กฎหมายไทยไม่ได้เปิดช่องให้เช่า 50+49 หรือ 30+30+30 ปี

กระทู้ใน 'สภากาแฟ' โดย ดร.โสภณ พรโชคชัย, 19 Mar 2018

  1. ดร.โสภณ พรโชคชัย

    ดร.โสภณ พรโชคชัย สมาชิกทั่วไป

    สมัคร:
    6 Dec 2016
    คะแนนถูกใจ:
    2
    หลายคนพยายาม "เลี่ยงบาลี" บอกว่า การให้เช่าที่ดิน 99 ปีไม่ผิดกฎหมาย เพราะเขาให้เช่า 50+49 ปี หรือ บ้างก็อาจเช่า 30 ปี + 30 ปี + 30 ปี นี่เป็นการขัดเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจน
    ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ชี้ว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุไว้ชัดเจนดังนี้:
    "มาตรา 540 อันอสังหาริมทรัพย์ ท่านห้ามมิให้เช่ากันเป็นกำหนด เวลาเกินกว่าสามสิบปี ถ้าได้ทำสัญญากันไว้เป็นกำหนดเวลานาน กว่านั้นท่านก็ให้ลดลงมาเป็นสามสิบปี อนึ่ง กำหนดเวลาเช่าดั่งกล่าวมานี้ เมื่อสิ้นลงแล้วจะต่อสัญญาอีก ก็ได้แต่ต้องอย่าให้เกินสามสิบปีนับแต่วันต่อสัญญา" (https://goo.gl/GZjBAS) แปลง่ายๆ ก็คือ ต้องให้สัญญาสิ้นสุดลงก่อนจึงต่อสัญญา ซึ่งก็คล้ายกับกรณีห้างเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว เช่นที่รถไฟ 30 ปี ตั้งแต่ปี 2521-2551 นั่นเอง
    หรือในพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 ก็ระบุว่า
    "มาตรา 4 การเช่าตามพระราชบัญญัตินี้ต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นเป็นโมฆะ เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว ผู้เช่าและผู้ให้เช่าอาจตกลงกันต่อระยะเวลา การเช่าออกไปอีกได้มีกําหนดไม่เกินห้าสิบปีนับแต่แต่วันที่ตกลงกันและต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นเป็นโมฆะ" (https://goo.gl/6HzRkq) กรณีนี้ก็เช่นกัน ต้องครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว
    การคิดทำแบบ 30 ปี + 30 ปี + 30 ปี ย่อมผิดกฎหมายแน่น แม้อาจไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐาน เพราะหากทำได้ ทำไมจึงมีการตราให้เช่าได้ไม่เกิน 30 ปี และในกฎหมายยังระบุชัดให้ต่อสัญญาเมื่อครบกำหนด ไม่ใช่นึกจะต่อเมื่อไหร่ก็ได้ เช่น สัญญาแรกทำในวันนี้ สัญญาถัดมาทำในอีก 1-2 วัน หรือ 1-2 เดือน หรือ 1-2 ปีต่อมา กรณีนี้เข้าข่ายเลี่ยงกฎหมายอย่างชัดเจน
    ยิ่งกว่านั้นสัญญาที่ 2 และ 3 ก็ไม่สามารถใช้บังคับได้ เพราะการเช่าที่ดินระยะเกิน 3 ปี ต้องนำเอกสารสิทธิ์ไปขอจดทะเบียนให้ชัดเจน ลำพังสัญญาเช่าเป็นลายลักษณ์อักษรกันเองยังไม่มีผลใด ๆ เพราะไม่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกันไว้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และในระหว่างที่บันทึกการจดทะเบียนเช่าลงในโฉนด เช่น นับจากปี 2561-2591 คงไม่สามารถใส่ลงไปในเอกสารสิทธิ์ว่าแล้วจดทะเบียนเช่าอีกช่วงในปี 2591-2621 เป็นต้น
    เลิกพยายามตีความกฎหมายแบบ "ศรีธนญชัย" เลิกขายชาติเถอะครับ ขอร้อง

    ดูวิดิโอ fb Live ได้ที่ลิงค์นี้: https://goo.gl/1UwEMa
    ที่มา: https://goo.gl/CFkAj9
     
  2. Ricebeanoil

    Ricebeanoil อำมาตย์น้อย

    สมัคร:
    7 ต.ค. 2014
    คะแนนถูกใจ:
    4,482
    มรึงจะตอแหลทำไมฟะ ไอ้ Dog นี้ กฏหมายมันเขียนมาไม่รู้กี่สิบปีแล้ว แต่มรึงไม่ไปอ่านมันเองต่างหากเล่า
    มันควรมีแฮชแทกที่บอกว่า #ทำยังไงให้_ดร.โสภณ_หายโง่ จริงๆ :rofl::rofl::rofl::rofl:


    โครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี เป็นนโยบายหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับหลายๆประเทศในภูมิภาคที่กำลังดำเนินการ รัฐบาลจึงได้ปรับปรุงกฏหมาย เพื่อดึงดูดการลงทุน ส่วนการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินเพื่อการลงทุนได้นาน 99 ปี รัฐบาลยืนยันว่า ไม่ใช่กฏหมายใหม่ แต่เป็นการนำสาระจากกฏหมายเดิมที่มีอยู่แล้ว มาบรรจุในพ.ร.บ.อีอีซี เพื่อสร้างความชัดเจนให้มากขึ้น ติดตามรายละเอียดจากคุณจินตนา ทิพยรัตน์กุล


    ประเด็นการให้สิทธิชาวต่างชาติเช่าที่ดินเพื่อการลงทุนได้นาน 99 ปี ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการขายชาติ เรื่องนี้คุณจินตนา ทิพยรัตน์กุล ผู้สื่อข่าวNBT ได้ไปพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ถึงเงื่อนไขในการที่จะได้สิทธิเช่าที่ดิน ซึ่งก็ได้รับการยืนยันมาว่า มีการกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน ทั้งเรื่องของพื้นที่ที่จะให้เช่า ประเภทของอุตสาหกรรม รวมทั้งประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ ไปติดตามรายละเอียดกันค่ะ
    ***********************************************
    ตามกฎหมายพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542
    http://www.sme.go.th/upload/mod_download/a195-20-2542-a0001.pdf
    => กำหนดให้เช่าไม่เกิน 50 ปี ต่อได้อีกไม่เกิน 50 ปี

    ***************************************
    ตามกฎหมายพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520
    http://tbclaw.co.th/boi/boi 2520.pdf
    => คณะกรรมการ BOI สามารถให้เช่าที่ดินกี่ปีก็ได้ ตามแต่ที่จะเห็นชอบ โดยไม่มีข้อจำกัด


    ***************************************
    ตามกฎหมายพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
    http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A156/%A156-20-9999-update.pdf
    => ที่ของ กนอ. สามารถโอนสิทธิไปให้ผู้ประกอบการได้ ตามแต่จะเห็นสมควรเป็นกรณีไป

     

Share This Page