11 พ.ค. 58 เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลัง นายฮิโระโตะ อิซุมิ ที่ปรึกษาพิเศษของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นหลังเข้าเยี่ยมคารวะว่า เป็นการพูดคุยติดตามงานและได้ข้อสรุปว่าประเทศญี่ปุ่นจะร่วมลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยเป็นการลงทุนร่วมกันของ 3 ประเทศ คือไทย ญี่ปุ่น และเมียนมา ซึ่งจะมีการเซ็นสัญญาเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในเดือนก.ค.นี้ นอกจากนี้ทางประเทศญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจในการร่วมสร้างรถไฟฟ้า 2 สายคือ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เน้นเรื่องของการโดยสารโดยเป็นรถไฟไฮสปีด และ สายกาญจนบุรี-แหลมฉบัง เน้นในเรื่องการขนส่งสิ้นค้าและการโดยสาร ซึ่งหลังจากนี้จะมีการวางแผนเพื่อความชัดเจนต่อไป ทั้งนี้ตนอยากให้พูดถึงเรื่องรูปแบบจำลองการลงทุนก่อน เพราะเป็นการลงทุนที่สูง และโอกาสทำกำไรไม่ได้ง่าย โดยต้องวางแบบจำลองการลงทุนที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีความเห็นชอบร่วมกัน โดยหลังจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อลงนามในสัญญาในหลักการว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นอกจากนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ยังกล่าวถึงเรื่องโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย) 3 เส้นทาง ว่า รัฐบาลไม่มีปัญหาในเรื่องของการจัดหาแหล่งลงทุนในการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 สาย โดยขณะนี้ยังคงไม่ได้ข้อสรุปว่าจะนำแหล่งลงทุนจากภาครัฐหรือภาคเอกชนมาลงทุน โดยจะมีการหารือข้อสรุปกันอีกในครั้งต่อไป เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวที่จะมีการโยกย้ายนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องดังกล่าว เมื่อถามว่ามีกระแสข่าวว่าจะย้าย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่มปลัดกระทรวงพลังงาน รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ส่วนกระทรวงอื่นๆนั้น ให้ทางรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆเป็นผู้เสนอเอง
อีโง่ ไปอ้อนวอนญี่ปุ่นไปลงทุนทวาย เค้าไม่เอาด้วย คงคิดว่าสติปัญญาไม่ถึง ลุงตู่ทำไงว๊ะเนี่ย ญี่ปุ่นถึงเอาด้วย 555
ไปฉีดยาซะสิไป๊ อากาศมันร้อนเดี๋ยวอาการบ้ากำเริบ เดี๋ยวชาวบ้านเอาไม้ไล่ตีตายหรอก ผมจะได้ไม่ต้องฉีดยากันพิษเรื้อนพาเพลินกัดเข้านะครับ ประเด็นคืออะไร
ไทย-ญี่ปุ่นเร่งสานต่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ Cr:เดลินิวส์ ญี่ปุ่นเตรียมใช้เทคโนโลยีพัฒนาเส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ หวังเซ็นข้อตกลง 3 ฝ่ายโครงการทวาย ก.ค.นี้ เมื่อวันที่ 11 พ.ค. ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายฮิโระโตะ อิซุมิ ที่ปรึกษาพิเศษด้านเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยผลการหารือดังกล่าว ว่า นายอิซุมิ ได้กล่าวถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากนั้นทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือพร้อมกับแจ้งความคืบหน้าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในเรื่องของเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ซึ่งญี่ปุ่นพร้อมนำประสบการณ์การบริหารงานและเทคโนโลยีของญี่ปุ่นมาใช้ในการพัฒนา ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์เห็นชอบให้เร่งดำเนินการ ส่วนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น ฝ่ายไทยได้รับทราบจากญี่ปุ่นว่ามีความคืบหน้าไปมากแล้ว ขณะที่นายกรัฐมนตรียินดีที่ญี่ปุ่นเข้าร่วมในการพัฒนาโครงการทวาย อีกทั้งขอบคุณนายชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ที่เร่งดำเนินการทุกอย่าง ซึ่งญี่ปุ่นหวังว่าจะมีการลงนามในความตกลง 3 ฝ่ายภายในเดือน ก.ค.นี้ และพร้อมจะร่วมลงทุนในแบบนิติบุคคลเฉพาะกิจผ่านไจก้า และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค) ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ญี่ปุ่นกำลังเตรียมการให้ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรญี่ปุ่นเดินทางมาเยี่ยมชมสินค้าในไทย อาทิ อาหารไทย ผลไม้สด ผลไม้แปรรูป เพื่อให้ตรงกับความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย อีกทั้งญี่ปุ่นเสนอให้มีความร่วมมือการวิจัยยางพาราผ่านสถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ นายอิซุมิ ระบุด้วยว่าได้หารือกับอธิบดีกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่นก่อนเดินทางมาไทย โดยพร้อมให้ความช่วยเหลือแนะนำไทยอย่างเต็มที่ ด้านนายกรัฐมนตรีระบุว่าจะมอบหมายให้หน่วยงานทั้ง 2 ฝ่าย สานต่อเพื่อตกลงรายละเอียดความร่วมมือให้ได้โดยเร็ว และให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ก่อนที่จะได้พบปะกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขง-ญี่ปุ่น ในเดือน ก.ค.นี้ โดยใช้ช่องทางผ่านเอกอัครราชทูตและระหว่างกระทรวงของทั้งสองประเทศเพื่อความสะดวกในการประสานงาน.
ประยุทธ์โชว์ศักยภาพไทยศูนย์กลางจีน-อาเซียน ประยุทธ์โชว์ศักยภาพไทย ศูนย์กลางภูมิภาคจีน-อาเซียน : ทีมข่าวความมั่นคงรายงาน ไม่ได้นอกเหนือความคาดหมายเท่าใดนัก กับถ้อยแถลงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 10 อย่างเป็นทางการ ณ นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี หัวข้อ “การส่งเสริมความร่วมมือทางการเงินและเศรษฐกิจผ่านการเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างยุโรป-เอเชีย” ประเด็นที่ดูเหมือน พล.อ.ประยุทธ์ จะพูดถึงความสำคัญของไทยในการเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับยุโรปก็คือ "การขยายความเชื่อมโยงระหว่างเอเชีย-ยุโรป ต้องอาศัยภาวะความเป็นผู้นำทางการเมือง ยึดมั่นพันธกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งความรู้ความเชี่ยวชาญ ทั้งด้านทรัพยากรและการลงทุน" คำว่า "ความเป็นผู้นำทางการเมือง" นั่นแหละที่แสดงให้เห็นตัวตนของ พล.อ.ประยุทธ์ แม้จะไม่มีการกล่าวถึงประเทศไทย และผู้นำในปัจจุบัน แต่เมื่อเทียบกับชาติอื่นในภูมิภาคอาเซียนแล้ว "องค์ประกอบ" ดูจะเอื้อต่อประเทศไทยมากกว่า ยิ่ง พล.อ.ประยุทธ์ พูดถึงยุทธศาสตร์การดำเนินการ 3 ด้านแล้ว ก็ดูจะยิ่งชัดเจนมากขึ้น เมื่อทิศทางที่ว่านั้น ประเทศไทยกำลังเดินไปในทิศทางนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มบทบาทความเป็นหุ้นส่วนกับเอเชีย สร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นหนึ่งเดียว มีการร่วมระดมทุน การร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคเอเชีย การถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยี ซึ่งไทยเองก็มีโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อพัฒนาการขนส่งสินค้า บริการและแรงงาน เพื่อเปิดตลาดการค้าใหม่ๆ รองรับประชาคมอาเซียนและความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปในอนาคต พร้อมพัฒนายุทธศาสตร์เส้นทางการค้าใหม่ๆ การบริหารจัดการความเสี่ยง ที่อาจเกิดจากความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค โดยมีการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคง เพื่อการพัฒนาและความร่วมมือที่ยั่งยืน และประการสุดท้าย การขยายความตกลงการค้าเสรีระหว่างเอเชียและยุโรป เช่นเดียวกับการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก โดยให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจมีการหารือกัน ที่บอกว่า พล.อ.ประยุทธ์ พูดไปนั้นหมายถึงประเทศไทย ก็เพราะปัจจุบันไทยพยายามแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของไทยว่า มีความเป็นศูนย์กลางของการขนส่งจากทางเหนือ คือจีน ไปยังฝั่งทะเลจีนใต้ อ่าวไทย หรือกระทั่งฝั่งอันดามัน การหารือระดับทวิภาคีระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับผู้นำจีน ก็ได้รับคำยืนยันจากผู้นำจีนว่า แม้สถานการณ์เปลี่ยน และความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนยังคงไม่เปลี่ยนแปลง และยังเห็นชอบในฐานะหุ้นส่วนความร่วมมือที่ดี นอกจากจะเชิญชวนนายกรัฐมนตรีไทยไปเยือนแล้ว ยังยืนยันว่า จีนยังคงสนใจที่จะทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง แต่การดึงเอาพันธมิตรที่พร้อมจะลงทุนในระบบขนส่งนั้น ยังไม่เพียงพอ เมื่อจุดเชื่อมต่อทางด้านตะวันตกยังคงเป็นปัญหา สายสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่นจึงถูกนำมาใช้ และชักชวนมาร่วมทุนที่โครงการทวายในลักษณะ รัฐบาลไทย รัฐบาลญี่ปุ่น และรัฐบาลพม่า ก่อนเดินทางมาร่วมประชุมที่มิลาน พล.อ.ประยุทธ์เดินทางไปเยือนพม่าเป็นประเทศแรก และเจรจาถึงความร่วมมือดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ชายแดนด้านตะวันออกก็ได้นำร่องไปโดย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร พูดคุยกับ สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ การเจรจาระดับทวิภาคีระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ กับ สมเด็จฮุน เซน ที่มิลาน จึงเป็นการรับรองผลการเจรจาเบื้องต้นของ พล.อ.ธนะศักดิ์ โดยสมเด็จฮุน เซน และพล.อ.ประยุทธ์ ต่างเห็นพ้องกันว่า ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้า การลงทุน เช่นเดียวกับสิงคโปร์ ที่เชิญชวนให้ไทยร่วมทุนในการแปรรูปสินค้า นั่นก็คือ การเป็นหุ้นส่วนกับสิงคโปร์ที่ไม่มีสินค้า แต่มีความรู้และมีเครือข่ายในการกระจายสินค้า ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์เคยให้สัมภาษณ์ว่า จะมีการเจรจาระดับทวิภาคีกับชาติตะวันตกอย่างน้อย 2 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ แต่จะมีชาติอื่นอีกหรือไม่ นั่นเป็นเรื่องที่จะต้องจับตามองกันต่อไป อย่างไรก็ตาม การพูดคุยกับทูตและนักธุรกิจไทยในยุโรปในค่ำคืนที่ 15 ตุลาคมนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า นับจากนี้รัฐบาลไทยและ คสช.จะเดินไปสู่เป้าหมายคือ การเลือกตั้งทั่วไปเพื่อให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตามที่กำหนดเอาไว้เป็นโรดแม็พ แต่ในปัจจุบันก็ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎอัยการศึกต่อไป เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่เอื้ออำนวยให้ยกเลิก และบอกว่า ประเทศไทยติดกับดักคำว่า ประชาธิปไตย ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องเข้ามาบริหารประเทศนั้น ก็เพราะรัฐบาลชั่วคราวไม่สามารถทำงานได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลนี้จะยึดติดกับเก้าอี้-ตำแหน่ง หากแต่พร้อมจะลาออกทุกเมื่อ หากประเทศสามารถเดินไปได้เอง ประเด็นสุดท้ายที่ พล.อ.ประยุทธ์ ชี้ให้คณะทูตและนักธุรกิจไทยในยุโรปเห็นความจำเป็นที่ทหารต้องเข้ามายึดอำนาจก็คือ โครงการรับจำนำข้าว ที่ระบุว่า หากปล่อยไปสัก 3 ปี ประเทศคงจะล้มละลายแน่ เฉพาะโครงการที่เกิดขึ้นนี้ ก็สร้างความเสียหาย 4-7 แสนล้านบาท เข้าไปแล้ว นี่คือสิ่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ มุ่งหวังให้บรรดาทูตและนักธุรกิจไทยในยุโรปได้นำไปสื่อสารบอกต่อนักธุรกิจและรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ทั้งหมดนั้นคือยุทธศาสตร์ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ แสดงให้ประเทศในกลุ่มยุโรปได้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในทุกมิติ โดยเฉพาะการเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมโยงของภูมิภาค อันหมายถึงการค้าและการลงทุนขนาดใหญที่จะตามมา โดยที่ไม่มีปัญหาความมั่นคงเป็นอุปสรรค และที่สำคัญรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งที่ยุโรปชิงชังกันนั้น มีกำหนดวันเวลาที่ค่อนข้างชัดเจนว่าจะไปเมื่อใด!
วั้ย! เดี๋ยวนี้รัฐบาลทั่วโลกเค้าเริ่มยอมรับรัฐประหารแล้วเหรอเนี่ย นี่ถึงกับจะเซ็นสัญญากันแล้ว ตายล่ะ เพิ่งไปญี่ปุ่นตดยังไม่ทันหายเหม็นก็ส่งรมต.เศรษฐกิจตามมา ไม่เอานะ ประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยเลย
งง !?? โครงการทวาย มันเกี่ยวอะไรกับทักษิณวะเนี่ย ตามประวัติแล้ว โครงการทวายผ่านมติ ครม. เมื่อ 6 พฤษภาคม 2551 ในสมัยรัฐบาลสมัคร เซ็น MOU เมื่อ 19 พฤษภาคม 2551 ในสมัยรัฐบาลสมัคร ITD เข้าไปศึกษาโครงการเมื่อ 12 มิถุนายน 2551 ประวัติเต็มๆ ของโครงการ http://daweidevelopment.com/index.php/th/introduction เทคนิคเอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้คนอื่น นี่เหมือนกันตั้งแต่พ่อยันลูกเลย DNA พวกกาสรสีชาดนี่มันฝังในกมลสันดานหรือเปล่าเนี่ย
แถมทักษิณก็เขี่ย ITD ให้พ้นทางด้วย โดยตั้ง SPV ไทยถือหุ้น 50% กับพม่า http://thaipublica.org/2013/01/reject-italianthai-dawei-project/ ต่อมาก็พยายามชวนญี่ปุ่นให้เข้ามาร่วมด้วย แต่ญี่ปุ่นไม่อยากเข้าด้วย http://news.voicetv.co.th/world/66469.html ต่อมาก็เป็นรัฐบาลประยุทธ์ใช้ท่าไม้ตาย "ขายเหล้าพ่วงเบียร์" จับโครงการทวายมาบวกกับโครงการรถไฟทางคู่ กาญจนบุรี-อรัญประเทศ แล้วให้ญี่ปุ่นพิจารณาอีกที โครงการนี้จึงสำเร็จ ตอนแรกก็ปฏิเสธอยู่ บอกค่อยพิจารณาอีกทีหลังปี 2559 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000116937 พอเจอขายพ่วงเข้าไป งั้นเราเซ็นสัญญากันเดือนหน้าเลยละกัน http://www.thairath.co.th/content/498134 เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า รัฐบาลทหารขายของเก่งกว่ารัฐบาลอีโง่ โดยไม่ต้องบินไปมาให้เสียค่าเครื่องบินแล้วไม่ได้อะไรกลับมา
ท่านประยุทธกับคุณหญิง ก็ทำไม่ถูก ..... ไปญี่ปุ่นทั้งที เอาแต่ไปทำงานทำการ เลยไม่มีรูปถ่ายแต่งชุดกิโมโนมาโชว์ให้สื่อถ่ายรูป ไม่เหมือนนังโง่ปัญญาอ่อนเลย
มันต่างกันครับ ต่างกันตรงที่ รบ.ในตระกูลชิน ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน รบ.ทหาร ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ชัดเจนพอมั้ย ไอ้สี่ขาเล่น..ตัวเอง ^^