ถังสารเคมีระเบิดอาคารSCB ปาร์ค รัชดาฯ ตายแล้ว10 2016/03/13 11:52 PM กทม. 13 มี.ค.-ถังสารเคมีระเบิด ชั้นใต้ดิน อาคารSCB ปาร์ค รัชดาฯ คนงานเสียชีวิตแล้ว 10 คน เมื่อเวลา 21.45 น. เกิดเหตุถังสารเคมีระเบิด ชั้นใต้ดิน อาคารSCB ปาร์ค รัชดาฯ เบื้องต้นจุดเกิดเหตุเป็นห้องเก็บเอกสาร ช่วงก่อนเกิดเหตุมีคนงานเข้าไปซ่อมระบบดับเพลิงแล้วเกิดประกายไฟ ทำให้ถังเก็บสารเคมีระเบิด ขณะนี้เจ้าหน้าที่เร่งระบายสารเคมี นำตัวผู้ที่ติดค้างภายในออกมาได้หมดแล้ว เวลา 23.30 น. มีผู้เสียชีวิตแล้ว 10 คน ด้านเจ้าหน้าที่กู้ภัยเผยวินาทีลงไปชั้นใต้ดิน SCB ปาร์ค รัชดาฯ เห็นกลุ่มควันจำนวนมาก แต่ไปพบเปลวเพลิง หรือห้องต้นเพลิง เบื้องต้นพบเป็นถังดับเพลิงอัตโนมัติชนิด FM200 หล่นแล้วเกิดระเบิดทำให้สารเคมีพวยพุ่งอยู่ภายใน ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่บริเวณนั้นได้รับสารเคมีอันตรายเข้าไป.-สำนัก ข่าวไทย http://www.tnamcot.com/content/423604
ลองอ่านข่าวล่าสุดแล้ว ชัดเจนมากว่าเกิดจากความชุ่ยของระบบรักษาความปลอดภัย ผู้บริหารควรพิจารณาตัวเองลาออกไปเหอะ
ระบบนี้ควรสั่งห้ามเถอะครับ มันอันตรายเกินไป เหมือนระเบิดติดอยู่กับอาคารตลอดเวลา ต่อให้มันเซฟตี้่ยังไง ระเบิดก็คือระเบิดมันฆ่าคนได้ ไอ้ระบบนี้ก็เหมือนกัน มันสังหารคนได้ ไม่ต่างจากระเบิดเลย ไม่รู้ว่าระบบดับเพลิงมีไว้รักษาชีวิต หรือรักษาอาคารกันแน่
ปกติสารหรือแก๊ซดับเพลิงลักณษะที่เข้าไปแทนที่อากาศ พอได้รับการ แอตติเวท จะต้องส่งเสียงอลาร์มร้องเตือนว่าสารกำลังจะถูกปล่อย คนที่อยู่ในบริเวณนั้นเมื่อได้ยินจะต้องอพยพออกทันที แต่กรณีนี้ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร ทำไมไม่มีการอพยพ
ที่เกิดเหตุเป็นอาคารสำนักงานใหญ่สูง 34 ชั้น จากการตรวจสอบบริเวณลานจอดรถชั้นใต้ดิน B2 เจ้าหน้าที่พบกลุ่มควันจำนวนมากพวยพุ่งออกมาทั่วบริเวณ พบคนงานรับเหมาก่อสร้างของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งประมาณ 13 คนที่เข้าไปต่อเติมห้องนิรภัยซึ่งใช้เก็บเอกสารสำคัญของธนาคาร ชื่อ “ห้องมั่นคงนิติกรรมหลักประกัน และบริหารหลักประกัน” ของอาคารดังกล่าว กำลังส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือ เนื่องจากขาดอากาศและสำลักควัน เจ้าหน้าที่จึงเร่งช่วยช่วยเหลือ แต่เนื่องจากเป็นระบบป้องกันอัตโนมัติต้องใช้การสแกนลายนิ้วมือเข้าไปด้านในจึงต้องใช้เครื่องตัดถ่างพังประตูเข้าไป พบผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บนอนเรียงรายกันอยู่ จึงช่วยกันลำเลียงออกมาปฐมพยาบาล และทำการช่วยคืนชีพหายใจเบื้องต้น แต่ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทั้งหมด โดยเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันทีซึ่งเป็นคนงานของบริษัทจำนวน 5 ราย ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บถูกช่วยกันนำส่ง รพ.เมโย, รพ.วิภาวดี, รพ.เกษมราษฎร์ประชาชื่น และ รพ.เปาโล เมโมเรียล สะพานควาย และเสียชีวิตเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลอีกรวมเป็น 10 ราย ส่วนที่เหลือทั้งหมดอาการสาหัส แพทย์กำลังช่วยเหลือชีวิตอย่างเร่งด่วน http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000026547
ใช่แล้วครับ เพราะปิดล๊อคห้องไว้โดยที่รู้ว่ามีระบบรักษาความปลอดภัยที่ทำให้คนถึงตายได้ ผู้บริหารจึงควรถูกดำเนินคดีด้วย แต่ผู้บริหารก็ออกมาให้ข่าวทำนองว่าคนงานประมาททำให้เกิดควันหรือฝุ่นลอยขึ้นไปถูกระบบเซนเซอจนระบบปล่อยก๊าสออกมา แล้วคนงานรู้หรือเปล่าว่ามีระบบนี้ ผู้บริหารบอกพวกเขาไหม และทำไมต้องปิดล๊อคประตู ทั้งๆ ที่เป็นห้องใต้ดินที่ความปลอดภัยในชีวิตต่ำมากๆ
ปกติการเข้าทำงาน hot work (เชื่อม-ตัด-เจียร) ในห้องที่มีสารดับเพลิงเป็น GAS จะต้องปลดระบบ GAS ออกจากระบบก่อน เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สันนิฐานว่า เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของ SCB เอง ขาดความรู้ใน การควบคุมดูแลงานต่อเติม
ปกติระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคารควรจะเชื่อมต่อกับระบบควบคุมอาคารครับ เช่น ถ้ามีสัญญาณเตือนอัคคีภัย หรือไฟฟ้าขัดข้อง ระบบควบคุมอาคารต้องปลดล็อคประตูต่างๆ แต่ในกรณีที่เป็นห้องมั่นคง ไม่แน่ใจว่ามีนโยบายรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินอย่างไรบ้าง จากที่เคยทราบปกติทางผู้ดูแลอาคารจะแจ้งเตือนผู้รับเหมาอยู่แล้วครับ ว่าต้องระวังเรื่องอะไรบ้างครับ คงต้องไปพิสูจน์กันว่าเกิดจากอุปกรณ์บกพร่อง หรือผู้รับเหมาประมาทกันต่อครับ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ pyrogen การ activate การทำงานของระบบ จะมี 3 วิธี 1. ระบบ smoke/heat detector ตรวจพบควัน/ความร้อน มีสัญญานให้ออกนอกพื้นที่ ภายใน 60 วินาที ระบบ pyrogen เริ่มทำงาน 2. ตัวถัง pyrogen ได้รับความร้อนสูง 500 องศาขึ้นไป ระบบเริ่มทำงาน (ไม่มีสัญญานเตือน) 3. ชนวนของระบบ pyrogen ติดไฟหรือความร้อน 175 องศาขึ้นไป (ไม่มีสัญญานเตือน) ซึ่งเท่าที่สันนิฐาน น่าจะเกิดจากการที่ผู้รับเหมา ทำสะเก็ดไฟไปโดนชนวนและเกิดการทำงานของระบบ
บางทีการทำงานแบบรับเหมาก็เป็นปัญหา เพราะไม่รู้ระบบลึกซึ้งพอ อีกอย่างก็ต้องคิดกันต่อไปว่า ระบบดับเพลิงที่ฆ่าคนได้สมควรใช้หรืิอไม่ หรือจะใช้ในกรณีไหน สมมุติว่าไฟไหม้ คนก็ต้องหนีไฟ แต่ถ้ามีระบบดับเพลิงว่านี้ ก็ต้องหนีระบบดับเพลิงอีก ไม่รู้ หรือหนีไม่ทัน ตายเหมือนกัน แค่ไม่ร้อนเท่านั้นเอง
เรื่องทั้งหมดจะไม่เกิดถ้าไม่ชุ่ยแบบที่ว่านั่นล่ะครับ คนที่จะหนีความรับผิดชอบไม่ได้เลยก็คือผู้บริหาร ออกมาให้ข่าวโทษแต่ว่าผู้รับเหมาประมาทจะระบบรักษาความปลอดภัยทำงาน แต่ทำไมไม่ปลดระบบซะก่อนเพื่อความปลอดภัย ยังไม่นับที่ประตูล๊อคจนมีคนตายเพราะหนีออกมาเองไม่ได้ กว่าจะงัดประตูเข้าไปได้ก็สายเกินไปแล้ว ปล. ผมเบื่อคำว่ามอบหมายงานให้จัดการแล้วผู้บริหารก็ชิ่งหลบไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย
ประมาท 1. ทำงานในห้องที่ gas monitoring อยู่แต่ไม่ disable ก๊าซเลยซวยจากตายในห้องที่ปิดล็อค ... ไปต่อไม่เป็นอ่านทั้งวันน่าจะมีข้อเดียว