เพราะเห็นว่า เป็นของใช้ฟุ่มเฟือย (คนทั่วไป ก็นั่งรถเมล์นะ ส่วนผม ปั่นจักรยานมาทำงาน) ดังนั้น การที่รัฐต้องคืนภาษีตรงนี้ ก็เท่ากับ รายได้จากการจัดเก็บ เมื่อมีคนซื้อรถ " ลดลง " ไม่ได้หมายความว่า ไม่ต้องควักนะ คนพูดประเด็นนี้ทำให้ คนฟังเข้าใจผิด เพราะคนซื้อรถ เป็นคนจ่ายภาษีสรรพสามิต แล้วรัฐบาลคืนภาษี จึงดูเหมือน รัฐบาลไม่ได้ออก แต่จริง ๆ คือเสียรายได้ตรงนี้ จากที่เคยได้ กรณี vat นั้น คิดจากราคาซื้อรถ ตรงนี้นอกเหนือ จาก สรรพสามิต ตรงนี้ ผมยอมรับว่าเค้าพูดถูก รัฐบาลได้จากส่วนนี้จริง แต่ผมถามว่า การกระตุ้นการใช้จ่ายเงิน แบบนี้ ดีจริงหรือ ดังที่เราเห็นกันแล้ว ว่ามีคนซื้อรถ หลายราย ไม่มีปัญญาผ่อนรถ ต้องไปคืนภาษีสรรพสามิต ให้กับรัฐบาล อีกทั้งยังโดนยึดรถไปด้วย เพราะผ่อนไม่ไหว หรือไม่ก็ขายต่อ (ราคาตกบาน) ข้อเสียที่เห็น ๆ คือ ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น แล้วก็ เมื่อจำนวนรถบนถนนมากขึ้น สิ่งที่ตามมา คือ ปัญหาจราจร แล้วก็ การใช้น้ำมันที่มากขึ้น สนับสนุน ให้คน ใช้เงินเกินตัว ผู้ได้รับประโยชน์ ก็คือ ผู้ผลิตรถยนต์ แล้วก็บริษัทขายน้ำมัน แต่หลังจากนั้น เราก็เห็นแล้ว ว่าตลาดรถ ก็เงียบไปพักใหญ่ พูดง่าย ๆ กระตุ้นให้ประชาชน เอาเงินในกระเป๋า ที่มี หรือเงินในอนาคต มาจ่าย มันคือ การเพิ่ม GDP ลวง ๆ ชั่วคราว แล้วหลังจากประชาชนพบว่า ตัวเอง ไม่ได้มีความสามารถ ใช้จ่ายมากนัก เมื่อมีหนี้สิน ก็ยิ่งต้องประหยัด แล้วเศรษฐกิจด้านอื่น จะเป็นยังไง
ถ้าจะบอกว่าไม่ได้ควักตังเอง มันก็ใช่ครับ เพราะเขาเก็บไปก่อนตอนซื้อ แล้วอีกปีค่อยเอาเงินที่เก็บนั่นคืนให้ คิดแบบเข้าข้างก็อาจจะบอกว่ารัฐได้ดอกเบี้ยเงินฝากด้วยซ้ำ แต่ที่จริงมันหมายความว่า ไอ้ที่รัฐเคยได้ มันไม่ได้ ตรงนี้คนมีสติก็คงมองออกว่ารัฐได้หรือเสีย ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั่น นโยบายนี้คือหนึ่งในความฉิบหายจากฝีมือนังยิ่งเละ ควบมากับจำนำข้าวและค่าแรง 300 บาท รถคันแรกคือนโยบายที่ดันหนี้ครัวเรือนพุ่งแบบผิดธรรมชาติ ถึงตอนนี้ยังผ่อนรถกันหลังแอ่น ขณะเดียวกันก็ดันยอดซื้อผิดแบบธรรมชาติในช่วงหนึ่งปี ทำให้ปีต่อจากนั้นยอดขายรถยนต์ลดฮวบ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อการใช้จ่าย ตามมาด้วยการจ้างงาน