น่าจะเกี่ยวกับชายแดนใต้ด้วยหรือเปล่ามีข่าวว่าช่วงปชม. มีการบิดเบือนรธน.ใหม่ในเรื่องศาสนา หรืออาจติดดาบให้ คุณสุวพันธ์จัดการปัญหาเรื่องศาสนาก็ได้นะครับ
จัดการกับพวกที่เอาศาสนาบังหน้าหากิน หรือทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือบิดเบือนแบ่งแยก ให้รับรู้ว่า นรก มีจริง
ดูแล้วน่าจะเป็นการขยายความรัฐธรรมนูญ เรื่องการคุ้มครองศาสนา เพราะในรัฐธรรมนูญเขียนเรื่องนี้ไว้สั้น ๆ ตาม มาตรา 67 ว่า รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ถ้าเขียนไว้แค่นี้ มันก็ชัดเจนว่า อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น แต่ดันไปมีวรรคสองพูดเรื่องการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาตามแบบเถรวาทว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วจบ โดยไม่พูดถึงศาสนาอื่นหรือศาสนาพุทธนิกายอื่นเลย มันก็เลยอาจถูกนำไปบิดเบือนให้คนเข้าใจผิดได้ว่า อุปถัมภ์และคุ้มครองเฉพาะพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ไม่ว่าจะเป็นการนำไปบิดเบือนโดยกลุ่มไม่อยากให้รับร่างรัฐธรรมนูญ หรือกลุ่มป่วนภาคใต้ก็แล้วแต่ มันก็ไม่เกิดผลดีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวมทั้งนั้น รัฐบาลจึงต้องใช้ ม 44 ออกเป็นคำสั่งขยายความว่าอุปถัมภ์คุ้มครองทุกศาสนาและนิกายอื่นในพุทธศาสนาด้วย ความจริงแล้ว วรรคสองนี่มันไม่จำเป็นต้องเอามาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญเลย ไปใส่ไว้ใน พรบ คณะสงฆ์ก็ได้ แต่ที่ต้องนำมาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญน่าจะเป็นเพราะ ต้องการเอาใจกลุ่มที่อยากให้กำหนดในรัฐธรรมนูญว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาตินั่นแหละ กลุ่มนี้อ้างว่าศาสนาพุทธกำลังเสื่อมเพราะถูกภัยคุกคาม เพราะฉะนั้นควรกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ แต่คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญคงไม่อยากจะไปกำหนดอะไรแบบนั้น จึงเลี่ยง ๆ มาใช้วรรคสองนี้แทน มันก็เลยอาจถูกนำไปบิดเบือนว่าคุ้มครองแต่พุทธเถรวาทเท่านั้น ความจริงเรื่องภัยคุกคามพุทธศาสนา มันมีมาตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมแล้ว ซึ่งยุคนั้นมันชัดเจนว่าเป็นภัยคุกคามจริง ไม่เหมือนยุคนี้มันเป็นภัยคุกคามโดยการอ้างเพื่อเหตุอื่นมากกว่าเป็นเรื่องศาสนาโดยตรง แต่ภัยคุกคามเหล่านั้นมันไม่สามารถที่จะคุกคามได้จริง เพราะศาสนามันเป็นเรื่องของความเชื่อซึ่งมันอยู่ในจิตใจ ถ้าจิตใจมันมั่นคงจะมาโน้มน้าวชักจูงขู่บังคับอย่างไรมันก็ไม่มีผล แต่มันจะเสื่อมได้ก็เพราะคนที่นับถือเองนั่นแหละที่ทำให้มันเสื่อม ตัวอย่างในธรรมนิพนธ์ของท่านพระพรหมณ์คุณาพร บางตอนที่ท่านเขียนไว้ ถึงฝรั่งที่พยายามเข้ามาเผยแพร่ศาสนาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ ว่า บรรดานักบวชที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาเขามองประเทศไทยอย่างไร จดหมายเหตุการเดินทางของพระสังฆราชแห่งเบริธ ประมุขมิสซังสู่อาณาจักรโคจินจีน (กรมศิลปากร, 2530; เบริธ/Berythe) ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งสมัยอยุธยา บาทหลวง ฌอง เดอ บูรซ์ (Jean de Bourgs) ได้บันทึกไว้ตอนหนึ่ง (หน้า 52) ว่า "ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าจะมีประเทศใดในโลกที่มีศาสนาอยู่มากมาย และแต่ละศาสนาสามารถปฏิบัติพิธีการของตนได้อย่างเสรีเท่ากับประเทศสยาม" และอีกตอนหนึ่ง (หน้า 52) ว่า "ความคิดของชาวสยามที่ว่าทุกศาสนาดี ดังนั้นพวกเขาจึงไม่แสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาอื่นใด หากศาสนานั้น ๆ สามารถยืนหยัดอยู่ได้ภายใต้กฎหมายของรัฐ" สมัยรัตนโกสินทร์ก็เช่นกัน ในหนังสือบันทึกเรื่องมิสซังแห่งกรุงสยาม (กรมศิลปากร 2524) โดยมุขนายก ฌอง แบปติสต์ ปาลเลอกัวซ์ (Bishop Jean Baptiste Pallegoix) ก็ได้เขียนไว้ว่า "นับแต่โบราณกาล ผู้ปกครองของไทยมีเจตนารมณ์อันดีงามที่จะปล่อยให้แต่ละชาติปฏิบัติพิธีการทางศาสนาได้อย่างเสรี" และท่านยังได้เล่าตัวอย่างเหตุการณ์ประกอบไว้ด้วย อันแสดงถึง freedom of religion ที่มีอยู่ปกติธรรมดาว่า "นี่เองคือเสรีภาพในส่วนที่เกี่ยวกับการนับถือศาสนา อันเป็นสิ่งที่คนทั้งหลายได้ชื่นชมกันอยู่ในราชอาณาจักรแห่งนี้" เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่นักบวชต่างชาติมองประเทศไทย หลังจากที่เขาพยายามเข้ามาเผยแพร่ศาสนา ซึ่งมาทั้งกองกำลังทหารและศาสนา และถึงขนาดกล่าวหาว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของคนป่า แต่สุดท้ายก็ต้องกลับไปด้วยความล้มเหลว และบันทึกไว้แบบชื่นชมประเทศไทย คนไทย เพราะฉะนั้นภัยคุกคามศาสนาจากคนต่างศาสนานั้น มันไม่ใช่ของจริงหรอก ของจริงมันคือภัยจากคนที่นับถือศาสนาพุทธเองนี่แหละ